ฝ่ายตรวจการ

(เปลี่ยนทางจาก ยฺวี่ฉื่อไถ)

ฝ่ายตรวจการ (อังกฤษ: Censorate) สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368–1644) และราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644–1912) เรียก โตวฉาเยฺวี่ยน (จีน: 都察院; พินอิน: Dōuchá Yuàn; "ฝ่ายตรวจการทั่วไป") สมัยก่อนหน้าเรียก ยฺวี่ฉื่อไถ (จีนตัวย่อ: 御史台; จีนตัวเต็ม: 御史臺; พินอิน: Yùshǐ Tái; "หออาลักษณ์หลวง") เป็นหน่วยงานราชการชั้นสูงในจักรวรรดิจีน ตั้งขึ้นครั้งแรกในช่วงราชวงศ์ฉิน (221–207 ปีก่อนคริสตกาล)

ในช่วงราชวงศ์ยฺเหวียนของมองโกล (ค.ศ. 1271–1368) ฝ่ายตรวจการมีบทบาทแข็งขันอย่างยิ่ง ครั้นราชวงศ์หมิง ฝ่ายตรวจการกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการที่มีการรวมศูนย์กลาง มีสถานะเทียบเท่ากระทรวงทั้งหกและสภากลาโหมทั้งห้า ขึ้นตรงต่อองค์จักรพรรดิ[1]

ฝ่ายตรวจการแบ่งออกเป็นสามฝ่าย เรียกว่า "เยฺวี่ยน" (院) คือ

  • เตี้ยนเยฺวี่ยน (殿院; "ฝ่ายท้องพระโรง") ตรวจสอบพฤติกรรมของข้าราชการขณะเข้าเฝ้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้เรียก "เตี้ยนจงชื่อ-ยฺวี่ฉื่อ" (殿中侍御史; "ผู้ตรวจการเข้าเฝ้าในท้องพระโรง")
  • ไถเยฺวี่ยน (台院; "ฝ่ายโต๊ะทรงอักษร") ตรวจสอบพระราชจริยวัตรของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้มั่นใจว่า มิได้ทรงกระทำผิดพลาดประการใด และเพื่อย้ำเตือนถึงพระราชกิจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้เรียก "ชื่อ-ยฺวี่ฉื่อ" (侍御史; "ผู้ตรวจการเข้าเฝ้า")
  • ฉาเยฺวี่ยน (察院; "ฝ่ายตรวจการ") ตรวจสอบพฤติกรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้เรียก "เจียนฉา-ยฺวี่ฉื่อ" (監察御史; "ผู้ตรวจกำกับ") ซึ่งจะเที่ยวไปตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการในท้องที่ต่าง ๆ

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. Hucker, 49.

บรรณานุกรม แก้

  • Hucker, Charles O. (December 1958). "Governmental Organization of The Ming Dynasty". Harvard Journal of Asiatic Studies. Harvard-Yenching Institute. 21: 1–66. doi:10.2307/2718619. JSTOR 2718619.
  • Li, Konghuai (2007). History of Administrative Systems in Ancient China (ภาษาจีน). Joint Publishing (H.K.) Co., Ltd. ISBN 978-962-04-2654-4.
  • Lu, Simian (2008). The General History of China (ภาษาจีน). New World Publishing. ISBN 978-7-80228-569-9.
  • Wang, Yü-Ch'üan (June 1949). "An Outline of The Central Government of The Former Han Dynasty". Harvard Journal of Asiatic Studies. Harvard-Yenching Institute. 12 (1/2): 134–187. doi:10.2307/2718206. JSTOR 2718206.