ยุทธการที่ทาวตัน

ยุทธการที่ทาวตัน (อังกฤษ: Battle of Towton) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1461 ใกล้หมู่บ้านทาวตันในเทศมณฑลยอร์กเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคัสเตอร์ที่นำโดยเฮนรี โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 3 กับฝ่ายราชวงศ์ยอร์กที่นำโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์กเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในด้านความเสียหาย ฝ่ายราชวงศ์แลงคัสเตอร์มีผู้เสียชีวิต 8,000-20,000 คน ส่วนฝ่ายราชวงศ์ยอร์กมีผู้เสียชีวิต 8,000-20,000 คน ซึ่งทำให้เป็นยุทธการนองเลือดใหญ่ยุทธการสุดท้ายเท่าที่เคยต่อสู้กันมาในสหราชอาณาจักร เชื่อกันว่าทั้งสองฝ่ายเสียทหารรวมกันราว 28,000 นาย[2] มีแต่เพียงยุทธการที่วอตลิงสตรีต (Battle of Watling Street) ใน ค.ศ. 60 หรือ ค.ศ. 61 เท่านั้นที่อ้างว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่าโดยมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 80,000 คน ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรอังกฤษเสียชีวิตในยุทธการที่ทาวตัน

ยุทธการที่ทาวตัน
ส่วนหนึ่งของ สงครามดอกกุหลาบ
Armoured men on horses and on foot attack each other with swords and polearms in a river. The ones on the right are seeking to flee the battle while pursued by the mass of men who are charging in from the left.
ภาพจำลองการต่อสู้โดย
ริชาร์ด เคตัน วูดวิลล์ จูเนียร์, ค.ศ.1922
วันที่29 มีนาคม ค.ศ.1461
สถานที่
ผล ฝ่ายยอร์กชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม
White rose ราชวงศ์ยอร์ก Red rose ราชวงศ์แลงคัสเตอร์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เอ็ดเวิร์ดที่ 4
ริชาร์ด เนวิลล์
วิลเลียม เนวิลล์
John Mowbray
Henry Beaufort
Henry Holland
เฮนรี เพอร์ซีย์ 
Andrew Trollope 
Thomas Courtenay
Ralph, Lord Dacre 
กำลัง
ทหาร 25,000–30,000 นาย ทหาร 30,000–35,000 นาย[1]
ความสูญเสีย
8,000 คน 20,000 คน

วันที่ต่อสู้กันเป็นวันที่มีหิมะตกวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1461 (วันอาทิตย์ใบปาล์ม) บนเนินระหว่างหมู่บ้านทาวตันและหมู่บ้านแซ็กซตันในยอร์กเชอร์ ราว 19 กิโลเมตรจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของยอร์กและประมาณ 3.2 กิโลเมตรจากทางใต้ของแทดคาสเตอร์

เชื่อกันว่ามีผู้ต่อสู้ทั้งหมดด้วยกัน 50,000 คนหรืออาจจะถึง 100,000 คน รวมทั้งขุนนาง 28 คน (เกือบครึ่งหนึ่งของขุนนางทั้งหมดในขณะนั้น) ส่วนใหญ่เป็นฝ่ายแลงคัสเตอร์ ตัวเลขที่ให้มักจะเป็น 42,000 คนในฝ่ายแลงคัสเตอร์ และอีก 36,000 คนเป็นฝ่ายยอร์ก เหตุผลที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากก็เพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่ยอมเสียที่มั่น[3]

อ้างอิง แก้

  1. Sadler 2011, p. 78.
  2. "Towton mass grave project". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-07. สืบค้นเมื่อ 2009-04-30.
  3. Gravette, Christopher, Towton 1461, at 50, Osprey Publishing Oxford, UK ISBN 1-84176-513-9

ดูเพิ่ม แก้