ยศตำรวจไทย
ยศตำรวจไทย เริ่มมีการใช้งานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด โดยปัจจุบันยศตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติถูกกำหนดโดยพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565[1]
ในขณะที่ตำรวจประเภทอื่นของไทยคือตำรวจรัฐสภา[2] และตำรวจศาล ไม่มียศ มีเพียงตำแหน่งตามรูปแบบข้าราชการพลเรือน เว้นแต่ว่าได้รับการแต่งตั้งยศก่อนที่จะมาเป็นตำรวจรัฐสภา และตำรวจศาล และยังคงชื่อเรียกยศก่อนชื่ออยู่
ประวัติ
แก้ในช่วงแรกของกิจการตำรวจไทยนั้น ได้ใช้การถ่ายโอนทหารบกไปดำรงตำแหน่งในตำรวจ
ก่อน พ.ศ. 2458 ใช้ยศร่วมกับทหารบก
แก้กิจการตำรวจเดิมทีเป็นรูปแบบของตำรวจวัง หรือตำรวจหลวง สำหรับรักษาความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์เป็นการเฉพาะ ต่อมาช่วงรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2405) ได้โปรดเกล้าให้ตั้งกองตำรวจตามรูปแบบของตะวันตกขึ้นครั้งแรก โดยให้กัปตัน เอส.เจ.เบิร์ด เอมส์ ต่อมาดำรงตำแหน่งหลวงรัฐยาภิบาลบัญชา เป็นผู้บังคับบัญชาโดยประชาชนในสมัยนั้นเรียกขานกันว่าโปลิศ มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยให้กับบ้านเมือง แต่งกายตามรูปแบบของอังกฤษ และได้รับการไว้วางใจจากรัชกาลที่ 4 ให้สามารถพกพาอาวุธเข้าไปในเขตพระราชฐานชั้นในได้ และพระราชทานตราแผ่นดินประดับไว้บนหน้าหมวก[3]
ต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้มีการก่อตั้งกองตระเวนขึ้นมาประมาณปี พ.ศ. 2440 ในเวลานั้นยังไม่มีเครื่องบ่งบอกเครื่องหมายยศตำรวจที่ชัดเจน ซึ่งเริ่มมีการกำหนดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440[4]
ตำรวจภูธร พ.ศ. 2440
แก้เครื่องหมายยศของนายตำรวจภูธรชั้นสัญญาบัตร[4] แบ่งออกเป็น
- นายร้อยตรี
- นายร้อยตรีประจำการ ประดับจักรชุบทองติดอยู่ปลายอินทรธนู อินทรธนูละ 1 จักร
- นายร้อยตรีพนักงาน ประดับจักรชุบทองติดอยู่กลางอินทรธนู อินทรธนูละ 1 จักร
- นายร้อยโท
- นายร้อยโทประจำการ ประดับจักรชุบทองติดเรียงจากปลายอินทรธนูมากลางอินทรธนู อินทรธนูละ 2 จักร
- นายร้อยโทพนักงาน ประดับจักรชุบทองติดเรียงบนปลายอินทรธนูจากด้านหน้ามาตรงกลาง อินทรธนูละ 2 จักร
- นายร้อยเอก
- นายร้อยเอกประจำการ ประดับจักรชุบทองติดเรียงกันจากปลายอินทรธนูมากลางและพาดไปทางต้นบ่า อินทรธนูละ 3 จักร
- นายร้อยเอกพนักงาน ประดับจักรชุบทองติดเรียงกันบนปลายอินทรธนูจากหน้าอินทรธนูไปด้านหลังอินทรธนู อินทรธนูละ 3 จักร
- ขณะที่นายพันตรี นายพันโท นายพันเอก ใช้รูปแบบเดียวกัน แต่มีแถบเงินกว้าง 1 เซนติเมตรทาบกลางอินทรธนูตามแนวความยาว
จากนั้นในปี พ.ศ. 2452 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกาย โดยมีการระบุการแต่งกลายและเครื่องหมายของแต่ละยศ[4] ได้แก่
- จ่านายสิบ
