ยามาโตโกริยามะ

นครในจังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น

ยามาโตโกริยามะ (ญี่ปุ่น: 大和郡山市โรมาจิYamatokōriyama-shi) เป็นนครที่ตั้งในจังหวัดนาระ ภูมิภาคคันไซ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ใกล้กับนครโอซากะ โดยนั่งรถไฟไปประมาณ 30 นาที ยามาโตโกริยามะเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งปลาทอง"

ยามาโตโกริยามะ

大和郡山市
ทิวทัศน์นครยามาโตโกริยามะ มองจากปราสาทโคริยามะ
ทิวทัศน์นครยามาโตโกริยามะ มองจากปราสาทโคริยามะ
ธงของยามาโตโกริยามะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของยามาโตโกริยามะ
ตรา
ที่ตั้งของยามาโตโกริยามะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดนาระ
ที่ตั้งของยามาโตโกริยามะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดนาระ
แผนที่
ยามาโตโกริยามะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ยามาโตโกริยามะ
ยามาโตโกริยามะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 34°39′N 135°47′E / 34.650°N 135.783°E / 34.650; 135.783
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
จังหวัด จังหวัดนาระ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีคิโยชิ อูเอดะ (上田 清)
พื้นที่
 • ทั้งหมด42.69 ตร.กม. (16.48 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023)
 • ทั้งหมด81,704 คน
 • ความหนาแน่น1,900 คน/ตร.กม. (5,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
ที่อยู่สำนักงาน248-4 Kitakōriyama-chō, Yamatokōriyama-shi, Nara-ken
639–1198
เว็บไซต์www.city.yamatokoriyama.nara.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้เบญจมาศ, ยามะซากูระ
ต้นไม้สนดำญี่ปุ่น, หลิว

ภูมิศาสตร์

แก้

เทศบาลข้างเคียง

แก้

ยามาโตโกริยามะมีอาณาเขตติดกับเทศบาลที่อยู่ข้างเคียง ดังนี้

เศรษฐกิจ

แก้
 
ฝาปิดท่อถนนรูปปลาทอง

ยามาโตโกริยามะเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งปลาทอง"[1] เนื่องจากเป็นเมืองที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยมีผู้ทำฟาร์มปลาทองประมาณ 300 ครอบครัว และผลผลิตปลาทองโดยเฉลี่ยในแต่ละปีของเมืองนี้อยู่ที่ 60 ล้านตัว (ข้อมูล พ.ศ. 2545)[2] ถือว่าเป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่นรองจากนครฮามามัตสึเท่านั้น

โดยการเพาะเลี้ยงปลาทองของประชากรในนครยามาโตโกริยามะ สืบทอดกันมาไม่ต่ำกว่า 500 ปี หลังสงครามภายในประเทศ โดยประชากรที่ยึดอาชีพเพาะเลี้ยงปลาทองส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากซามูไรของโชกุนโทกูงาวะ อิเอยาซุ

ปลาทองส่วนใหญ่ที่เพาะขยายพันธุ์จากที่นี่ จะเป็นปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมและได้รับความนิยม เนื่องจากมีการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์กันมาอย่างต่อเนื่อง โดยตระกูลที่มีบทบาทมากในการเพาะพันธุ์ปลาทองที่นี่คือตระกูลชิมาดะ

ถนนหนทาง ตลอดจนป้ายบอกทางสาธารณะต่าง ๆ ในเมืองยามาโตโกริยามะ มักทำเป็นรูปปลาทอง อันเป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง

อ้างอิง

แก้
  1. Rocketnews Retrieved 18 June 2016
  2. นิตยสาร fish zone vol.3 no.26 (พ.ศ. 2545)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้