ยุทธการขยับเหงือก

ยุทธการขยับเหงือก เป็นรายการวาไรตี้โชว์แนวตลกของเจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย เดิมออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2532 พิธีกรชายทุกคนจะมีฉายาขึ้นต้นด้วยคำว่า เสนา เช่น เสนาโค้ก, เสนาเปิ้ล, เสนาหอย, เสนาเพชร, เสนาลิง ฯลฯ และพิธีกรหญิงทุกคนจะมีฉายาขึ้นต้นด้วยคำว่า เลขา เช่น เลขาแหม่ม, เลขาเนสท์, เลขาน้ำ เป็นต้น ลักษณะรายการเป็นปล่อยมุกและการแกล้งดารารับเชิญ และมีการหักหลังดาราหรือหักหลังพิธีกรกันเอง มุกหักหลังนี้ได้เป็นต้นแบบของรายการสาระแนและฮาจะเกร็ง ในเวลาต่อมา

ยุทธการขยับเหงือก
ประเภทวาไรตี้โชว์แนวตลก (ยุคแรก - 5.0)
คอมเมดี้เกมโชว์
สร้างโดยวัชรี เพ็งเจริญ
ฐานวดี สถิตยุทธการ
ปิยดา ภูไทย
กำกับโดยทศพล ศรีสุคนธรัตน์
แสดงนำรายชื่อพิธีกร
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดยุทธการขยับเหงือก
ดนตรีแก่นเรื่องปิดยุทธการขยับเหงือก
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตถกลเกียรติ วีรวรรณ
นิพนธ์ ผิวเณร
สุธาสินี บุศราพันธ์
ระฟ้า ดำรงชัยธรรม
สมศรี พฤทธิพันธุ์
เดียว วรตั้งตระกูล
วรรณภา ภวเวช
ผู้อำนวยการสร้างรติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์
วัชระ แวววุฒินันท์
อัครเศวต หัสดิน
สรพงศ์ เอื้อชูชัย
กฤษฎิ์ ชูพินิจ
สถานที่ถ่ายทำเจ เอส แอล สตูดิโอ
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน30 นาที (พ.ศ. 2532 - 2535)
1 ชั่วโมง (พ.ศ. 2536 - 2540 และ พ.ศ. 2562 - 2563)
บริษัทผู้ผลิตเจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (พ.ศ. 2532 - 2540)
ช่องวัน 31 (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563)
ระบบภาพ16:9
ระบบเสียงสเตอริโอ
ออกอากาศ8 มกราคม พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2540
9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 –
5 เมษายน พ.ศ. 2563

เมื่อรายการถึงจุดอิ่มตัวและเสียงตอบรับของผู้ชมลดน้อยลง ทำให้รายการปิดตัวลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 หลังจากออกอากาศมายาวนานถึง 9 ปี

ในปี พ.ศ. 2562 ยุทธการขยับเหงือกกลับมาอีกครั้งในชื่อ ยุทธการขยับเหงือก 5.0 พร้อมกับเหล่าเสนาหน้าใหม่มาซึ่งเป็นนักแสดงละครเวที เช่น ปอ อรรณพ, เนสท์ นิศาชล, น้ำ กัญญ์กุลณัช, ปาล์ม ธัญวิชญ์ และส้วม สุขพัฒน์ โดยมี เสนาหอย - เกียรติศักดิ์ อุดมนาค เป็นหัวหน้าเสนาธิการคนใหม่ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.45 น. ทางช่องวัน 31 เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 [1] และยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

รูปแบบรายการ แก้

  • รูปแบบที่ 1 เป็นรายการวาไรตี้บันเทิงทุกวันอาทิตย์ โดยจะเน้นการสนทนาจากแขกรับเชิญเป็นหลัก โดยในช่วงท้ายจะมอบตุ๊กตายุทธการเป็นของที่ระลึก
  • รูปแบบที่ 2 เป็นรายการวาไรตี้โดยมีเหล่าแขกรับเชิญที่จะมาสร้างสีสันและเสียงหัวเราะกับละครในฉบับยุทธการฯ พร้อมกับการหักหลัง และในช่วงท้ายจะมอบตุ๊กตายุทธการเป็นของที่ระลึก
  • รูปแบบที่ 3 เป็นรายการวาไรตี้เหมือนรูปแบบที่ 2 พร้อมกับการหักหลังและการเอาคืนของคนที่หักหลังจากแขกรับเชิญ (เทปที่ 39 เป็นต้นไปเป็นรูปแบบทอล์คโชว์ ยังมีช่วงเอาคืนตามปกติ)