- จ่านายสิบประจำการ ใช้สังกะสีตัดเป็นแผ่นยาวตามความยาวอินทรธนู ย่อมุมสองมุมทางโคนอินทรธนูและหุ้มด้วยผ้าสักหลาดสีเทา ประดับหมายเลขตามราบทหารบกบนปลายอินทรธนูทั้ง 2 ข้าง
- จ่านายสิบพนักงานยกกระบัตรคลัง ใช้สังกะสีตัดแผ่นย่อมุม 4 มุม หุ้มด้วยผ้าสักหลาดสีบานเย็นติดขวางอินทรธนู มีหมายเลขตามทหารราบบกประดับกลางอินทรธนูทั้ง 2 ข้าง
- จ่านายสิบพนักงานฟังคดี สังกัดกองอัยการตำรวจภูธร ใช้สังกะสีตัดแผ่นย่อมุม 4 มุม หุ้มด้วยผ้าสักหลาดสีเม็ดมะปรางติดขวางบ่า มีหมายเลขตามทหารราบบกประดับกลางอินทรธนูทั้ง 2 ข้าง
- นายพัน และนายร้อย กองบัญชาการตำรวจภูธรกรุงเทพฯ โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร และที่ประจำการตามมณฑลหัวเมืองต่าง ๆ
- นายพันและนายร้อยประจำการ
- ประดับตราพระเกี้ยวชุบทองติดที่พับคอเสื้อบริเวณด้านหน้า 1 คู่
- อินทรธนู ใช้อินทรธนูตามข้างต้น แต่ให้ใช้ผ้าสักหลาดสีเทา
- เครื่องหมายยศ
- นายพันตรี นายร้อยตรี ประดับจักรชุบทองบนปลายอินทรธนู อินทรธนูละ 1 จักร
- นายพันโท นายร้อยโท ประดับจักรชุบทอง 2 จักรคู่กันบนปลายอินทรธนู อินทรธนูละ 2 จักร
- นายพันเอก นายร้อยเอก ประดับจักรชุบทอง 2 จักรคู่กันบนปลายอินทรธนู และประดับบนต้นอินทรธนูอีก 1 จักร อินทรธนูละ 3 จักร
- นายพันนายร้อยพนักงาน
- ประดับดอกจันชุดทองติดที่พับคอเสื้อบริเวณด้านหน้า 1 คู่
- อินทรธนู
- พนักงานคลังเงิน ใช้อินทรธนูตามข้างต้น แต่ให้ใช้ผ้าสักหลาดสีน้ำเงินแก่
- พนักงานยกกระบัตร ใช้อินทรธนูตามข้างต้น แต่ให้ใช้ผ้าสักหลาดสีเม็ดมะปราง
- เครื่องหมายยศ
- นายพันตรี นายร้อยตรี ประดับจักรชุบทองบนปลายอินทรธนู อินทรธนูละ 1 จักร
- นายพันโท นายร้อยโท ประดับจักรชุบทอง 2 จักรคู่กันบนปลายอินทรธนู อินทรธนูละ 2 จักร
- นายพันเอก นายร้อยเอก ประดับจักรชุบทอง 2 จักรคู่กันบนปลายอินทรธนู และประดับบนต้นอินทรธนูอีก 1 จักร อินทรธนูละ 3 จักร
- นายพันและนายร้อยประจำการ
จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น พบว่ายศของตำรวจในเวลานั้นยังยืมคำมาใช้จากทหารบก ยังไม่มีการนำคำว่าตำรวจเข้ามาใช้งานในการเรียกยศ
ในปี พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้ ยุบรวมกรมพลตระเวนและกรมตำรวจภูธร เข้าด้วยกันกัน และมีการกำหนดการแต่งกายตามพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวตำรวจภูธร พุทธศักราช 2458[4]
พ.ศ. 2458 พระราชทานชั้นยศตำรวจ
แก้แต่เดิมได้มีการโอนทหารไปรับราชการเป็นตำรวจและใช้ยศทหารบกสำหรับตำรวจ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการกำหนดให้มียศตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2458[5] เนื่องจากการแต่งตั้งและกระจายกองตำรวจภูธรออกไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศในทุก ๆ มณฑล ซึ่งขณะนั้นตำรวจภูธรเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงมหาดไทย จึงได้มีการพระราชทานลำดับชั้นยศของตำรวจเองเป็นครั้แรก ได้แก่
