บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี

(เปลี่ยนทางจาก ยูซุฟ ฮาบีบี)

บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี (อินโดนีเซีย: Bacharuddin Jusuf Habibie) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เบ. เจ. ฮาบีบี (B. J. Habibie) ประธานาธิบดีคนที่สามของอินโดนีเซีย เข้ารับตำแหน่งแทนประธานาธิบดีในฐานะรองประธานาธิบดีหลังจากประธานาธิบดีซูฮาร์โตลาออกจากตำแหน่ง เขาได้รับการการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิตด้านวิศวกรรมการบิน ทำงานด้านการบินกับบริษัททำกิจการอากาศยานในเยอรมันและดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านการบินด้วยเช่นกัน จนกระทั่งได้รับเชิญจากซูฮาร์โตให้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองประธานาธิบดี

บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าซูฮาร์โต
ถัดไปอับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มิถุนายน ค.ศ. 1936(1936-06-25)
จังหวัดซูลาเวซีใต้ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ (อินโดนีเซีย)
เสียชีวิต11 กันยายน ค.ศ. 2019(2019-09-11) (83 ปี)
จาการ์ตา, อินโดนีเซีย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองโกลการ์
คู่สมรสฮัสรี ไอนุน เบอซารี
ลายมือชื่อ

สมัยเป็นประธานาธิบดี ฮาบีบีประสบกับปัญหาหลายประการ ได้แก่

  • การเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย
  • การโดนโจมตีว่าไม่สามารถก้าวพ้นจากอำนาจของซูฮาร์โตได้
  • ฮาบีบีไม่มีฐานการเมืองมาสนับสนุนอย่างจริงจัง กล่าวคือ พรรคกลการ์ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็ไม่ได้ให้การสนับสนุน กองทัพก็ไม่ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน
  • มีเรื่องทุจริตอื้อฉาวเกิดขึ้นเกี่ยวกับธนาคารบาหลี ซึ่งมีการกล่าวหาว่าลูกชายของเขามีส่วนเกี่ยวข้อง

แต่ประธานาธิบดีฮาบีบีก็ได้รับเสียงชื่นชมจากนานาชาติในเรื่องการจัดการกับปัญหาติมอร์ตะวันออก โดยเขาเห็นสมควรว่าให้ชาวติมอร์ลงประชามติเลือกว่าจะอยู่กับอินโดนีเซียต่อไปหรือเป็นเอกราช ซึ่งท้ายที่สุด ชาวติมอร์ตะวันออกก็ต้องการเป็นอิสระ ฮาบีบีจึงให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออก จนทำให้ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พอใจ เพราะเห็นว่าฮาบีบีสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในชาติ

ในช่วงท้ายของการดำรงตำแหน่ง ฮาบีบีต้องการให้สภาที่ปรึกษาประชาชนเลือกให้เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป แต่เขาไม่ได้รับการสนับสนุนจากสภา จึงถอนชื่อตนเองจากการขอรับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีใน 20 ตุลาคม พ.ศ. 2542

ก่อนหน้า บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี ถัดไป
ซูฮาร์โต
ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย
(21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2542)
อับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด