ยุทธการที่เทอร์มอพิลี

ยุทธการที่เทอร์มอพิลี (อังกฤษ: Battle of Thermopylae; Greek: Μάχη τῶν Θερμοπυλῶν, มาแค ตอน แธมอปูลอน) เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ กองทัพกรีกขนาดเล็กนำโดยกษัตริย์ลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา ได้เข้าปิดช่องเขาเล็ก ๆ ซึ่งขัดขวางกองทัพมหึมาของจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้การนำของจักรพรรดิเซอร์ซีสที่ 1 ไว้ หลังจากการรบสามวัน เฮโรโดตุสเชื่อว่ามีคนทรยศที่บอกเส้นทางให้กับกองทัพเปอร์เซียซึ่งนำไปสู่ด้านหลังของกองทัพสปาร์ต้า และในวันที่สาม กองทัพกรีกได้ถอนตัวออกไปราว 2,300 นาย

ยุทธการที่เทอร์มอพิลี
ส่วนหนึ่งของ สงครามกรีก-เปอร์เซีย

ลีโอนิดัส ณ เทอร์มอพิลี (ค.ศ. 1814)
วาดโดย ฌัก-หลุยส์ ดาวีด
วันที่21–23 กรกฎาคม,[1] 20 สิงหาคม[2] หรือ 8–10 กันยายน[3] 480 ปีก่อน ค.ศ.
สถานที่38°47′48″N 22°32′12″E / 38.796607°N 22.536714°E / 38.796607; 22.536714พิกัดภูมิศาสตร์: 38°47′48″N 22°32′12″E / 38.796607°N 22.536714°E / 38.796607; 22.536714
ผล เปอร์เซียได้รับชัยชนะ[a]
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
เปอร์เซียควบคุมพื้นที่โฟกิส บิโอเชีย และแอตติกา[6]
คู่สงคราม
นครรัฐกรีก จักรวรรดิอะคีเมนิด
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา 
ดีโมฟิลุสแห่งเธสปิอี 
ลีออนติอาดีสแห่งธีบส์ Surrendered
เซิร์กซีสที่ 1
มาร์โดนิอุส
ไฮดาร์เนสที่ 3
อาร์ตาปานุส[7]
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กองทัพสปาร์ตา กองทัพเปอร์เซีย
กำลัง
7,000 นาย[8][9] 70,000–300,000 นาย[10][b][12]
ความสูญเสีย
4,000 นาย (ตามการบันทึกของเฮอรอโดทัส)[13] ป. 20,000 นาย (เฮอรอโดทัส)[8]
Thermopylaeตั้งอยู่ในประเทศกรีซ
Thermopylae
Thermopylae
Location of Thermopylae within present-day Greece
Thermopylaeตั้งอยู่ในยุโรป
Thermopylae
Thermopylae
Location of Thermopylae within Europe

หลังเที่ยงวันของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซียสามารถเจาะผ่านแนวกรีกได้ แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียของกองทัพกรีก การต้านทานอย่างบ้าระห่ำของกองทัพกรีกได้ซื้อเวลาอันหาค่ามิได้ในการเตรียมกองทัพเรือ ซึ่งอาจตัดสินผลแพ้ชนะของสงคราม[14] ต่อมา ภายหลังชัยชนะของกองทัพเรือกรีกนำโดยนายพลเธมิสโตคลีส ในยุทธนาวีที่ซาลามิส ทำให้กองทัพเรือเปอร์เซียถูกทำลายสิ้น จักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งถอนทัพกลับมายังทวีปเอเชีย เหลือเพียงกองทัพเปอร์เซียใต้การนำของมาร์โดนิอัสเพื่อทำสงครามต่อไป[15]

ยุทธการดังกล่าวนั้นได้ถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างหลายครั้งโดยนักการทหาร ในการศึกษาทางด้านความได้เปรียบของการฝึกฝน อุปกรณ์เครื่องแต่งกายและภูมิประเทศที่เหมาะสม ว่าเป็นตัวคูณกำลังรบ[16] รวมไปถึงสัญลักษณ์ของความกล้าหาญในการต่อสู้เพื่อแผ่นดินของตน[16]

แหล่งข้อมูล แก้

แหล่งข้อมูลหลักของสงครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) นั้นมาจากเฮโรโดตุส ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ เขาเกิดเมื่อปี 484 ก่อนคริสตกาลในฮาลิคาร์นัสซุส ซึ่งอยู่ในเอเชียไมเนอร์ เขาเขียนงานประวัติศาสตร์ขึ้นในราวปี 440-430 ก่อนคริสตกาล โดยพยายามหาความจริงของเหตุการณ์สงครามกรีก-เปอร์เซีย ซึ่งยังเกี่ยวข้องกับช่วงเวลานั้น เพราะสงครามจบลงในปี 449 ก่อนคริสตกาล งานของเขาเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ในขณะนั้น คือ เหมือนการเขียนประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน การที่ในฮอลแลนด์มีการเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรกผลักดันให้เขาเขียนประวัติศาสตร์ โดยที่เขาจะทำในเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นนานเกินไป ซึ่งทำให้งานของเขาเป็นสิ่งที่ดีมาก ที่สำคัญเขาเขียนงานโดยไม่อิงเทพเจ้าใด ๆ และไม่สนองต่อความคาดหวังของใคร แต่เป็นการอธิบายสิ่งที่เขาพิสูจน์ด้วยตัวเอง