- นายพลตำรวจเอก
- นายพลตำรวจโท
- นายพลตำรวจตรี
- นายพันตำรวจเอก
- นายพันตำรวจโท
- นายพันตำรวจตรี
- นายร้อยตำรวจเอก
- นายร้อยตำรวจโท
- นายร้อยตำรวจตรี
- นายดาบตำรวจ
- จ่านายสิบตำรวจ
- นายสิบตำรวจเอก
- นายสิบตำรวจโท
- นายสิบตำรวจตรี
เครื่องหมายยศ
แก้การใช้งานเครื่องหมายยศรูปแบบดังภาพนี้มีการใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2458-2475[4] โดยแบ่งเป็น
- ชั้นนายสิบ ใช้เป็นบั้งประดับที่แขนเสื้อด้านซ้ายเหนือจากข้อศอก มีตราครุฑประดับอยู่เหนือบั้ง[4]
- นายสิบตำรวจตรี ติด 1 บั้ง
- นายสิบตำรวจโท ติด 2 บั้ง
- นายสิบตำรวจเอก ติด 3 บั้ง
- จ่านายสิบตำรวจ ติด 4 บั้ง
- ชั้นนายร้อย นายพัน และนายพล ให้ประดับจักรเงินทับบนแผ่นอินทรธนูตามลำดับยศ[4]
- นายร้อยตำรวจตรี นายพันตำรวจตรี นายพลตำรวจตรี ติด 1 จักร
- นายร้อยตำรวจโท นายพันตำรวจโท นายพลตำรวจโท ติด 2 จักร
- นายร้อยตำรวจเอก นายพันตำรวจเอก นายพลตำรวจเอก ติด 3 จักร
เครื่องหมายตำแหน่ง
แก้เครื่องหมายตำแหน่งหากประจำการอยู่ตำรวจภูธรให้ติดพระมหามงกุฎสีเงินที่คอเสื้อ หากอยู่กรมกลางให้ประดับพระมหามงกุฎสีเงินที่กลางอินทรธนู หากสังกัดตามหัวเมืองต่าง ๆ หรือภูธรให้ประดับเลขหมายมณฑลกลางอินทรธนู ขณะที่นายสิบพลตำรวจให้ประดับหมายเลขมณฑลบริเวณปลายอินทรธนูตรงกลางของเส้นตามความกว้าง[4]
-
อินทรธนูนักเรียนนายร้อยตำรวจนครบาล
-
นายสิบตำรวจเอกนครบาล
-
นายสิบตำรวจเอกภูธร
-
จ่านายสิบตำรวจภูธร
-
นายสิบตำรวจโทนครบาล
ต่อจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับยศตำรวจเป็นระยะ[4] คือ
- พ.ศ. 2461 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม คือพลตำรวจชั้นหนึ่ง ติดบั้งเล็กสำหรับประดับแขนเสื้อข้างซ้ายเหนือศอก และตำรวจแผนกพนักงานยกกระบัตรและคลังเงินเปลี่ยนไปใช้เครื่องหมายดอกจันเงินแทนพระมหามงกุฎ
- พ.ศ. 2467 ได้ยกเลิกอินทรธนูแพทย์ตำรวจและปรับไปใช้ตามเหล่านครบาลหรือภูธร โดยพื้นที่ล่างเป็นสาบสีเขียวตั้งแต่คอไปหาไหล่
- พ.ศ. 2471 แก้ไขอินทรธนูนายดาบตำรวจ โดยเพิ่มแถบเงินกว้าง 0.5 เซนติเมตร พาดกลางตามแนวยาวอินทรธนู
พ.ศ. 2475 เปลี่ยนแปลงการปกครอง
แก้ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการวางแผนในการก่อตั้งกรมตำรวจ และเปลี่ยนชื่อจากกรมตำรวจภูธรให้เป็นกรมตำรวจต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการกำหนดยศตำรวจตามพระราชบัญญัติ โดยแบ่งเป็น 2 ลำดับ[6] ได้แก่
- สัญญาบัตร
- นายพลตำรวจเอก
- นายพลตำรวจโท
- นายพลตำรวจตรี
- นายพันตำรวจเอก
- นายพันตำรวจโท
- นายพันตำรวจตรี
- นายร้อยตำรวจเอก
- นายร้อยตำรวจโท
- นายร้อยตำรวจตรี
- ประทวน
- นายดาบตำรวจ
- จ่านายสิบตำรวจ
- นายสิบตำรวจเอก
- นายสิบตำรวจโท
