ยุทธการที่ช่องเขาคุนหลุน

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการช่องเขาคุนหลุน)

ยุทธการช่องเขาคุนหลุน (จีนตัวย่อ: 昆仑关战役; จีนตัวเต็ม: 崑崙關戰役; พินอิน: Kūnlúnguān Zhànyì) เป็นหนึ่งในยุทธการของความขัดแย้งระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน โดยรอบบริเวณช่องเขาคุนลุ้น ซึ่งเป็นตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของมณฑลกวางสี โดยกองทัพญี่ปุ่นวางแผนที่จะตัดเสบียงของจีนที่เชื่อมโยงกับอินโดจีนฝรั่งเศส แต่กองทัพจีนสามารถต่อสู้กับการโจมตีได้รับชัยชนะในที่สุด[1]

ยุทธการช่องเขาคุนหลุน
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการกวางสีใต้ ใน สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
วันที่18 ธันวาคม ค.ศ. 1939 – 11 มกราคม ค.ศ. 1940
สถานที่
ชานเมืองของหนานหนิง, กวางสี
ผล จีนได้รับชัยชนะ[1]
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
จีนปกป้องช่องเขาได้สำเร็จ
คู่สงคราม
 สาธารณรัฐจีน  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ไป๋ ฉงซี
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ตู ยู่หมิง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ฉิว ชิงกวน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) หลี่ หมี่
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เหลียว หยาวเซียง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) ไต อันลัน
มะซะโอะ นาคามูระ 
กำลัง
5th corps 60,000
200th Division:
240 T-26 M1933 tanks
120 CV-33 tankettes
30 BT-5 tanks
5th division (particularly the 21st Brigade) plus various other units, total fighting strength of 45,000[2]
100 planes[3]
70 warships[3]
2 aircraft carriers[3]
ความสูญเสีย
5,600 killed
11,000 injured
800 missing
6,416 other casualties
รวม: บาดเจ็บ 23,816 นาย[3][4]
เสียชีวิต 4,000+ นาย (รวม 85% ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด)
4,000+ ได้รับบาดเจ็บ
ถูกจับเป็นเชลย 100 นาย
รวม: 8,100+ ได้รับบาดเจ็บ[3][4]

การรบ แก้

 
พลโทมัตสึอิ ทะคุโระ หนึ่งในคณะผู้บัญชาการกองพลที่ 5 แห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเปิดตัวการโจมตีครั้งใหญ่เข้ารุกล้ำมาในมณฑลกวางสี ด้วยความตั้งใจที่จะกำจัดเส้นทางการจัดหาสนับสนุนยุทธโธปกรณ์ของจีนผ่านดินแดนที่ควบคุมของฝรั่งเศสในเวียดนาม หน่วยรบญี่ปุ่นชั้นเยี่ยม กองพลที่ 5 ได้รับหน้าที่เป็นหัวหอกในการรุกของญี่ปุ่น หลังจากได้ยึดครองเมืองหนานหนิง ในพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นได้ยึดจุดสำคัญของช่องเขาคุนหลุนและเตรียมพร้อมที่จะโจมตีกองทัพจีนที่ปกป้องจุงกิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนในระหว่างสงคราม

เมื่อตระหนักว่าการอยู่เฉยจะส่งผลให้ถูกตัดเส้นทางโดยญี่ปุ่น นายพล ไป๋ ฉงซี ซึ่งมีพื้นเพเป็นชาวกวางสี ได้เสนอขอให้รัฐบาลคณะชาติให้การสนับสนุน ซึ่งจอมทัพเจียงไคเชกได้ส่งหน่วยที่ 5 จากมณฑลหูหนานเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น

หน่วยที่ 5 เป็นหน่วยยอดเยี่ยมที่สุดในกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนและเป็นหน่วยจีนเพียงไม่กี่หน่วยที่มีรถถังและรถหุ้มเกราะ ทหารของหน่วยเป็นทหารผ่านศึกที่มีเคยผ่านการต่อสู้ก่อนหน้ากับกองทัพญี่ปุ่นมาก่อนและส่งผลให้ขวัญกำลังใจในการสู้รบสูง นายพลตู หยูหมิง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการหน่วยที่ 5 ส่งสองหน่วยงานเพื่อโจมตีช่องเขาคุนหลุนที่ยึดครองโดยญี่ปุ่น การโจมตีของหน่วยใหม่ที่ 22 จบลงด้วยการตัดกำลังเสริมของญี่ปุ่นออกจากด้านหลังและยังส่งผลให้พลเอกมะซะโอะ นาคามูระผู้บัญชาการของญี่ปุ่นเสียชีวิต[5]

ญี่ปุ่นตอบโต้ทันทีโดยส่งหน่วยยอดเยี่ยมของกองพลที่ 5 และกองพลที่ 21 ซึ่งได้เคยเข้าร่วมรบในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น, ที่มีฉายา "ดาบที่ไม่มีวันหัก". ต้องเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะถูกตัดออกอย่างสมบูรณ์กองทัพญี่ปุ่นจึงต้องพึ่งพากำลังทางอากาศเพื่อส่งเสบียงสำคัญก่อนที่พลเอกนาคามูระจะเสียชีวิต เขายอมรับในบันทึกประจำวันของเขาว่าความสามารถในการต่อสู้ของทหารจีนนั้นเหนือกว่ารัสเซียที่กองพลน้อยพบในแมนจูเรีย การรบครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งสำคัญครั้งแรกของกองทัพจีนนับตั้งแต่ยุทธการอู่ฮั่น เป็นผลให้กองทัพจีนมีขวัญกำลังใจและเห็นโอกาสที่จะสู้รบกับญี่ปุ่น

แกลเลอรี แก้


Notes แก้

  1. 1.0 1.1 S. C. M. Paine, (2012). The Wars for Asia, 1911-1949. Cambridge University Press. ISBN 9781107020696
  2. "中国王牌机械军全歼日寇一个旅团". Military.china.com. 2008-12-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Article: The Battle of Kunlun Pass http://baike.baidu.com/view/160789.htm?fromId=86375
  4. 4.0 4.1 "War Study: The Occupation of Nanning and the Failure of Kunlun". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.
  5. Dorn, Frank (1974). The Sino-Japanese War, 1937-41: From Marco Polo Bridge to Pearl Harbor. MacMillan. ISBN 0-02-532200-1.

อ้างอิง แก้

  • Hsu Long-hsuen and Chang Ming-kai, History of The Sino-Japanese War (1937–1945) 2nd Ed., 1971. Translated by Wen Ha-hsiung, Chung Wu Publishing; 33, 140th Lane, Tung-hwa Street, Taipei, Taiwan Republic of China. Pg. 311-318, Pg. 325-327,
  • Perry–Castañeda Library Map Collection, China 1:250,000, Series L500, U.S. Army Map Service, 1954- . Topographic Maps of China during the Second World War.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แผนที่ภูมิประเทศ แก้