ยุทธนา โพธสุธน เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 2 สมัย สังกัดพรรคชาติไทย และเป็นหลานของ ประภัตร โพธสุธน[1]

ยุทธนา โพธสุธน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2514 (53 ปี)
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2562-2565,2566-ปัจจุบัน)
เศรษฐกิจไทย (2565-2566)

ประวัติ แก้

ยุทธนา โพธสุธน เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2514 เป็นบุตรของนายประสิทธิ์ และดวงแข โพธสุธน และเป็นหลานของ นายประภัตร โพธสุธน และเป็นน้องชายของ พัชรี โพธสุธน อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา

ยุทธนา โพธสุธน เป็นศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จบปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจการเงิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจการเงิน CALIFORNIA STATE UNIVERSITY ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน แก้

ยุทธนา โพธสุธน เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นกำนันตำบลวังน้ำซับ เป็นประธานชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอศรีประจันต์[1] ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคชาติไทย แทนนายประภัตร ซึ่งย้ายไปลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน และเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 คู่กับนายเสมอกัน เที่ยงธรรม และได้รับเลือกตั้งทั้งสองคน กระทั่งเขาถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ของศาลรัฐธรรมนูญ[2] และได้จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม โดย พัชรี โพธสุธน ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแทน

หลังการเว้นวรรคทางการเมือง เขากลับสู่สนามเลือกตั้งอีกครั้ง แต่เนื่องจากเกิดความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ลงสมัครรับเลือกตั้งระหว่าง จองชัย เที่ยงธรรม กับประภัตร โพธสุธน[1][3] ในที่สุดนายจองชัย จึงย้ายไปลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคภูมิใจไทย แข่งขันกับนายประภัตร แต่ให้บุตรชายคือ เสมอกัน เที่ยงธรรม ยังคงลงสมัครในนามพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งผลให้นายยุทธนา ต้องย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาเมื่อ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ลาออกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 เขาจึงได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน[4][5][6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ส.ส.ป้ายแดง "ยุทธนา" หลานเฮียเม้ง ชาติไทยประชารัฐ
  2. "ศิลปอาชา"สูญพันธุ์ หลังยุบชาติไทย เปิด109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ"ถูกเพิกสิทธิเลือกตั้งเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากมติชน
  3. ฉากจบ “ณัฏฐพล” พ้นพรรคพลังประชารัฐ
  4. 'ณัฏฐพล'ยื่นลาออกจากส.ส. เปิดทาง'ยุทธนา โพธสุธน'นั่งแทน... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/education/846785
  5. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายยุทธนา โพธสุธน)
  6. ประกาศให้ “ยุทธนา” เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พลังประชารัฐ หลัง “ณัฏฐพล” ลาออก
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