ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1941)

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการที่เคียฟ (1941))

ยุทธการเคียฟครั้งที่หนึ่ง เป็นยุทธการที่เป็นการปิดล้อมทหารโซเวียตขนาดใหญ่โดยเยอรมันในแถบรอบเมืองเคียฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งการล้อมนี้ถือว่ายาวที่สุดในประวัติศาสตร์การรบ (จากจำนวนทหาร) ปฏิบัติการเริ่มต้นตั้งแต่ 7 สิงหาคม ถึง 26 กันยายน ค.ศ. 1941 เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการบาร์บารอสซาในช่วงที่ฝ่ายอักษะบุกสหภาพโซเวียต ในประวัติศาสตร์การทหารของโซเวียต มันถูกเรียกว่า ปฏิบัติการป้องกันเชิงกลยุทธ์เคียฟ และวันเวลาในการรบค่อนข้างจะแตกต่าง คือ ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ถึง 26 กันยายน ค.ศ. 1941[5]

ยุทธการเคียฟครั้งที่หนึ่ง
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา ใน แนวรบด้านตะวันออก ของ สงครามโลกครั้งที่สอง

การรุกช่วงแรกของเยอรมันในปฏิบัติการบาร์บารอสซา
วันที่7 กรกฎาคม – 26 กันยายน ค.ศ. 1941
(2 เดือน 2 สัปดาห์ 5 วัน)
สถานที่
ผล

เยอรมันได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี  สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ สหภาพโซเวียต เซมิออน บูดิออนนืย (ออกจากการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 13 กันยายน)
สหภาพโซเวียต มิคาอิล เคอโพโนส 
กำลัง
500,000 คน 627,000 คน[1]
ความสูญเสีย
ทั้งหมด 61,239 คน[2]
เสียชีวิต 12,728 คน
บาดเจ็บ 46,480 คน
สูญหา 2,085 คน

700,544 คน[1]

485,000-665,000 ถูกจับ (รวมถึงพลเรือน)
84,240 บาดเจ็บและป่วย
ทำลายรถถังและรถถังอัตตาจร 411 คัน[3]
เครื่องบิน 343 ลำ[3]
เสียปืนและปืนครกไป 28,419 กระบอก[4]

เกือบทั้งหมดของกองพลตะวันตกเฉียงใต้ ของ กองทัพแดง ถูกล้อม อย่างไรก็ตามการล้อมเคียฟก็ไม่สมบูรณ์และทหารโซเวียตบางส่วนสามารถหลบหนีไปได้หลังจากที่เยอรมันทำการรุกโอบล้อมในทางตะวันออกของเมือง รวมไปถึงฐานทัพใหญ่ของ จอมพลเซมิออน บูดิออนนืย, จอมพลเซมิออน ตีโมเชนโค และ ผู้ตรวจการทางการเมืองนีกีตา ครุชชอฟ ผู้บังคับบัญชาแห่งกองพลตะวันตกเฉียงใต้มิคาอิล เคอโพโนสซึ่งติดกับดักหลังแนวเยอรมันและถูกสังหารในระหว่างการต่อสู้

ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของกองทัพแดงในครั้งนี้โดยมีทหารถูกล้อมถึง 452,700 คน, ปืนใหญ่และปืนครก 2,642 กระบอก และรถถัง 64 คัน และมีทหารเพียง 15,000 คนที่สามารถหลุดรอดจากวงล้อม ในวันที่ 2 ตุลาคม กองพลตะวันตกเฉียงใต้สูญเสียรวมทั้งหมด 700,544 คน รวมถึงทหารที่เสียชีวิตถูกจับหรือสูญหาย 616,304 คน ในช่วงการรบ

ก่อนการรบ แก้

หลังจากการรุกอย่างรวดเร็วของกองทัพกลุ่มกลาง มุ่งไปสู่การทำลายส่วนกลางของ แนวรบด้านตะวันออก โดยโจมตีจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ร่วมกับ กองทัพกลุ่มใต้ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ทหารโซเวียตก็ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน จุดยุทธศาสตร์สำคัญเกือบทั้งหมดของกองพลตะวันตกเฉียงใต้ ในรอบเมืองเคียฟ [6][7] ซึ่งกำลังขาดแคลนยานเกราะและรถถัง

