ดาติน ปาดูกา ซรี ฮัจจะฮ์ รซมะฮ์ บินตี มันโซร์ (มลายู: Rosmah binti Mansor;[1] เกิด: 10 ธันวาคม ค.ศ. 1951) อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศมาเลเซีย[2] ภรรยาของนาจิบ ราซัก อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย[3]

รซมะฮ์ มันโซร์
รซมะฮ์เมื่อปี 2017
เกิด10 ธันวาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
เมืองกัวลาปีละฮ์ รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ประเทศมาเลเซีย
สัญชาติมาเลเซีย
อาชีพนักธุรกิจ
คู่สมรสอับดุล อะซิซ นง จิก (หย่า)
ฟาริด อิซเม็ด อามีร์ (หย่า)
นาจิบ ราซัก (1987-ปัจจุบัน)
บุตรอัซเรเน โซรายา
รีซา ชะฮ์ริซ
นูร์ยานา นาร์จาวา
โนร์อัชมัน ราซัก

ประวัติ

แก้

รซมะฮ์ มันโซร์ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1951 และเติบโตที่เมืองเซอเริมบัน รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เธอได้ศึกษาระดับมัธยมตอนต้นในวิทยาลัยตนกูกูร์ชิอะห์ในเมืองกัวลาปีละฮ์ รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เธอมีผลการเรียนที่น่าพึงใจ จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาศิลปะ และได้รับเกียรตินิยมในสาขามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา จากมหาวิทยาลัยมลายา และสำเร็จการศึกษาปริญญาโทสาขาสังคมวิทยาและเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา[4]

เธอเคยทำงานเป็นผู้บริหารในธนาคารเพื่อการเกษตร ต่อมาเธอได้งานเป็นนักธุรกิจพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ริมทะเล[5]

เรื่องอื้อฉาว

แก้

กรณีฉ้อโกง 1MDB

แก้

รูปแบบการใช้ชีวิตและการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของรซมะฮ์และสามี[6] ขณะที่นาจิบยังดำรงตำแหน่งอยู่ สร้างความขุ่นเคืองแก่ชาวมาเลเซียจำนวนมาก[7][8] หลังสามีของเธอแพ้ในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีปี 2018 ทั้งคู่ถูกตรวจสอบในความผิดที่เกี่ยวข้องกับกรณีอื้อฉาว 1MDB ที่ซึ่งเงินมูลค่า USD$7.5 พันล้าน หายไปจากกองทุนที่รวบรวมเงินจากภาษีจากชาวมาเลเซีย[9]

นับตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2018 ตำรวจมาเลเซียตรวจค้นอสังหาริมทรัพย์หกแห่งที่เกี่ยวข้องกับรซมะฮ์และนาจิบ ส่วนหนึ่งของการตรวจสอบกรณีอื้อฉาว 1MDB เจ้าหน้าที่ยึดสมบัติจำนวน 284 กล่องที่ภายในเต็มไปด้วยกระเป๋าหรู, กระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ 72 ใบที่ภายในบรรจุทั้งเงินสดในสกุลเงินต่าง ๆ และของมีค่าอีกหลายรายการ ผู้แทนตำรวจมาเลเซียยืนยันว่าทรัพย์สินทั้งหมดที่ถูกยึดได้มีมูลค่ารวมราว US$223 ล้าน ถึง US$273 ล้าน[10][11] รายการทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอยรวม 12,000 ชิ้น ได้แก่ แหวน 2,200 วง, สร้อยคอ 1,400 รายการ, กำไลข้อมือ 2,100 รายการ, ต่างหู 2,800 คู่, เข็มกลัดประดับเสื้อ 1,600 ชิ้น, มงกุฎทีอารา 14 รายการ นอกจากเครื่องเพชรแล้วยังมีนาฬิกาข้อมือหรู 432 ชิ้น (เช่นของโรเล็กซ์, โชปาร์ และ ริชาร์ด มีล), แว่นตาดำหรู 234 รายการ (เช่นของเวอร์ซาชี และ การ์ตีเยร์), กระเป๋าถือหรู 567 luxury ใบ (จาก 72 ยี่ห้อ เช่น ชาแนล, ปราดา, เวอร์ซาชี, บียัน และ จูดิธ ลีเบอร์)[12], กระเป๋าเบอร์กินของแอร์เมส 272 ใบ และเงินสดรวม 116 ล้านริงกิต ใน 26 สกุลเงิน

