ยุคสารสนเทศ หรือยุคคอมพิวเตอร์ ยุคดิจิทัล หรือยุคสื่อใหม่ เป็นยุคสมัยในประวัติศาตร์มนุษย์ซึ่งมีลักษณะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมเดิมตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม มาเป็นเศรษฐกิจที่อิงเทคโนโลยีสารสนเทศ การเริ่มต้นของยุคสารสนเทศสัมพันธ์กับการปฏิวัติดิจิทัล[1][2] บทนิยามของดิจิทัลหรือสารสนเทศยังเปลี่ยนแปลงตามเวลาเมื่อเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ผู้ใช้ วิธีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์และสิ่งประดิษฐ์อื่นเข้าสู่เขตการวิจัย การพัฒนาและการออกวางจำหน่ายตลาด

ระหว่างยุคสารสนเทศ มีปรากฏการณ์ที่อุตสาหกรรมดิจิทัลสร้างสังคมที่อาศัยความรู้แวดล้อมด้วยเศรษฐกิจโลกไฮเทคที่มีอิทธิพลต่อวิธีที่การผลิตและภาคบริการดำเนินการในวิธีที่มีประสิทธิภาพและสะดวก ในสังคมะาณิชย์ อุตสาหกรรมสารสนเทศสามารถทำให้ปัจเจกสำรวจความต้องการส่วนบุคคลได้ ฉะนั้นจึงทำให้กระบวนวิธีตัดสินใจสำหรับทำธุรกิจง่ายขึ้นและลดค่าใช้จ่ายสำหรับทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อ ผู้เข้าร่วมเศรษฐกิจนี้ยอมรับอย่างล้นหลามตลอดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดเพื่อความมุ่งหมายทางประสิทธิพลัง แล้วมีการส่งเสริมฌแพาะถิ่นซึ่งสิ่งสูงใจทางเศรษฐกิจใหม่ เช่น เศรษฐกิจความรู้[3]

ยุคสารสนเทศเกิดจากการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าการผลิตโดยลดขนาดคอมพิวเตอร์ (computer microminiaturization)[4] วิวัฒนาการเทคโนโลยีชีวิตประจำวันและการจัดระเบียบสังคมนี้นำไปสู่ข้อเท็จจริงว่าการปรับให้สารสนเทศและกระบวนการสื่อสารทันสมัยกลายเป็นกำลังขับเคลื่อนวิวัฒนาการทางสังคม[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Castells, M. (1999). The Information Age, Volumes 1-3: Economy, Society and Culture. Cambridge (Mass.); Oxford: Wiley-Blackwell.
  2. 2.0 2.1 Hilbert, M. (2015). Digital Technology and Social Change [Open Online Course at the University of California] (freely available). Retrieved from https://canvas.instructure.com/courses/949415
  3. "Technology and Workforce: Comparison between the Information Revolution and the Industrial Revolution" by Mathias Humbert, University of California, Berkeley
  4. Kluver, Randy. "Globalization, Informatization, and Intercultural Communication". United Nations Public Administration Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-19. สืบค้นเมื่อ 18 April 2013.