นักประวัติศาสตร์ยุคโบราณหลายคนแม้จะเจริญรอยตามเขา แต่ก็ดูถูกเขา เริ่มต้นด้วยทิวซิดิดีส (Thucydides) ที่แม้จะเริ่มต้นงานของเขาต่อจากเฮโรโดตุสในเรื่องสงครามกรีก-เปอร์เซียและรู้สึกว่างานของเฮโรโดตุสเป็นการเขียนที่มีเหตุผลก็ตาม ขณะที่พลูทาร์ก (Plutarch) วิจารณ์เฮโรโดตุสในงานเขียนชื่อ "On The Malignity of Herodotus" ว่าเป็น "Philobarbaros" (คนรักความเป็นอนารยะ) จากการที่เฮโรโดตุสไม่มีความเป็นกรีกพอ และเสนอแนะว่าน่าจะเขียนงานที่มีเหตุผลอย่างยุติธรรม ความคิดแง่ลบนี้ล่วงเลยไปถึงยุคเรอเนสซองค์ อย่างไรก็ตาม วันของเฮโรโดตุสก็มาถึง ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การค้นคว้าทางโบราณคดีกลายเป็นสิ่งยืนยันความถูกต้องงานเขียนของเขา แม้ว่าในรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่าง เช่น วัน เวลา หรือจำนวน จะต้องใช้การวิเคราะห์อย่างรอบคอบก่อนก็ตาม แม้กระนั้น นักประวัติศาสตร์บางคนก็ยังคงคิดว่างานจำนวนมากของเขาถูกสร้างขึ้น

การมาถึงของเปอร์เซีย แก้

การรบ แก้

หลังการรบ แก้

ภูมิประเทศของสนามรบ แก้

ความน่าเชื่อถือของเฮโรโดตุส แก้

อนุสาวรีย์ แก้

วัฒนธรรมอื่น แก้

หมายเหตุ แก้

  1. Although some authors state the result was a pyrrhic victory for Persia,[4][5] the majority of authors do not apply this label to the result. See § Aftermath.
  2. A huge number of estimates have been made since the 19th century, ranging from 15,000 to acceptance of Herodotus' 1,800,000. No real consensus exists; even the most recent estimates by academics vary between 120,000 and 300,000. As Holland puts it, "in short...we will never know."[11]

อ้างอิง แก้

  1. Gongaki (2021) [1]
  2. Bradford (1980), p.162
  3. Greswell (1827), p. 374
  4. Tung & Tung, p. 239.
  5. Marozzi, p. 74.
  6. The Persian Empire: A Corpus of Sources of the Achaemenid Period : page 278
  7. "Photius' excerpt of Ctesias' Persica". Livius.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2017. สืบค้นเมื่อ 26 November 2014.
  8. 8.0 8.1 Herodotus VIII, 24
  9. "BBC Radio 4 – In Our Time, Thermopylae". BBC. สืบค้นเมื่อ 26 November 2014.
  10. "Battle of Thermopylae | Date, Location, and Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  11. Holland, p. 394.
  12. Barkworth, 1993. The Organization of Xerxes' Army. Iranica Antiqua Vol. 27, pp. 149–167
  13. Herodotus VIII, 25
  14. Bury, J. B.; Russell Meiggs (July 2000). A History of Greece to the Death of Alexander the Great (4th ed.). Palgrave Macmillan. p. 271. The 1913 edition (same page numbers) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Books, [2].
  15. Bury (1913), page 295.
  16. 16.0 16.1 Eikenberry, Lt. Gen. Karl W. (1996). "Take No Casualties". Parameters: US Army War College Quarterly. XXVI (2): 109–118. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.

ดูเพิ่ม แก้

  • Barkworth, Peter R. (1993). "The Organization of Xerxes' Army" (PDF). Iranica Antiqua. XXVII: 149–167. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18.
  • Pressfield, Steven (1998). Gates of Fire. Doubleday. ISBN 0-385-49251-0.
  • Morris, Ian Macgregor (2000). "To Make a New Thermopylae: Hellenism, Greek Liberation, and the Battle of Thermopylae". Greece & Rome. 47 (2): 211–230.
  • Bradford, Ernle (2004). Thermopylae: The Battle for the West. Da Capo Press. ISBN 0-306-81360-2.
  • Cartledge, Paul (2006). Thermopylae: The Battle That Changed the World. Woodstock, New York: The Overlook Press. ISBN 1-58567-566-0.
  • Matthews, Rupert (2006). The Battle of Thermopylae: A Campaign in Context. Stroud, Gloucestershire, UK: Tempus Publishing. ISBN 1-86227-325-1.
  • Holland, Tom (2006). 'Persian Fire: The First World Empire and the Battle for the West'. Doubleday. ISBN 0-385-51311-9.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้