ยูริปเทอริด (อังกฤษ: Eurypterids) มักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า แมงป่องทะเล (อังกฤษ: sea scorpion) เป็นกลุ่มของสัตว์ขาปล้องที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อยู่ในอันดับ Eurypterida ยูริปเทอริดที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันในช่วงดาร์ริวิเลียนของยุคออร์โดวิเชียนเมื่อ 467.3 ล้านปีก่อน คาดว่าสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ปรากฏตัวครั้งแรกในยุคออร์โดวิเชียนตอนต้นหรือยุคแคมเบรียนตอนปลาย เนื่องจากจำนวนสปีชีส์ประมาณ 250 สปีชีส์ Eurypterida เป็นอันดับของเชลิเซอราตาในพาลีโอโซอิกที่มีความหลากหลายมากที่สุด หลังจากการปรากฏตัวของพวกมันในยุคออร์โดวิเชียน ยูริปเทอริดกลายเป็นส่วนประกอบหลักของสัตว์ทะเลในยุคไซลูเรียน ซึ่งเป็นยุคที่มีสปีชีส์ส่วนใหญ่ของยูริปเทอริดอยู่ สกุล Eurypterus ของยูริปเทอริดในยุคไซลูเรียนมีสัดส่วนมากกว่า 90% ของยูริปเทอริดทั้งหมดเท่าที่รู้จัก แม้ว่าสัตว์กลุ่มยังคงมีความหลากหลายในช่วงยุคดีโวเนียน แต่ยูริปเทอริดก็ได้รับผลกระทบอย่างมากจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคดีโวเนียนตอนปลาย พวกมันลดจำนวนและความหลากหลายลงจนกระทั่งสูญพันธุ์ในช่วงเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก (หรือก่อนหน้านั้นนี้ไม่นาน) เมื่อ 251.9 ล้านปีก่อน

ยูริปเทอริด
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ดาร์ริวิเลียน-เพอร์เมียนตอนปลาย, 467.3–251.9Ma Possible Tremadocian record
ตัวอย่างฟอสซิลของ Eurypterus remipes ที่ State Museum of Natural History Karlsruhe ในคาลส์รูเออ, ประเทศเยอรมนี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
ไฟลัมย่อย: เชลิเซอราตา
เคลด: Sclerophorata
อันดับ: Eurypterida
Burmeister, 1843
Suborders
ชื่อพ้อง

แม้ว่าจะนิยมเรียกว่า "แมงป่องทะเล" แต่ยูริปเทอริดที่เก่าแก่ที่สุดเท่านั้นที่เป็นสัตว์ทะเล รุ่นต่อมาหลายรุ่นอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดและไม่ใช่แมงป่องที่แท้จริง มีการศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่ายูริปเทอริดมีระบบทางเดินหายใจแบบคู่ ซึ่งจะทำให้สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมบนบกได้ในเวลาสั้น ๆ ชื่อ Eurypterida มาจากคำภาษากรีกโบราณ εὐρύς (eurús) แปลว่า "กว้าง" และ πτερόν (pteron) แปลว่า "ปีก" หมายถึงคู่อวัยวะสำหรับว่ายน้ำที่มีพบอยู่กับหลายสปีชีส์ในกลุ่ม

ในกลุ่มยูริปเทอริดยังมีสัตว์ขาปล้องที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาซึ่งก็คือ ''Jaekelopterus'' ที่มีความยาวถึง 2.5 เมตร (8.2 ฟุต)[1] ยูริปเทอริดไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่ากันทั้งหมดและสปีชีส์ส่วนใหญ่มีความยาวน้อยกว่า 20 เซนติเมตร (8 นิ้ว) ยูริปเทอริดที่เล็กที่สุดอย่าง ''Alkenopterus'' มีความยาวเพียง 2.03 เซนติเมตร (0.80 นิ้ว)[2] สามารถพบซากดึกดำบรรพ์ของยูริปเทอริดได้จากทุกทวีป ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่มาจากแหล่งฟอสซิลในอเมริกาเหนือและยุโรป เนื่องจากสัตว์กลุ่มนี้อาศัยอยู่ในน่านน้ำรอบ ๆ และภายในมหาทวีปสมัยโบราณยูราเมริกา

อ้างอิง แก้

  1. Braddy, Poschmann & Tetlie 2008, p. 107.
  2. Poschmann & Tetlie 2004, p. 189.