ยอดเขาเคทู (อังกฤษ: K2; บัลตี: Kechu, Ketu; อูรดู: کے ٹو) เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากยอดเขาเอเวอเรสต์ มีความสูง 8,611 เมตร (28,251 ฟุต) เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาการาโกรัมซึ่งเชื่อมต่อกับแนวเทือกเขาหิมาลัยทางด้านตะวันตก และตั้งอยู่ในบริเวณรอยต่อระหว่างเขตกิลกิต-บัลติสถานของประเทศปากีสถาน กับเทศมณฑลปกครองตนเองตัชคูร์กันทาจิกในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของประเทศจีน

เคทู
Mount Godwin-Austen
K2, ฤดูร้อนในปีค.ศ.2006
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล

Ranked 2nd
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
4,020 เมตร (13,189 ฟุต) [1]
Ranked 22nd
รายชื่อEight-thousander
Country high points
Seven Second Summits
Ultra
พิกัด35°52′57″N 76°30′48″E / 35.88250°N 76.51333°E / 35.88250; 76.51333[2]
ชื่อ
ชื่อท้องถิ่น
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เคทูตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
เคทู
เคทู
Location of K2
เคทูตั้งอยู่ในกิลกิต-บัลติสถาน
เคทู
เคทู
เคทู (กิลกิต-บัลติสถาน)
เคทูตั้งอยู่ในซินเจียง
เคทู
เคทู
เคทู (ซินเจียง)
เคทูตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
เคทู
เคทู
เคทู (ทวีปเอเชีย)
ที่ตั้งบัลติสถาน, กิลกิต-บัลติสถาน, ปากีสถาน
Tashkurgan, เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์, จีน, China–Pakistan border
ประเทศปากีสถาน
เทือกเขาเทือกเขาการาโกรัม
การพิชิต
พิชิตครั้งแรก31 กรกฎาคม ค.ศ.1954
Achille Compagnoni
Lino Lacedelli
เส้นทางง่ายสุดอาบรุซซีสเปอร์

รัฐบาลจีนใช้ชื่อของเคทูว่า Qogir ซึ่งเป็นคำที่มาจากนักสำรวจตะวันตก ใช้เรียกภูเขาแห่งนี้โดยตั้งชื่อตามภาษาท้องถิ่น ว่า Chogori (ภาษาบัลตี โดย Chhogo แปลว่า ใหญ่ ri แปลว่า ภูเขา)

สภาพแวดล้อมและภูมิประเทศ แก้

ยอดเขาเคทูมีความโดดเด่นในเรื่องของความสูงและความชัน โดยตัวภูเขาเป็นทรงพีระมิดที่มีด้านทั้งสี่ที่ชันมาก โดยด้านเหนือของภูเขาจะมีความชันมากที่สุด โดยมีความสูงถึง 3,200 เมตรจากธารน้ำแข็งเคทูในระยะทางในแนวราบเพียง 3 กิโลเมตร หรือมีความชันเกือบ 47 องศา โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละด้านจะมีความสูง 2,800 เมตรในระยะทางแนวราบประมาณ 4 กิโลเมตรหรือความชันกว่า 35 องศา ซึ่งเป็นองศาความชันที่ไม่มีภูเขาใดในโลกจะเทียบได้ จึงทำให้เคทูเป็นภูเขาที่ชันที่สุดและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เคทูปีนได้ยากมาก

เส้นทางการปีนและความยากของแต่ละเส้นทาง แก้

เส้นทางการปีนสู่ยอดเขาเคทูมีหลายเส้นทางด้วยกัน ซึ่งมีความยากง่ายแตกต่างกันไป แต่ทุกเส้นทางจะมีความยากที่เหมือน ๆ กัน คือ

  • สภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากความสูง โดยที่ระดับความสูงมากกว่า 8,000 เมตรจะมีระดับออกซิเจนเพียงหนึ่งในสามของระดับออกซิเจนที่พื้นราบ
  • สภาพอากาศที่แปรปรวนได้ง่ายและรุนแรง
  • เส้นทางที่ชัน โล่ง ซึ่งทำให้การหันหลังกลับทำได้ยาก โดยเฉพาะในระหว่างพายุ

เส้นทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีดังนี้

  • อาบรุซซีสเปอร์ เป็นเส้นทางที่เป็นที่นิยมอย่างมาก ซึ่งถูกสำรวจโดยเจ้าชายลุยจี อามาเดโอ ดุ๊กแห่งอาบรุซซี ในปี พ.ศ. 2452 โดยเส้นทางนี้เป็นสันเขาทางด้านใต้ของภูเขา โดยการปีนจะเริ่มที่ระดับความสูง 5,400 เมตร
  • นอร์ทริดจ์ เป็นเส้นทางที่ปีนจากฝั่งจีน เป็นเส้นทางที่ไม่นิยมนัก เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ยากมาก ที่ต้องข้ามแม่น้ำและธารน้ำแข็งที่เป็นอันตรายมาก
  • นอร์ทเวสต์ริดจ์
  • เซาท์เฟซ เป็นเส้นทางที่อันตรายที่สุดและยากที่สุด
  • เซาท์-เซาท์อีสต์สเปอร์
  • นอร์ทอีสต์ริดจ์ เป็นเส้นทางที่ยาวและขรุขระมาก
  • นอร์ทเวสต์เฟซ