เหตุฆาตกรรมชารีบูกีน อัลตันตูยา

แก้

ในเดือนมิถุนายน 2008 ราชา เปตรา ระบุว่าเขา "ได้รับข้อมูลจากแห่งข่าวที่น่าเชื่อถือ" ว่ารซมะฮ์เป็นหนึ่งในสามบุคคลที่ปรากฏตัวในที่เกิดเหตุขณะนางแบบชาวมองโกเลีย อับตันตูยา ชารีบู ถูกฆาตกรรมในชะฮ์อาลัมเมื่อ 19 ตุลาคม 2006[13] น.พ. ชารีบู เซเตฟ (Shaariibuu Setev) บิดาของเหยื่อ ได้ร้องขอแก่ตำรวจมาเลเซียให้ทำการตรวจสอบข้อกล่าวหาข้างตนของราชา เปตรา ซึ่งอาจนำมาสู่หลักฐานชิ้นสำคัญที่จะช่วยไขกระจ่างการเสียชีวิตของลูกสาวเขาได้[14]

หลังจากนั้น ในบทสัมภาษณ์ของ ราชา เปตรา กับ TV3 เขาถอยตัวออกห่างจากกรณีนี้โดยการระบุว่าข้อกล่าวหาที่เชื่อมโยงนาจิบและรซมะฮ์เข้ากับการฆาตกรรมนี้เป็นข้อมูลที่ถูกส่งต่อมาซ้ำ ๆ จากคนในการเมืองฝั่งตรงข้าม ไม่ใช่ข้อมูลที่เขาตรวจสอบเองว่าเป็นจริง[15] และยังระบุเพิ่มเติมว่าตนไม่เชื่อเป็นการส่วนตัวว่ารซมะฮ์จะมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุฆาตกรรมนี้[16] กลุ่มเรียกร้องเสรีภาพพลเมืองมาเลเซีย (The Malaysian Civil Liberties Movement) กล่าวหาว่าบทสัมภาษณ์ดังกล่าวของเปตราถูกแก้ไขอย่างหนักเพื่อให้มีเนื้อหาที่ถูกใจนาจิบ เนื่องจากบทสัมภาษณ์ถูกปล่อยมาไม่นานก่อนที่จะมีการเลือกตั้งของรัฐซาราวัก[17][18]

'สตรีหมายเลขหนึ่งแห่งการช็อปปิง'

แก้

ในปี 2012 รซมะฮ์ถูกเรียกว่าเป็น "สตรีหมายเลขหนึ่งแห่งการช็อปปิง" (first lady of shopping) หลังถูกกล่าวหาว่าใช้จ่ายเงินมากกว่า 100,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย (325,000 ริงกิต) ในร้านเสื้อแห่งหนึ่งในซิดนีย์[19] คณะกรรมการต้านทุจริตมาเลเซีย (MACC) ถูกร้องขอให้ตรวจสอบข้อกล่าวหาเหล่านี้[20] ในปี 2014 รซมะฮ์ใช้จ่ายเงินไปถึง $130,625 ที่ร้านของชาแนลแห่งหนึ่งในโฮโนลูลู รัฐฮาวาย[21][22]

กรณีหนังสือเดินทาง

แก้

หลังเจ้าหน้าที่รัฐมีคำสั่งให้ทั้งรซมะฮ์และนาจิบถูกยึดหนังสือเดินทางเพื่อเป็นการห้ามเดินทางออกนอกประเทศเนื่องจากเกรงจะหลบหนีคดีความ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2021 เธอได้รับการอนุญาตให้รับหนังสือเดินทางคืนชั่วคราวเพื่อเดอนทางไปสิงคโปร์เพื่อเยี่ยมลูกสาวที่กำลังจะคลอด[23] ในข้อตกลงนั้นระบุให้รซมะฮ์ส่งคืนหนังสือเดินทางภายในวันที่ 6 ธันวาคม และให้เธอเดินทางกลับมาเลเซียภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 2 ธันวาคม ที่ซึ่งเธอต้องเข้าฟังการตัดสินของศาล เธอไม่ได้ปรากฏตัวที่ศาล และยังอยู่ในสิงคโปร์[24] มีการเรียกร้องให้ระงับสถานะหนังสือเดินทางของเธอและนำตัวเธอกลับมาเลเซียทันทีตามมา[25]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