- นายสิบตำรวจตรี
โดยตำรวจสัญญาบัตรนั้นจะได้รับด้วยการประกาศในพระบรมราชโองการ แต่งตั้งตามลำดับชั้นในกฎหมาย ยกเว้นแต่จะทรงโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ และการแต่งตั้งยศชั่วคราวเป็นอำนาจตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขณะที่นายตำรวจชั้นประทวนแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[6]
เครื่องหมายยศ พ.ศ. 2477-2492
แก้สำหรับเครื่องหมายยศในช่วง พ.ศ. 2477 ถึงปี พ.ศ. 2478 ตามพระราชบัญยัติเครื่องแบบตำรวจ พ.ศ. 2477 ใช้งานระหว่างวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2477 ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 และเครื่องหมายแสดงยศในช่วง พ.ศ. 2478 ถึงปี พ.ศ. 2492 กำหนดตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 11 ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พ.ศ. 2477 (ฉบับที่ 2) เริ่มใช้งานระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ถือเป็นการใช้งานที่ยาวที่สุดช่วงหนึ่ง จะประกอบไปด้วย[4]
- พลตำรวจอาสาสมัคร ให้ประดับอักษร "อ" ทำจากโลหะสีเงินเหนือกระเป๋าด้านซ้าย เหนือจากหมายเลขประจำตัว
- ชั้นนายสิบตำรวจ ให้ประดับบั้งพื้นสีกากี บั้งทำจากผ้าสักหลาดสีขาว เย็บติดกับแขนเสื้อเหนือจากข้อศอกด้านซ้าย หันมุมลงด้านล่าง ยาวจากมุมข้างละ 5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร
- นายสิบตำรวจตรี 1 บั้ง
- นายสิบตำรวจโท 2 บั้งซ้อนกัน
- นายสิบตำรวจเอก 3 บั้งซ้อนกัน
- จ่านายสิบตำรวจ 4 บั้งซ้อนกัน
- นายดาบตำรวจ ประดับเครื่องหมายโลหะสีเงินรูปดาบ 2 เล่มไขว้กันบริเวณอินทรธนูทั้ง 2 ข้าง
- นายร้อยตำรวจ ประดับดอกจันแปดกลีบที่ทำด้วยโลหะสีเงินบริเวณอินทรธนูทั้ง 2 ข้าง
- นายร้อยตำรวจตรี 1 ดอก
- นายร้อยตำรวจโท 2 ดอก ตามยาวของอินทรธนู
- นายร้อยตำรวจเอก 3 ดอก ตามยาวของอินทรธนู
- นายพันตำรวจ ประดับเช่นเดียวกับนายร้อยตำรวจ แต่เพิ่มขีด สันเหลี่ยม ทำจากโลหะสีเงินบนอินทรธนูที่ปลายบ่า ข้างละ 1 ขีด
- นายพลตำรวจ ประดับเช่นเดียวกับนายพันตำรวจ แต่เพิ่มขีด สันเหลี่ยม ทำจากโลหะสีเงินบนอินทรธนูที่ปลายบ่า ข้างละ 1 ขีด
เครื่องหมายยศ พ.ศ. 2492-2496
แก้สำหรับเครื่องหมายแสดงยศในช่วง พ.ศ. 2492 ถึงปี พ.ศ. 2496 กำหนดตามกฎกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2492 และได้ยกเลิกการใช้งานเครื่องแบบก่อนหน้านี้ทั้งหมด และมีการประกาศกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ถึง 6 ออกมาแก้ไขเพิ่มเติมตามลำดับ ใช้งานระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2496 ประกอบไปด้วย[4]
- นักเรียนนายร้อยตำรวจ ประดับอักษร นร. กลางอินทรธนูและมีเลขประจำชั้นใต้อักษร หากทำหน้าที่นักเรียนช่วยบังคับบัญชาให้ประดับพระมหามงกุฎไม่มีรัศมีเหนืออักษร นร.