ประวัติการปีน แก้

ภูเขาเคทูถูกสำรวจครั้งแรกโดยคณะนักสำรวจชาวยุโรปในปี พ.ศ. 2399 ที่มีเฮนรี เฮฟเวอร์แชม กอดวิน-ออสเตนเป็นผู้นำ โดยทอมัส มอนต์กอเมอรี หนึ่งในคณะสำรวจเป็นผู้ตั้งชื่อเคทู เนื่องจากเป็นยอดที่สองของเทือกเขาการาโกรัม ยอดเขาอื่น ๆ ก็ถูกตั้งชื่อตามวิธีนี้เช่นกัน ได้แก่ เควัน เคทรี เคโฟร์ และเคไฟว์ แต่ภายหลังได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแมเชอร์บรูม, บรอดพีก, แกเชอร์บรูม 2 และแกเชอร์บรูม 1 ตามลำดับ คงเหลือแต่เคทูเท่านั้นที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนชื่อ

ความพยายามในการพิชิตยอดเขาเคทูเริ่มในปี พ.ศ. 2445 โดยออสการ์ เอกเคนสไตน์ และอะเลสเตอร์ โครลีย์ แต่ภายหลังจากที่ได้พยายามถึง 5 รอบและใช้เงินไปเป็นจำนวนมาก คณะสำรวจก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการพิชิตยอดเขาแต่อย่างใด สาเหตุของความล้มเหลวน่ามาจากการเตรียมพร้อมร่างกายที่ยังไม่ดีพอ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล และสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย โดยคณะสำรวจใช้เวลามากถึง 68 วันบนยอดเขาเคทู (ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดในการอยู่บนที่ที่มีระดับความสูงมาก) แต่มีแค่ 8 วันเท่านั้นที่สภาพอากาศแจ่มใส

ความพยายามต่าง ๆ ที่ตามมาภายหลังทั้งในปี พ.ศ. 2452, พ.ศ. 2477, พ.ศ. 2481, พ.ศ. 2482 และ พ.ศ. 2496 ต่างก็ประสบกับความล้มเหลวทั้งหมด โดยคณะสำรวจในปี พ.ศ. 2452 ที่นำโดยเจ้าชายลุยจี อะมาเดโอ ดยุกแห่งอาบรุซซี สามารถไปถึงระดับความสูงที่ 6,666 เมตร ซึ่งปัจจุบันนี้ สถานที่นี้เป็นที่รู้จักกันในนามว่าอาบรุซซีสเปอร์ (Abruzzi Spur) หรือสันเขาอาบรุซซี (Abruzzi Ridge) โดยปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางมาตรฐานทางหนึ่ง

ในที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ยอดเขาเคทูก็ถูกพิชิตลงได้โดยคณะนักสำรวจชาวอิตาลีที่นำโดยอาร์ดีโต เดซีโอ อย่างไรก็ตามสมาชิกของกลุ่มเพียงแค่ 2 คนเท่านั้นที่สามารถไปถึงยอดเขาได้ที่สุด คือ ลีโน ลาเชเดลลี และอาร์กิลเล กอมปัญญอนีสมาชิกในคณะคนอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้แก่ ผู้พันโมฮัมมัด อะตา-อุลละห์ ชาวปากีสถาน โดยผู้พันเคยเข้าร่วมกับคณะสำรวจชาวอเมริกันในปีก่อนหน้า ที่ต้องล้มเหลวเนื่องจากอาร์ต จิลคีย์ สมาชิกคนสำคัญของคณะสำรวจเสียชีวิตจากพายุ

ยอดเขาเคทูไม่ถูกพิชิตอีกเลยอีกกว่า 23 ปี จนกระทั่งในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2520 คณะสำรวจชาวญี่ปุ่นที่นำโดยอิจิโระ โยะชิซะวะ ก็สามารถพิชิตยอดเขาได้อีกครั้งหนึ่ง โดยสมาชิกในทีมยังรวมไปถึงอัชรัฟ อามาน นักปีนเขาคนแรกของปากีสถาน โดยคณะนี้ได้ใช้เส้นทางอาบรุซซีสเปอร์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้โดยคณะสำรวจชาวอิตาลีที่พิชิตยอดเขามาก่อนหน้านี้