ในวันที่ 3 สิงหาคม ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้หยุดการรุกสู่มอสโกเป็นการชั่วคราวและสั่งให้เคลื่อนทัพลงใต้และโจมตีเคียฟในยูเครน[8] อย่างไรก็ตามในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1941 คำสั่งส่งกำลังเสริมครั้งที่ 34 ก็ถูกดำเนินการแต่ก็ถูกต่อต้านโดยนายทหารภาคสนามบางส่วน แต่ฮิตเลอร์ก็มีความมั่นใจและเชื่อว่าจะสามารถทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญของทหารโซเวียตได้ในทางด้านปีกขวาของกองทัพกลุ่มกลาง ในแถบรอบเมืองเคียฟ ก่อนจะทำการรุกสู่มอสโก และมีจอมพลที่ต่อต้านคือฟรันซ์ ฮัลเดอร์, เฟดอร์ ฟอน บอค, ไฮนซ์ กูเดเรียน ว่าควรรุกสู่มอสโกต่อไปแต่ฮิตเลอร์ไม่ฟังและสั่งให้ กลุ่มพันเซอร์ที่สอง และ กลุ่มพันเซอร์ที่สาม ของกองทัพกลุ่มกลาง ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้ได้รับคำสั่งช่วยเหลือกองทัพกลุ่มเหนือ และ กองทัพกลุ่มใต้ ตามลำดับก่อนที่จะกลับมาอยู่กองทัพกลุ่มกลางร่วมกับกลุ่มพันเซอร์ที่สี่ ของกองทัพกลุ่มเหนือ ครั้งหนึ่งจุดประสงค์ของแม่ทัพกองทัพกลุ่มกลางเคยประสบความสำเร็จในการที่มีกลุ่มพันเซอร์สามกลุ่มภายใต้การควบคุมของ กองทัพกลุ่มกลาง ในการรุกสู่มอสโก[9] ในขั้นต้น จอมพลฮัลเดอร์หัวหน้าของกองบัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมัน ฝ่ายพนักงานทั่วไปและจอมพลบอค นายพลแห่งกองทัพกลุ่มกลาง เกิดความพึงพอใจในแผนการนี้แต่ก็ถูกต่อต้านเมื่อนำไปเทียบกับความเป็นจริง[10]

ในวนที่ 18 สิงหาคม กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมัน ส่งจดหมายการพิจารณาเกี่ยวกับจุดยุทธศาสตร์ถึงฮิตเลอร์ เกี่ยวกับปฏิบัติการในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ในกระดาษเขียนเกี่ยวกับเรื่องการรุกสู่มอสโกและการโต้เถียงเกี่ยวกับว่าการที่กองทัพกลุ่มเหนือและกองทัพกลุ่มใต้มีความแข็งแกร่งพอที่จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ การที่กองทัพกลุ่มกลางขาดการสนับสนุน และ การชี้ถึงเวลาว่าจะสามารถยึดมอสโกได้อย่างเด็ดขาดในช่วงก่อนฤดูหนาวหรือไม่[10]