รซมะฮ์ มันโซร์ สมรสครั้งแรกกับนายอับดุล อะซิซ นง จิก ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ อัซเรเน โซรายา (ญ.) และรีซา ชะฮ์ริซ (ช.) ภายหลังทั้งคู่ได้หย่าร้างกัน ต่อมารซมะฮ์ได้สมรสกับนาจิบ ราซัก ในปี ค.ศ. 1987 และมีบุตรด้วยกันสองคนคือ นูร์ยานา นาร์จาวา (ญ.) และโนร์อัชมัน ราซัก (ช.)[26]

อ้างอิง

แก้
  1. "Datin Seri Rosmah Mansor Website". สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  2. "Biography – Office of The Prime Minister of Malaysia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  3. "รสนิยมอันฟุ้งเฟ้อของ รสมะห์ มันโซร์ สตรีหมายเลข 1ของมาเลเซีย". mgronline.com. 2015-03-04.
  4. Datin Paduka Seri Rosmah Mansor
  5. Rosmah - the rousing rose Malaysian Mirror, 27 June 2009
  6. "Malaysian PM Najib's wife linked to S$41.5m worth of jewellery bought with 1MDB funds: US Justice Department , SE Asia News & Top Stories". The Straits Times. 16 June 2017. สืบค้นเมื่อ 19 May 2018.
  7. "A Stunning, Sudden Fall for Najib Razak, Malaysia's 'Man of Steal' – The New York Times". Nytimes.com. สืบค้นเมื่อ 19 May 2018.
  8. Hannah Ellis-Petersen in Kuala Lumpur (1 January 1970). "Malaysia police seize hundreds of designer handbags from Najib Razak's flat | World news". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 May 2018.
  9. "Malaysia Seizes Najib's Trove of 350 Containers of Cash, Handbags and Jewelry – The New York Times". Nytimes.com. 15 May 2018. สืบค้นเมื่อ 19 May 2018.
  10. "Najib raids: $273m of goods seized from former Malaysian PM's properties". The Guardian. 27 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  11. "Bags of cash, jewellery seized in Najib raid worth $273m". Al Jazeera. 27 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  12. "Cash, items seized from Najib-linked premises worth around RM1.1 billion: Malaysia police". Channel News Asia. 27 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 30 June 2018.
  13. "RPK's bombshell allegation on Altantuya murder – Abdullah, Najib, Rosmah cannot remain silent".
  14. "Shaariibuu Wants Police To Thoroughly Investigate Raja Petra's Allegation". Bernama. 24 June 2008. สืบค้นเมื่อ 24 June 2008.
  15. "RPK: I don't believe Rosmah involved in Altantuya murder". 13 April 2011.
  16. "RPK: I don't believe PM's wife was at Altantuya's murder scene". The Star. 14 เมษายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2011.
  17. "MCLM backs RPK, says TV3 interview was 'spin doctored'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-06-20.
  18. ‘Raja Petra interview taken out of context’ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2011.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  19. "Rosmah's 'shopping spree' hits Aussie paper". Malaysiakini. 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-02-03.
  20. Zakaria, Hazlan (2012-01-26). "'First Lady of Shopping' reported to MACC". Malaysiakini. สืบค้นเมื่อ 2022-01-31.
  21. "Malaysian PM Najib 'Spent Millions' on Luxury Goods: Report". Time (ภาษาอังกฤษ). 2016-03-31.
  22. Hope, Tom Wright and Bradley (2016-03-31). "1MDB Probe Shows Malaysian Leader Najib Spent Millions on Luxury Goods". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2022-02-01.
  23. Auto, Hermes (2021-10-15). "Najib's wife Rosmah free to travel to Singapore after court allows temporary release of passport". www.straitstimes.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-31.
  24. Karim, Khairah N. (2021-12-02). "Rosmah no show in court today, still in Singapore". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-31.
  25. "Bersatu Youth wants Rosmah extradited, passport cancelled". Malaysiakini. 2021-12-04. สืบค้นเมื่อ 2022-01-31.
  26. "Najib's children happy to live like other ordinary citizens". the SUN. April 6, 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-12-12.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้