รูปแบบการเอาคืน แก้

  • รูปแบบที่ 1 แขกรับเชิญในรายการสามารถเลือกพิธีกรที่ต้องการเอาคืนอย่างละคน 1 เข้าไปในตู้แคบซูล ภายในตู้จะมีน้ำหวานซ่อนในตู้ เพื่อเป็นการราดตัวผู้ที่ถูกลงโทษเป็นการสิ้นสุดการเอาคืน
  • รูปแบบที่ 2 วงล้อเอาคืน แขกรับเชิญเป็นผู้กดปุ่มเพื่อสุ่มหาพิธีกรที่ต้องการเอาคืนอย่างละ 1 คน ไฟตกที่รูปพิธีกรคนไหนจะถูกลงโทษ หากไฟตกที่ เครื่องหมายคำถาม "?" แขกรับเชิญจะถูกลงโทษเอง โดยในการเอาคืนในรูปบบสาวน้อยตกน้ำ แขกรับเชิญจะต้องปาให้ตรงเป้าสีแดงให้ถูก ผู้ที่ถูกเลือกต้องตกจากเก้าอี้ หากปาไม่ถูก 3 ครั้งถือว่ารอด
  • รูปแบบที่ 3 แคบซูลแบบชัก พิธีกรทั้งหมดจะต้องเลือกแคบซูลด้วยตัวเองในที่นี้จะมีแป้งซ่อนอยู่ หากพิธีกรคนไหนดึงช้าสุดแป้งจะหล่นลงมาทันที
  • รูปแบบที่ 4 โยนเข้าเป้า แขกรับเชิญในรายการสามารถเลือกพิธีกรที่ต้องการเอาคืนอย่างละคน 1 เข้าไปในตู้แคบซูล เก้าอี้จะถูกเลื่อน แขกรับเชิญจะเป็นผู้โยนให้เข้าเป้า ตั้งแต่ 1 - 6 จะต้องโยนเข้าเป้าให้น้ำหวานราดลงมาที่ตัวผู้ที่ถูกลงโทษจนกว่าจนครบทั้ง 6 เป้า โดยไม่จำกัดเวลา
  • รูปแบบที่ 5 ฟรีสไตส์ ตั้งแต่เทปที่ 2 - 15 ของยุค 5.0 แขกรับเชิญจะเลือกพิธีกรที่ต้องการลงโทษตอนละ 2 คน โดยการลงโทษด้วยวิธีต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์
  • รูปแบบที่ 6 ปืนใหญ่ยุทธการ ในเทปที่ 16 - 41 ของยุค 5.0 แขกรับเชิญในรายการสามารถเลือกพิธีกรที่ต้องการเอาคืนได้ตอนละ 1 คน เพื่อลงโทษ โดยการใช้กระสุนยิงด้วยปืนใหญ่ยุทธการ ในกระสุนนั้นมี 2 นัด แบบลงโทษชนิดเบา และ แบบลงโทษชนิดหนัก ซ่อนอยู่ แขกรับเชิญจะเป็นผู้เลือกจากถุงมือปริศนา ทั้ง 2 ข้าง โดยจะต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่ง จะมีเลข 1 และ 2 ซ่อนอยู่ (เทปที่ 22 - 23 โดยให้ผู้ที่ถูกลงโทษเลือกกระสุนเอง และ เทปที่ 24 เป็นต้นไป ไม่มีการเลือกกระสุน) โดยแขกรับเชิญเป็นผู้ยิงกระสุนใส่ผู้ที่ถูกลงโทษ เป็นการสิ้นสุดลง

ลำดับรุ่นของเสนาธิการ แก้

รุ่นที่ 1 แก้

รุ่นที่ 2 แก้

รุ่นที่ 3 แก้

รุ่นที่ 4 แก้

รุ่นที่ 5 แก้

เพลงไตเติ้ลรายการ แก้

  • รูปแบบที่ 1 นำมาจากเพลง Noche Corriendo ของ Naoya Matsuoka
  • รูปแบบที่ 2 เป็นเพลงแนว มาร์ช เพลงนี้เนื้อร้องและทำนองประพันธ์โดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ และ Forward เป็นผู้เรียบเรียงดนตรี และเป็นเพลงที่คุ้นหูที่สุดของรายการ
  • รูปแบบที่ 3 [2]

อ้างอิง แก้

  1. รายการในตำนาน "ยุทธการขยับเหงือก" คืนจอ!