- นายดาบตำรวจ ประดับรูปดาบทำจากเงิน 2 เล่มไขว้กันที่ริมอินทรธนูด้านไหล่ หันส่วนโค้งของดาบไปที่ต้นคอ
- นายร้อยตำรวจ ประดับดอกจันแปดกลีบ ทำจากโลหะสีเงิน เริ่มติดจากไหล่ หากมากกว่า 1 ดอกให้เรียงไปตามความยาวอินทรธนูระยะห่างพองาม
- นายร้อยตำรวจตรี 1 ดอก
- นายร้อยตำรวจโท 2 ดอก
- นายร้อยตำรวจเอก 3 ดอก
- นายพันตำรวจ ประดับเช่นเดียวกับนายร้อยตำรวจ แต่ประดับพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับดอกจันที่เพิ่มขึ้นมา โดยให้ยอดพระมหามงกุฎอยู่ด้านของคอ
- นายพลตำรวจ ประดับเช่นเดียวกับนายพันตำรวจ แต่ประดับช่อชัยพฤกษ์โค้งเข้าหาส่วนล่างของพระมหามงกุฎทั้ง 2 ข้าง โดยให้มีดอกจันระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์ คือ
- นายพลจัตวาไม่มีดอกจัน
- นายพลตำรวจตรี 1 ดอก
- นายพลตำรวจโท 2 ดอก
- นายพลตำรวจเอก 3 ดอก
- จ่านายสิบและนายสิบตำรวจ ประดับบั้งพื้นสีเลือดหมู สาบสีดำ ตัวบั้งสีขาวหรือสีเงิน มีรูปตราโล่เขตทำจากโลหะสีเงินอยู่เหนือจากบั้ง ประดับแขนเสื้อด้านซ้ายเหนือข้อศอกเป็นมุมข้อศอกยาวมุมด้านละ 5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร คือ
- นายสิบตำรวจตรี 1 บั้ง
- นายสิบตำรวจโท 2 บั้งซ้อนกัน
- นายสิบตำรวจเอก 3 บั้งซ้อนกัน
- จ่านายสิบตำรวจ 4 บั้งซ้อนกัน
เครื่องหมายยศ พ.ศ. 2496-2501
แก้สำหรับเครื่องหมายแสดงยศในช่วงปี พ.ศ. 2490 ถึงปี พ.ศ. 2501 เป็นต้นไปนั้น ยกเลิกการใช้งานเครื่องแบบตำรวจและเครื่องหมายตำรวจก่อนหน้าทั้งหมด และมีการนำคำว่าดาวแปดแฉกมาใช้งานครั้งแรกแทนที่ดอกจัน โดยเป็นไปตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2496) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พ.ศ. 2477 (ฉบับที่ 2) ใช้งานระหว่างวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2496 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ประกอบไปด้วย[4]
- นายดาบตำรวจ ประดับรูปดาบทำจากโลหะสีเงิน 2 เล่มไขว้กันริมอินทรธนูในด้านของไหล่ และหันปลายดาบไปทางคอ
- นายร้อยตำรวจ ประดับรูปดาวแปดแฉกทำจากโลหะสีเงินที่ริมอินทรธนูด้านไหล กึ่งกลางด้านกว้างของอินทรธนู ประดับเรียงไปตามส่วนยาวของอินทรธนูเว้นระยะพองาม คือ
- นายร้อยตำรวจตรี ดวงดาว 1 ดวง
- นายร้อยตำรวจโท ดวงดาว 2 ดวง
- นายร้อยตำรวจเอก ดวงดาว 3 ดวง
- นายพันตำรวจ ประดับรูปดาวแปดแฉกรูปแบบเดียวกับนายร้อยตำรวจ แต่ประดับพระมหามงกุฎมีรัศมีทำด้วยโลหะสีเงินกับดวงดาวที่เพิ่มขึ้น ถ้ามากกว่า 1 ดวงให้ประดับเหนือดวงที่ใกล้กับด้านคอ
- นายพลตำรวจ ประดับพระมหามงกุฎรูปแบบเดียวกับนายพันตำรวจ แต่ให้เพิ่มช่อชัยพฤกษ์ทำด้วยโลหะสีเงิน ปลายช่อโค้งเข้าหาส่วนล่างของพระมหามงกุฎทั้ง 2 ด้าน ส่วนของพลตำรวจจัตวาไม่มีดาวดาวแปดแฉก นอกจากนั้นให้ประดับระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์ หากดาวมากกว่าหนึ่งให้ติดช่อชัยพฤษก์ด้านใกล้ไหล่ คือ
- นายพลตำรวจตรี 1 ดวง
- นายพลตำรวจโท 2 ดวง
- นายพลตำรวจเอก 3 ดวง
- จ่านายสิบตำรวจและนายสิบตำรวจ ประดับรูปบั้งด้วยแถบสีขาวหรือเงินยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร 2 แถวบรรจบกันลักษณะมุมข้อศอกตรึงบนพื้นสีเลือดหมู สาบดำ ประดับตราโล่เขนรุปโลหะสีเงินเหนือบั้ง กรณีมีมากกว่า 1 บั้ง ให้เว้นระยะห่างระหว่างบั้ง 0.4 เซนติเมตร ประดับที่แขนเสื้อซ้ายเหนือข้อศอกตามยศ ดังนี้
- นายสิบตำรวจตรี 1 บั้ง
- นายสิบตำรวจโท 2 บั้ง
- นายสิบตำรวจเอก 3 บั้ง
- จ่านายสิบตำรวจ 4 บั้ง หากประดับอินทรธนูแข็งไม่ต้องประดับบั้ง
ดาวแปดแฉก
แก้ต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ประเทศตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามา ทำให้สยามในเวลานั้นปรับและรับเครื่องหมายทางทหารของตะวันตก คือดาวห้าแฉกสำหรับใช้ในยศของทหารตามรูปแบบของสากล ขณะที่ตำรวจหากจะใช้เป็นดาวห้าแฉกเหมือนกันแต่เป็นสีเงินก็จะไปซ้ำซ้อนกับเครื่องหมายยศของทหารอากาศ ทำให้กิจการตำรวจในเวลานั้นได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระสังฤราชฯ องค์ที่ 16 ให้ใช้เป็นดาวเงินแปดแฉก แต่ละแฉกมีความหมายถึงธรรมะที่ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยึดถือ[3] คือ
