ยุทธการที่อาร์เนม

ยุทธการที่อาร์เนมเป็นยุทธการครั้งสำคัญในสงครามโลกครั้งที่สอง การสู้รบได้เกิดขึ้นทั้งในและรอบเมืองของเนเธอร์แลนด์จากตั้งแต่เมืองอาร์เนม (Arnhem), Oosterbeek, Wolfheze, Driel และเขตชนบทโดยรอบตั้งแต่เดือน 17-26 กันยายน ปี ค.ศ.1944

ยุทธการที่อาร์เนม
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน
วันที่17–26 กันยายน 1944
สถานที่51°58′48.82″N 5°54′1.24″E / 51.9802278°N 5.9003444°E / 51.9802278; 5.9003444
ผล เยอรมนีได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
โปแลนด์ โปแลนด์
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Roy Urquhart
โปแลนด์ Stanisław Sosabowski
สหราชอาณาจักร John Frost [POW]
นาซีเยอรมนี ไวล์แทร์ มอเดิล
นาซีเยอรมนี วิลเฮ็ล์ม บิททริช

หลังจากที่ได้ทำการปลดปล่อยฝรั่งเศสและเบลเยียมในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1944, ภายหลังจากยุทธการที่นอร์มังดี,กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์.จอมพลเซอร์เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี,ได้บัญชาการในกองทัพอังกฤษ-แคนาดากลุ่มที่ 21(21st Army Group),ได้รับการสนับสนุนโดยเพียงลำพังที่จะทำการรุกขึ้นเหนือของสาขาแม่น้ำไรน์ทางตอนล่าง,ได้อนุญาตให้กองทัพบริติซที่สองในการก้าวข้ามแนวป้องกันซิกฟรีดและโจมตีที่เมืองรูร์,ด้วยเหตุนี้,ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน เมื่อวันที่ 17 กันยายน ปี ค.ศ. 1944,ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำการส่งทหารพลโดดร่มลงสู่เนเธอร์แลนด์เพื่อทำการปกป้องสะพานสำคัญและเมืองต่างๆตามแนวกั้นระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร-ฝ่ายอักษะต่อการรุกคืบ,ทางที่ไกลที่สุดทางตอนเหนือ,กองพลทหารโดดร่มที่ 1 แห่งบริติซ,ได้รับการสนับสนุนโดยคนของกองทหารนักบินขับเคลื่อนร่อน(Glider Pilot Regiment)และกองพลน้อยโดดร่มอิสระที่ 1(1st Independent Parachute Brigade),ทำการลงจอดที่อาร์เนมเพื่อปกป้องสะพานในการก้าวข้ามที่ Nederrijn.กองทัพเหล่าที่ 30 แห่งบิรติซ(British XXX Corps)ได้วางแผนที่จะไปสมทบกับกองกำลังทหารโดดร่มแห่งบริติซภายในสองถึงสามวัน.

กองกำลังโดดร่มแห่งบริติซได้ลงสู่เข้าสู่ในระยะทางที่ห่างไกลจากเป้าหมายของพวกเขาและถูกขัดขวางอย่างรวดเร็วโดยการต้านทานอย่างคาดไม่ถึง-โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองกำลังจำนวนเล็กน้อยของกองพลแพนเซอร์เอสเอสที่ 9 และที่ 10(9th and 10 th SS Panzer Divisions).เพียงกองกำลังขนาดเล็กสามารถไปถึงถนนสะพานในขณะที่กองกำลังหลักของกองพลได้หยุดชะงักที่ข้างนอกของเมือง.ในขณะเดียวกัน กองทัพเหล่าที่ 30 ไม่สามารถรุกคืบไปทางตอนเหนือได้อย่างรวดเร็วตามที่คาดการณ์เอาไว้ได้ เนื่องจากได้มีการทำลายสะพานที่ซัน(Son),และล้มเหลวในการสมทบไปยังทหารพลโดดร่มตามที่กำหนดเอาไว้.ภายหลังสี่วัน,กองกำลังขนาดเหล็กของบริติซที่สะพานซึ่งถูกทำลายและส่วนที่เหลือของกองพลได้ติดกับด้วยวงล้อมขนาดเล็กทางตอนเหนือของแม่น้ำซึ่งพวกเขาไม่สามารถเสริมกำลังอย่างเพียงพอจากโปแลนด์หรือกองทัพเหล่าที่ 30 เมื่อพวกเขาได้ไปถึงฝั่งทางตอนใต้,ไม่ก็โดยกองทัพอากาศแห่งบริติซได้ทำการส่งเสบียงทางอากาศ,ภายหลังเก้าวันของการสู้รบ,ส่วนเหลือที่แตกกระจายของกองพลทหารโดดร่มที่ 1 แห่งบริติซได้ถอนกำลังออกจากอาร์เนมด้วยปฏิบัติการเบอร์ลิน(Operation Berlin).

ด้วยสะพานที่ไม่ปลอดภัยบน Nederrijn,ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่สามารถรุกไปไกลได้และแนวหน้าที่มั่นคงทางตอนใต้ของอาร์เนม,ส่วนกองพลทหารโดดร่มที่ 1 แห่งบริติซได้สูญเสียไปเกือบสาม-สี่ส่วนของกองกำลังและไม่ได้เห็นในการสู้รบอีกครั้งเลย.