วันที่ 20 สิงหาคม ฮิตเลอร์ปฏิเสธแผนการทำลายเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของโซเวียต ในวันที่ 21 สิงหาคม อัลเฟรด โยเดิล แห่ง กองบัญชาการกองทัพบกเยอรมัน ได้ออกคำสั่งของฮิตเลอร์ถึงจอมพล วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ ผู้บัญชาการกองทัพบก คำสั่งนั้นย่ำว่าต้องยึดมอสโกให้ได้ก่อนฤดูหนาวเท่านั้นและเป็นคำสั่งที่ค่อนข้างสำคัญมากก่อนจะนำทัพไปยึดคาบสมุทรไครเมีย กับแหล่งอุตสาหกรรมและถ่านหินในแถบลุ่มแม่น้ำแม่น้ำดอน ก่อนจะแยกกำลังไปยึดแหล่งน้ำมันในคอเคซัส ก่อนจะค่อยยึดส่วนที่เหลือของสหภาพโซเวียตต่อไปและทางด้านเหนือก็โอบล้อมเลนินกราด และเชื่อมกับทหารฟินแลนด์ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆจะเป็นหน้าที่ของกองทัพกลุ่มกลาง คือ การจัดสรรทรัพยากรกับทำลายกองพลรัสเซียที่ 5 และป้องกันการโต้กลับของโซเวียตในแถบภาคกลาง[11] [12] ฟรานซ์ ฮอลเดอร์ ถึงกับตกตะลึงและไปอธิบายกับฮิตเลอร์ในภายหลังว่า"มันเพ้อฝันเกินไปและมันเป็นไปไม่ได้"แต่คำสั่งก็ถูกสั่งการออกไปและฮิตเลอร์เป็นคนเดียวที่ต้องรับความผิดชอบในคำสั่งนี้และทำให้เกิดความขัดแย้งภายในมากขึ้นและมันก็เป็นการสะท้อนในเจตนาของฮิตเลอร์ปฏิบัติการบาร์บารอสซา ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมัน ตระหนักมาตลอด[13] เจอฮาร์ด เอนเจิล ในไดอารี่ของเขาลงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1941"มันเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพบก".[14] ฮอลเดอร์ประกาศลาออกและให้คำแนะนำแก่เบราชิทช์ แต่อย่างไรก็ตามแก่เบราชิทช์ก็ปฏิเสธและฮิตเลอร์ก็นิ่งเฉยต่อการกระทำของเขาจนในที่สุดฮอลเดอร์ก็ถอนใบลาออก [13]

ในวันที่ 23 สิงหาคม ฟรานซ์ ฮอลเดอร์ เรียกประชุมกับจอมพลบอค และจอมพลกูเดเรียนใน บารีซอฟ (ใน สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย) และหลังจากการไปพบฮิตเลอร์ที่ฐานทัพในปรัสเซียตะวันออกกับจอมพลกูเดเรียนและระหว่างการพบ ฮิตเลอร์ และ กูเดเรียน[15] และต่อต้านข้อเสนอของฟรานซ์ ฮอลเดอร์ และ วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ และกูเดเรียนได้รับอนุญาตจากฮิตเลอร์ให้นำทัพในการรุกสู่มอสโก และปฏิเสธการต่อต้าน ฮิตเลอร์อ้างว่าการตัดสินใจของตนจะทำให้ภาคเหนือ (รัฐบอลติก) กับ ภาคใต้ (ยูเครน) ในโซเวียตตะวันตก และยังพูดว่า "การยึดมอสโก มีความสำคัญมากกว่าปัญหาอื่นๆ" และยังพูดอีกว่า "มันไม่ใช่ปัญหาใหม่เลยแต่ความเป็นจริงมันบอกว่ามันมีโอกาสตั้งแต่เราเริ่ม (ปฏิบัติการบาร์บารอสซา) แล้ว" นอกจากนี้ยังมีการโต้แย้งว่าตอนนี้อยู่ในสภาวะขั้นวิกฤตเพราะโอกาสในการโอบล้อมทหารโซเวียตในจุดยุทธศาสตร์แทบเรียกว่า"เป็นเพียงแค่ความไม่คาดฝันเท่านั้น และมันเป็นการบรรเทาจากถูกทหารโซเวียตถ่วงเวลาในภาคใต้เท่านั้น"[13] ฮิตเลอร์ประกาศว่า "คัดค้านในการที่เสียเวลาไปทำลายทหารโซเวียตทางยูเครน จนทำให้การรุกสู่มอสโกล่าช้าหรือการที่ยานเกราะขาดการสนับสนุนตามเทคนิคสามารถส่งไปได้แต่ไม่สมบูรณ์" ฮิตเลอร์ ย้ำว่าครั้งหนึ่งปีกของกองทัพกลุ่มกลางทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญโดยเฉพาะทางภาคใต้และได้รับอนุญาตให้กลับไปนำการรุกสู่มอสโกและการรุกครั้งนี้สรุปโดยความว่า"ต้องไม่พลาด"[14] ในความเป็นจริงฮิตเลอร์เตรียมออกคำสั่งย้ายกลุ่มพันเซอร์ของจอมพลกูเดเรียนไปทางภาคใต้[16] กูเดเรียนกลับไปยังกลุ่มพันเซอร์ของเขากลุ่มพันเซอร์ที่สอง และเริ่มการรุกสู่ภาคใต้และเริ่มความพยายามในการปิดล้อมจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโซเวียต[13]