ในปี พ.ศ. 2521 คณะสำรวจชาวอเมริกันก็สามารถพิชิตยอกเขาได้เป็นครั้งที่สาม โดยใช้เส้นทางที่ยาวกว่าและขรุขระกว่าเส้นทางเดิม ที่เรียกว่าอีสต์ริดจ์ โดยคณะสำรวจชาวอเมริกันคณะนี้นำโดยนักปีนเขาผู้มีชื่อเสียงนามว่า เจมส์ วิตเทกเกอร์ โดยคณะที่สามารถขึ้นถึงยอด ได้แก่ หลุยส์ ไรชาดต์, เจมส์ วิกไวร์, จอห์น รอสเกลลีย์ และริก ริดจ์เวย์ โดยวิกไวร์ต้องเผชิญกับการค้างแรมกลางแจ้งที่ความสูงต่ำกว่ายอดเพียง 150 เมตร โดยการค้างแรมครั้งนี้เป็นการค้างแรมกลางแจ้งที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยการพิชิตยอดเขาครั้งนี้มีความหมายทางจิตใจต่อคณะสำรวจชาวอเมริกันชุดนี้มาก โดยเห็นว่าเป็นการสานต่อภารกิจให้สำเร็จต่อจากคณะสำรวจอเมริกาก่อนหน้าที่เริ่มไว้ตั้งแต่เมื่อ 40 ก่อนในปี พ.ศ. 2481 ให้สำเร็จลุล่วงในที่สุด

การพิชิตยอดเขาเคทูที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง คือ การพิชิตยอดเขาโดยคณะสำรวจชาวญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้เส้นทางนอร์ทริดจ์ที่มีความยากมาก โดยคณะสำรวจนี้ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมการปีนเขาแห่งญี่ปุ่น โดยคณะสำรวจแบ่งออกเป็น 2 ชุด โดยชุดแรกซึ่งนำโดยอิซะโอะ ชิงไก และมะซะสึโงะ โคะนิชิ สามารถพาสมาชิกอีก 3 คน คือ นะโอะเอะ ซะกะชิตะ, ฮิโระชิ โยะชิโนะ และยุกิฮิโระ ยะนะงิซะวะ พิชิตยอดเขาในวันที่ 14 สิงหาคม แต่เป็นที่น่าเศร้าว่าในระหว่างการปีนลงจากยอดเขา ยะนะงิซะวะพลัดตกจากเขาและเสียชีวิต ส่วนทีมชุดที่สองซึ่งประกอบไปด้วย 4 คนก็สามารถพิชิตยอดเขาได้ในวันต่อมา

แม้ว่ายอดเขาเอเวอเรสต์จะมีความสูงมากกว่ายอดเขาเคทู แต่เคทูถูกพิจารณาว่าปีนยากกว่า สาเหตุเป็นเพราะสภาพอากาศที่แปรปรวนง่าย และระยะทางระหว่างตีนเขาถึงยอดเขาที่ยาวกว่า โดยนักปีนเขาหลายคนถือว่าเคทูเป็นยอดเขาที่ปีนยากที่สุดและอันตรายที่สุดในโลก โดยเคทูมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่พยายามพิชิตยอดเขากว่าร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับเอเวอเรสต์ที่มีอัตราการเสียชีวิตที่ร้อยละ 9 (อย่างไรก็ตามยอดเขาที่มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุด คือ ยอดเขาอันนะปุรณะ (ความสูง 8,091 เมตร) ในเทือกเขาหิมาลัย ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 40) ทำให้เคทูมีชื่อเล่นว่า "ยอดเขาดุร้าย" (Savage Mountain) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 มีคนที่สามารถพิชิตยอดเขาได้เพียง 246 คน เทียบกับ 2,238 คนที่สามารถพิชิตเอเวอเรสต์ได้ (เหตุผลหนึ่งก็อาจะเป็นเพราะมีคนนิยมไปปีนยอดเขาเอเวอเรสต์มากกว่าเช่นกัน) โดยจำนวนผู้เสียชีวิตที่เคทูมีสูงถึง 56 คน โดยใน พ.ศ. 2529 มีผู้คนเสียชีวิตสูงถึง 13 คนจากการปีนครั้งเดียว ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่าโศกนาฏกรรมเคทู

ตำนานอีกอย่างหนึ่งของเคทูคือ การเป็นยอดเขาต้องสาปสำหรับสตรี โดยวันดา รุตคีเอวิช ชาวโปแลนด์ผู้ที่เป็นสตรีคนแรกที่สามารถพิชิตยอดเขาเคทูและผู้หญิงอีก 5 คนที่สามารถพิชิตยอดเขาได้ต่างก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา โดย 3 คนในจำนวนนั้นเสียชีวิตระหว่างการปีนลง และรุตคีเอวิชเสียชีวิตในระหว่างการปีนยอดเขากันเจนชุงคา ใน พ.ศ. 2535 อย่างไรก็ตามคำสาปนี้ถูกทำลายได้ใน พ.ศ. 2547 เมื่อเอดูร์เน ปาซาบัน ชาวสเปนสามารถพิชิตยอดเขาและสามารถกลับมาได้อย่างปลอดภัย และนีเวส เมโรอี ชาวอิตาลี และยุกะ คะมะสึ ชาวญี่ปุ่นต่างก็ประสบความสำเร็จในการพิชิตยอดเขาใน พ.ศ. 2549

โดยตลอดประวัติศาสตร์ การปีนยอดเขาเคทูมักจะเป็นการปีนโดยไม่ใช้ออกซิเจนช่วย และใช้อุปกรณ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา การใช้ออกซิเจนได้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

อ้างอิง แก้

  1. "K2". Peakbagger.com.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ peaklist

35°52′57″N 76°30′48″E / 35.88250°N 76.51333°E / 35.88250; 76.51333{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้