- สังคหวัตถุ 4
- มรรค 8
- อิทธิบาท 4
- พรหมวิหาร 4
- โลกธรรม 8
- ทิศ 6
- อริยสัจ 4
- ความกตัญญู
พ.ศ. 2501 ถึงสิ้นสุดกรมตำรวจ
แก้หลังจาก พ.ศ. 2501 ได้มีการประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2501) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ซึ่งมีเนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก มีการเพิ่มรูปแบบของอินทรธนูอ่อน คืออินทรธนูสีเดียวกับเนื้อผ้าเครื่องแบบ และอินทรธนูแข็งเป็นแผ่นความกว้าง 5 เซนติเมตร ยาวตามขนาดบ่า พื้นสีเลือดหมู ส่วนปลายมีดุมสีโลหะ สาบสีดำ มีรายละเอียดปลีกย่อย ดังนี้[7]
- นักเรียนนายร้อยตำรวจ จะมีแถบสีเงินความกว้าง 1 เซนติเมตรพาดกลางตามความยาวของอินทรธนู
- จ่านายสิบตำรวจและนายดาบตำรวจ จะมีแถบสีเงินความกว้าง 0.5 เซนติเมตรเป็นขอบ เว้นแค่ด้านไหล่
- นายร้อยตำรวจ จะมีแถบสีเงิน ความกว้าง 1 เซนติเมตรเป็นขอบ เว้นแค่ด้านไหล่
- นายพันตำรวจ จะเหมือนกับนายร้อยตำรวจ แต่มีแถบสีเงิน ความกว้าง 0.5 เซนติเมตร พาดกลางตามความยาวของอินทรธนู
- นายพลตำรวจ พื้นอินทรธนูปัด้วยดินเงินเป็นลายถักเต็มแผ่นอินทรธนูแข็ง
ขณะที่จ่านายสิบตำรวจ จะไม่ใช่เครื่องหมายบั้งประดับบริเวณแขนร่วมกับนายสิบตำรวจ แต่เปลี่ยนมาใช้เครื่องหมายประดับที่อินทรธนูทั้ง 2 ข้างแทน มีรายละเอียด[7] คือ
- จ่านายสิบตำรวจ รูปบั้งทำจากโลหะสีเงินเป็นรูปหางนกแซงแซว ความกว้าง 0.3 เซนติเมตร ปลายทั้งสองของบั้งห่างกัน 3 เซนติเมตร เรียงห่างกันจำนวน 3 บั้ง ระยะห่าง 0.2 เซนติเมตร ด้านแหลมชี้มาทางด้านคอ และมีขีดความกว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร จำนวน 1 ขีด วางตามขวางของอินทรธนูตัดกลับปลายบั้ง ห่างจากอินทรธนูด้านไหล่ 0.5 เซนติเมตร[7]
การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ
แก้หลังจากกฎกระทรวงดังกล่าว ได้มีการประกาศปรับปรุงระเบียบต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
- พ.ศ. 2504 ได้ปรับเครื่องหมายยศของนายพลตำรวจ โดยปรับให้จากเดิมเริ่มต้นประดับดาวที่พลตำรวจตรี 1 ดาว พลตำรวจโท 2 ดาว และพลตำรวจเอก 3 ดาว[8] ปรับเป็น
- พลตำรวจจัตวา 1 ดาว
- พลตำรวจตรี 2 ดาว
- พลตำรวจโท 3 ดาว
- พลตำรวจเอก 2 ดาว
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แก้ปัจจุบันยศตำรวจถูกกำหนดโดยพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565[1]
ชั้น ยศ และตำแหน่ง
แก้สำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปัจจุบันพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565[1] ได้กำหนดชั้นข้าราชการตำรวจ 3 ชั้น ยศตำรวจทั้งหมด 14 ยศ และมีตำแหน่งข้าราชการตำรวจประเภทที่มียศ 13 ตำแหน่ง ได้แก่
ชั้นข้าราชการตำรวจ | ยศตำรวจ | ตำแหน่งข้าราชการตำรวจประเภทที่มียศ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ชั้นสัญญาบัตร |
|
|
[1] |
ชั้นประทวน |
|
|
[1] |
ชั้นพลตำรวจ | พลตำรวจสำรอง | [a] |
เครื่องหมายยศ
แก้เครื่องหมายยศตำรวจไทยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน ได้แก่
ชั้นสัญญาบัตร
แก้กลุ่มชั้นยศ | นายพล / นายตำรวจชั้นนายพล | ตำรวจชั้นสัญญาบัตรอาวุโส | ตำรวจชั้นสัญญาบัตร | นักเรียนนายร้อย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พลตำรวจเอก Phon Tam Ruad Ek |
พลตำรวจโท Phon Tam Ruad Tho |
พลตำรวจตรี Phon Tam Ruad Tri |
พันตำรวจเอก Phan Tam Ruad Ek |
พันตำรวจโท Phan Tam Ruad Tho |
พันตำรวจตรี Phan Tam Ruad Tri |
ร้อยตำรวจเอก Roi Tam Ruad Ek |
ร้อยตำรวจโท Roi Tam Ruad Tho |
ร้อยตำรวจตรี Roi Tam Ruad Tri |
