รถจักรไอน้ำ (Steam locomotive) เป็น รถไฟในยุคแรกที่ใช้กลไกของแรงดันไอ (น้ำ) ในการผลักดันให้ล้อรถหมุนและทำให้รถเคลื่อนที่ ซึ่งในปัจจุบันรถจักรประเภทนี้แทบไม่มีใช้ให้เห็นกันแล้ว

รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 735 (C56-44) ขณะทำขบวนรถโดยสารนำเที่ยวบนเส้นทางรถไฟสายโอกิกาวะ เนื่องในโอกาสฉลองครบ 120 ปี การทูตระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2550
รถจักรไอน้ำ LNER รุ่น A3 หมายเลข 4472 ชื่อ Flying Scotsman ด้านหน้าโรงรถจักรดองคัสเตอร์ เป็นรถจักรไอน้ำคันแรกของโลกที่ทำความเร็วได้ 100 ไมล์/ชั่วโมง
รถจักรไอน้ำ LNER รุ่น A4 หมายเลข 4468 ชื่อ Mallard ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์รถไฟแห่งชาติ เป็นรถจักรไอน้ำที่เร็วที่สุดในโลก โดยทำความเร็วได้ 126 ไมล์/ชั่วโมง

ที่มาของรถจักรไอน้ำ

แก้

หลังจากปี ค.ศ. 1768 เจมส์ วัตต์ (James Watt) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษสามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จได้มีนักประดิษฐ์จำนวนมากนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรชนิดต่างๆมากมาย แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือริชาร์ด เทรวิทิก (Richard Trevithick) วิศวกรชาวอังกฤษที่ได้ทำการสร้างรถจักรไอน้ำเป็นผลสำเร็จ ซึ่งรถจักรไอน้ำนี้ยังเป็นล้อธรรมดาและวิ่งบนถนนอยู่ ต่อมาทางเหมืองแร่ที่จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ทำงานอยู่ได้นำรถจักรไอน้ำนี้มาใช้ในการขนถ่านหิน แต่รถจักรของวิชาร์ดทราวิคนั้นยังมีข้อเสียอยู่หลายอย่างทั้งเรื่องความเร็ว และยังทำความเสียหายแก่ถนนเพราะน้ำหนักการบรรทุกที่มาก จึงได้มีการสร้างรางเหล็กให้รถจักรนี้วิ่งซึ่งเป็นการกำจัดปัญหาการทำให้ถนนพัง แต่เมื่อมีการวิ่งรถบนรางแล้วรถจักรก็ยังคงตกรางอยู่บ่อย ๆ จึงได้มีการปรับปรุงล้อรถจักรเสียใหม่ จากเดิมที่เป็นล้อธรรมดาก็ให้เปลี่ยนเป็นล้อเหล็กและมีร่องสำหรับ วิ่งบนรางเหล็กอีกด้วย

ต่อมา จอร์จ สตีเฟนสัน ได้นำรถจักรนี้ไปพัฒนาให้มีความเร็วมากยิ่งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1814 รถจักรของสตีเฟนสันมีตัวถึงเป็นไม้ มีล้อเหล็ก 4 ล้อ วิ่งได้ 4 ไมล์ต่อชั่วโมงสามารถลากรถถ่านหินได้ถึง 30 ตัน สตีเฟนสันตั้งชื่อรถของเขาว่าบลูเซอร์ (Blueser) ระหว่างนั้นเองเอ็ดเวิร์ด พิส (Edward Piss) ได้สร้างทางรถไฟจากเมืองสตอกตัน (Stockton) ไปยังเมืองดาร์ลิงตัน (Darlington) สตีเฟนสันจึงได้นำรถจักรของเขาไปเสนอแก่พิสเพื่อหวังให้พิสเห็นดีกับรถของเขาและให้การสนับสนุน ซึ่งมันก็เป็นอย่างที่เขาคิด พิสสนับสนุนเขาในการสร้างหัวรถจักรด้วยเงินเดือนปีละ 300 ปอนด์และรถจักรไอน้ำก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นจนทำให้บรรดาเจ้าของรถม้าที่เสียผลประโยชน์ไม่พอใจ และทำการขัดขวางการทำงานของสตีเฟนสันอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งรัฐบาลอังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยรถจักร จึงประกาศใช้กฤษฎีกาใช้สร้างทางรถไฟขึ้นในปี ค.ศ. 1826 ระหว่างแมนเชสเตอร์และลิเวอร์พูล ซึ่งการสร้างทางรถไฟสายนี้มีความยากลำบากมากแต่ในที่สุดสตีเฟนสันก็สามารถสร้างทางรถไฟจากแมนเชสเตอร์ไปถึงลิเวอร์พูลได้สำเร็จ กิจการรถไฟจึงเป็นที่นิยมมากขึ้น และเริ่มแพร่ขยายตัวไปยังเมืองต่าง ๆ ในอังกฤษ ในขณะเดียวกันก็เริ่มแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้