ยมทูต
ยมทูต (อังกฤษ: Psychopomp; กรีก: ψυχοπομπός, อักษรโรมัน: psychopompós, แปลตรงตัว 'ผู้นำวิญญาณ')[1] เป็นจินตสัตว์, จิตวิญญาณ, ทูตสวรรค์, ปิศาจ หรือเทวดา ในหลาย ๆ ศาสนา ซึ่งมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการคุ้มกันดวงวิญญาณของผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตไปยังดินแดนหลังความตาย บทบาทหน้าที่นี้มิได้มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินคดีของผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด เพียงแค่นำทางดวงวิญญาณเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น ยมทูตมักปรากฏในงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับความตาย (funerary art) โดยมีตัวอย่างรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันไปตามความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถปรากฎได้ทั้งในรูปของ มานุษยรูป, ม้า, กวาง, สุนัข, นกกินแมลง, นกเรเวน, อีกา, แร้ง, นกฮูก, นกกระจอก ไปจนถึง นกดุเหว่า ในกรณีของสัตว์ปีกมักมีภาพจำว่า สามารถพบเห็นนกฝูงใหญ่บินว่อนอยู่บริเวณรอบ ๆ บ้านของผู้เสียชีวิต
ชื่อเรียกของยมทูตในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากคำว่า psychopompós ในภาษากรีก ซึ่งเป็นอีกนามหนึ่งที่เอาไว้เรียก เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการทูต โดยเป็นคำผสมระหว่างคำว่า psykhé (จิตวิญญาณ) กับคำว่า pompós (แนวทาง) ที่มีความหมายถึง ตัวตนซึ่งคอยทำหน้าที่ชี้นำหรือควบคุมการรับรู้ของมนุษย์ ระหว่างเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่สองเหตุการณ์ขึ้นไป อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องยมทูตก็เป็นแนวคิดที่เป็นที่แพร่หลายอย่างมากในหลาย ๆ วัฒนธรรม เช่น ในวัฒนธรรมอียิปต์โบราณที่นับถือเทพอะนูบิส (Anubis) เทพสุนัขจิ้งจอกเป็นเทพแห่งความตาย ในประมวลเรื่องปรัมปราเยอรมันก็มีความเชื่อว่าวัลกือริยา (Valkyrie) เป็นผู้ที่นำนักรบที่เสียชีวิตในสงครามไปยังวัลฮ็อลล์ (Valhalla) ขณะที่อ็อกมา (Ogma) ก็คอยทำหน้าที่นำทางให้กับวิญญาณ ในวัฒนธรรมความเชื่อของชาวเคลต์
ขณะที่ในความเชื่อของชาวคริสต์ อัครทูตสวรรค์มีคาเอล หรือ นักบุญคริสโตเฟอร์[2][3] จะคอยทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตูสู่สวรรค์ โดยมีนักบุญเปโตรคอยทำหน้าที่นำทางให้แก่ดวงวิญญาณที่ปรารถนาจะกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า สัญลักษณ์ของนักบุญคริสโตเฟอร์ในยุคแรกมีลักษณะเป็นรูปหัวสุนัข เหมือนกับสัญลักษณ์ประจำตัวของเทพอะนูบิสในวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ ในศาสนาอิสลามทูตสวรรค์อัศราเอล (Azrael) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่รับรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดให้ต้องถึงฆาตจากอัลลอฮ์ และคอยทำหน้าที่แยกดวงวิญญาณของผู้ตายออกจากร่างภายในอีก 40 วันถัดไป ตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดจึงสะท้อนให้เห็นว่า จะด้วยภูตผี, พระผู้เป็นเจ้า, ปิศาจ หรือ เทวทูต ทั้งหมดต่างก็สามารถเป็นภาพแทนของยมทูตได้หมดทั้งสิ้น นอกจากการทำหน้าที่เป็นผู้นำวิญญาณแล้ว ตัวตนของยมทูตเองก็เป็นความเชื่อรูปแบบหนึ่งที่ยึดโยงกับการรับรู้และกระบวนการยอมรับถึงความตายได้อีกเช่นกัน
ตามหลักจิตวิทยาวิเคราะห์ของคาร์ล ยุง (Karl Jung) ยมทูตเป็นตัวกลางระหว่างจิตไร้สำนึกและจิตสำนึก บุคลาธิษฐานของยมทูตในฝันมักปรากฎในรูปของนักปราชญ์หรือสตรี บ้างก็ปรากฎในรูปของสัตว์ที่มีความกรุณา ในบางวัฒนธรรมเชมัน (shaman) จะคอยทำหน้าที่เป็นผู้นำวิญญาณของผู้เสียชีวิต หรือ ผู้ที่เสียชีวิตอาจจะทำหน้าที่นำทางชาแมนก็ย่อมได้ ในการช่วยเหลือการกำเนิด หรือการนำวิญญาณของเด็กเกิดใหม่ให้เข้ามาในโลก (หน้าที่ 36 ของ “Shamans in Eurasia”[4]) ที่เป็นการขยายความเชื่อเรื่อง “หมอตำแยแก่ผู้กำลังจะสิ้นใจ” (midwife to the dying) ซึ่งเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของผู้นำวิญญาณ
ภาพรวม
แก้ศาสนาโบราณ
แก้- กรีกโบราณ: แครอน (Χάρων), เฮอร์มีส (Ἑρμῆς), แฮเคอติ (Ἑκάτη)
- นอร์ส: วัลกือริยา (Valkyrja)
- โรมันโบราณ: เมอร์คิวรี (Mercurius)
- สลาวิก: มาร์ซันน่า (โปแลนด์), โมเร่ (ลิทัวเนีย), มาเรน่า (รัสเซีย), มาร่า (ยูเครน), โมราน่า (เช็ก, สโลวีเนีย และ เซอร์เบีย-โครเอเชีย), โมเรน่า (สโลวาเกีย และ มาซิโดเนีย) หรือ โมร่า (บัลแกเรีย)
- อิทรัสคัน: แวนธ์ (Vanth)
- อียิปต์โบราณ: อะนูบิส (Ἄνουβις)
- แอซเท็ก: โชโลตล์ (Xolotl)
- ฮินดู: พระยม (यम), พระยมราช (यमराज), มัจจุราช
ศาสนาสมัยใหม่
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
จิตวิทยา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ψυχοπομπός - Henry George Liddell, Robert Scott A Greek-English Lexicon". Perseus.tufts.edu.
- ↑ P. Saintyves: St Christophe, Successeur d’Anubis, d’Hermes et d’Heracles. In: Rev. anthropologique, 1935
- ↑ D. Williams: Deformed Discourse. The Function of the Monster in Medieval Thought and Literature. 1996
- ↑ Hoppál, Mihály: Sámánok Eurázsiában. Akadémiai Kiadó, Budapest, 2005. ISBN 963-05-8295-3. (The title means “Shamans in Eurasia”, the book is written in Hungarian, but it is published also in German, Estonian and Finnish.) Site of publisher with short description on the book (in Hungarian) เก็บถาวร 2010-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
อ่านเพิ่ม
แก้- Geoffrey Dennis, "Abraham", "Elijah", "Lailah", "Sandalphon", Encyclopedia of Jewish Myth, Magic, and Mysticism, Llewellyn, 2007.
- Eliade, Mircea, "Shamanism", 1964, Chapters 6 and 7, "Magical Cures: the Shaman as Psychopomp".
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Psychopomps