นักเรียนนายร้อยตำรวจ Nak Rian Nai Roi Tam Ruad | |||||||||||||||||||||||||||
ตัวย่อ[9] | พล.ต.อ. | พล.ต.ท. | พล.ต.ต. | พ.ต.อ. | พ.ต.ท. | พ.ต.ต. | ร.ต.อ. | ร.ต.ท. | ร.ต.ต. | นรต. | ||||||||||||||||||||||||||
การแผลงเป็นอังกฤษ | Police General | Police Lieutenant General | Police Major General | Police Colonel | Police Lieutenant Colonel | Police Major | Police Captain | Police Lieutenant | Police 2nd Lieutenant | Police Cadet Officer | ||||||||||||||||||||||||||
ยศเทียบเท่าทหารบก/ตำรวจของสหราชอาณาจักร | General Commissioner |
Lieutenant General Deputy Commissioner |
Major General Assistant Commissioner |
Colonel Chief Superintendent |
Lieutenant Colonel Divisional Superintendent |
Major Superintendent |
Captain Chief Inspector |
Lieutenant Inspector |
Second Lieutenant Subdivisional Inspector |
Officer Cadet | ||||||||||||||||||||||||||
ชั้นประทวนและพลตำรวจ
แก้กลุ่มชั้นยศ | ตำรวจชั้นประทวนอาวุโส | ตำรวจชั้นประทวน | พลสมัคร และพลตำรวจ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ไม่มีเครื่องหมาย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดาบตำรวจ Dap Tamruat |
จ่าสิบตำรวจ Cha Sip Tamruat |
สิบตำรวจเอก Sip Tamruat Ek |
สิบตำรวจโท Sip Tamruat Tho |
สิบตำรวจตรี Sip Tamruat Tri |
พลตำรวจ Phon Tamruat | |||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาอังกฤษ | Police sergeant major | Police Master sergeant | Police sergeant | Police corporal | Police lance corporal | Police constable |
ตำรวจรัฐสภา
แก้เครื่องหมายระดับของตำรวจรัฐสภานั้น จะใช้เครื่องหมายลักษณะเดียวกับตำรวจไทยทั่วไป แต่จะแตกต่างในเรื่องของรายละเอียดประเภทตำแหน่งและหลักเกณฑ์ในการประดับ[10]
ประเภททั่วไป
แก้ตำแหน่ง | ระดับทักษะพิเศษ | - | ระดับอาวุโส | ระดับชำนาญงาน | ||||||
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | 8 ปีขึ้นไป | 4 ปี แต่ไม่ถึง 8 ปี | ไม่ถึง 4 ปี | - | - | 2 ปีขึ้นไป | ไม่ถึง 2 ปี | 4 ปีขึ้นไป | 2 ปี แต่ไม่ถึง 4 ปี | |
การแผลงเป็นอังกฤษ | Highly Skilled Level | - | Senior Level | Experienced Level |
เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาระดับปฏิบัติงาน
- ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติงานไม่ถึง 2 ปี ให้ใช้รูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 1 ดาว
- ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี ให้ใช้รูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 2 ดาว
- ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติงานตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป ใช้รูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 3 ดาว
เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาระดับชำนาญงาน ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงินติดกึ่งกลาง
- ดำรงตำแหน่งชำนาญงานไม่ถึง 2 ปี ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 1 ดาว
- ดำรงตำแหน่งชำนาญงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 2 ดาว
ระดับอาวุโส
- ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 3 ดาว
ระดับทักษะพิเศษ ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน ติดกึ่งกลางระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์
- ดำรงตำแหน่งทักษะพิเศษไม่ถึง 4 ปี ให้มีเครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีและมีช่อชัยพฤกษ์ทำด้วยโลหะสีเงินโค้งเข้าหาส่วนล่างของพระมหามงกุฎทั้งสองข้าง ประกอบด้วยรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงินจำนวน 2 ดาว ติดกึ่งกลางระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์