กองทัพส่วนใหญ่ของ กลุ่มพันเซอร์ที่สอง และ กองพลที่สอง ถูกโดดเดี่ยวจากกลุ่มกองทัพกลางและถูกส่งไปยังแนวรบด้านใต้[17] และภารกิจในการโอบล้อมIts mission was to encircle the กองพลตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งถูกควบคุมโดยบูดิออนนืยและเชื่อมต่อกับกลุ่มพันเซอร์ที่หนึ่ง แห่ง กองทัพกลุ่มใต้ ภายใต้การควบคุมของนายพลฟอน ไคลสท์ ที่เคลื่อนพลมาจากทางด้านตะวันออกเฉียงใต้[18]

ยุทธการ แก้

 
กูเดเรียนกำลังควบคุมกลุ่มพันเซอร์ของเขาในช่วงปฏิบัติการใกล้เมืองเคียฟ

กองทัพพันเซอร์ได้เริ่มบุกทันที่ ในวันที่ 17 กันยายน กลุ่มพันเซอร์ที่หนึ่งภายได้การนำของนายพลฟอน ไคลสท์ นำกองทัพข้าม แม่น้ำนีเปอร์ และโจมตี กองพลตะวันตกเฉียงใต้ของเซมิออน บูดิออนนืย ในวันที่ 16 กันยายนกลุ่มพันเซอร์ที่สอง ภายใต้การนำของไฮนซ์ กูเดเรียน นำกองทัพเข้าทางใต้ ของเมือง Lokhvitsa, 120 ไมล์ หลังเมืองเคียฟ.[19] เซมิออน บูดิออนนืยโดนขับออกจากการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของสตาลินในวันที่ 13 กันยายน

หลังจากการโจมตีที่ล้มเหลวของกองทัพโซเวียต กองทัพที่ 6 และ 17 ของเวร์มัคท์ได้เรื่มโจมตีเคียฟในวันที่ 19 กันยายน, เคียฟ ล้มเหลวในการบุกโจมตีกลับและการสู้รบยังดำเนินต่อไป ในที่สุดหลังจาก 10 วันในการสู้รบอย่างหนักและดุเดือดนครเคียฟก็แตกกองทัพตะวันออกชุดสุดท้ายในเคียฟก็ยอมจำนน ในวันที่ 26 กันยายน เวร์มัคท์จับเชลยทหารของกองทัพแดงได้ประมาณ 600,000 นาย

หลังการรบ แก้

 
หลังจากการรบชาวโซเวียต 107,540 คน ได้รับ เหรียญ "สำหรับการป้องกันที่เคียฟ" จากการสู้รบในวันที่ 21 มิถุนายน 1941

หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมนีได้กล่าวว่า ปฏิบัติการในเคียฟ ควรถูกเลื่อนออกและเริ่ม ยุทธการมอสโก ซึ่งควรเริ่มในเดือนกันยายนและตุลาคม เวร์มัคท์ ก็จะสามารถบุกและยึดมอสโกได้ในช่วงก่อนฤดูหนาว[20]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Glantz 1995, p. 293.
  2. "1941". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2012. สืบค้นเมื่อ 9 August 2014.
  3. 3.0 3.1 Krivosheev 1997, p. 260.
  4. Liedtke 2016, p. 148.
  5. Krivosheev 1997, p. 114.
  6. Glantz 2011, pp. 54–55.
  7. Clark 1965, p. 130.
  8. Clark 1965, p. 101.
  9. Glantz 2011, p. 55.
  10. 10.0 10.1 Glantz 2011, p. 56.
  11. Glantz 2011, p. 57.
  12. Glantz 2011, p. 60.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Glantz 2011, p. 58.
  14. 14.0 14.1 Glantz 2011, p. 59.
  15. Guderian 1952, p. 200.
  16. Guderian 1952, pp. 202.
  17. Clark 1965, p. 111,139.
  18. Clark 1965, p. 133.
  19. Clark 1965, p. 135,141.
  20. Glantz 2001, p. 23.

บรรณานุกรม แก้

หนังสือเพิ่มเติม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

Freier, Thomas (2009). "10-Day Medical Casualty Reports". Human Losses in World War II. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2012.

50°27′13″N 30°30′59″E / 50.4536°N 30.5164°E / 50.4536; 30.5164