- ดำรงตำแหน่งระดับทักษะพิเศษตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8 ปี ให้มีเครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีและมีช่อชัยพฤกษ์ทำด้วยโลหะสีเงินโค้งเข้าหาส่วนล่างของพระมหามงกุฎทั้งสองข้าง ประกอบด้วยรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงินจำนวน 3 ดาว ติดกึ่งกลางระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์
- ดำรงตำแหน่งระดับทักษะพิเศษตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป ให้มีเครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีและมีช่อชัยพฤกษ์ทำด้วยโลหะสีเงินโค้งเข้าหาส่วนล่างของพระมหามงกุฎทั้งสองข้าง ประกอบด้วยรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงินจำนวน 4 ดาว ติดกึ่งกลางระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์
ประเภทวิชาการ
แก้ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงปรับปรุงระเบียบเพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่ง เนื่องจากยังไม่มีระเบียบการประดับเครื่องหมายระดับรองรับที่ชัดเจน จึงใช้การเทียบเคียงกับตำแหน่งประเภททั่วไปเป็นการชั่วคราว
ตำรวจศาล
แก้สำหรับเจ้าพนักงานตำรวจศาลนั้น ใช้มาตรฐานการกำหนดตำแหน่งของสำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) ประกอบไปด้วย
- ประเภททั่วไป[11]ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน และระดับอาวุโส
- ประเภทวิชาการ[12] ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
หมายเหตุ
แก้- ↑ ผู้ที่ได้รับการบรรจุผ่านการคัดเลือก / สอบแข่งขันเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 : กองสวัสดิการ". welfarepolice.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ตำรวจรัฐสภา : มีบทบาทต่างจากตำรวจทั่วไปอย่างไร". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-11-13.
- ↑ 3.0 3.1 ฐานเศรษฐกิจ (2023-06-10). "เปิดที่มาดาวยศตำรวจ ทำไมต้อง 8 แฉก มีความหมายอย่างไร". thansettakij.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 การแต่งกายไทย : วิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน เล่ม 2. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. 2542.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศ ใช้ยศนายตำรวจภูธร พระพุทธศักราช 2458. เล่ม 32 น่า 66 วันที่ 4 เมษายน 2458 (สะกดตามเอกสารจริง)
- ↑ 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติยศตำรวจ พุทธศักราช 2480. วันที่ 4 เมษายน 2481 เล่ม 55 หน้า 1-5
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2501) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)". dl.parliament.go.th. 2501-12-30.
- ↑ "กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2504) ออกตามความใน พระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)". dl.parliament.go.th. 2504-12-20.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2018-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศประธานรัฐสภา ว่าด้วยเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา พ.ศ. 2556 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 117 ง วันที่ 13 กันยายน 2556 หน้า 16-28
- ↑ "มาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภททั่วไป สายงานเจ้าพนักงานตำรวจศาล". ojoc.coj.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-01. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
- ↑ "มาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานเจ้าพนักงานตำรวจศาล". ojoc.coj.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-01. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.