หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล

(เปลี่ยนทางจาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล (เกิด 15 กรกฎาคม 2490) ชื่อเล่น อุ๋ย เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 17 อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง

ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
31 พฤษภาคม 2544 – 7 ตุลาคม 2549
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
ถัดไปธาริษา วัฒนเกส
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม 2557 – 19 สิงหาคม 2558
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ถัดไปฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม 2534 – 22 มีนาคม 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน – 10 มิถุนายน 2535
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน – 22 กันยายน 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าสุวิทย์ ยอดมณี
ถัดไปลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสประภาพรรณ เทวกุล ณ อยุธยา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เป็นโอรสของพลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหม่อมแตงไทย เดชผล เคยสมรสกับปอลิน อินทสุกิจ มีบุตรชาย 2 คน คือ หม่อมหลวงปรมาภรณ์ เทวกุล (คุณเปรม) และหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล (พิธีกรรายการโทรทัศน์ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "คุณปลื้ม") ต่อมาสมรสใหม่กับประภาพรรณ เทวกุล ณ อยุธยา มีบุตรสาว คือ หม่อมหลวงพุดจีบ เทวกุล

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จาก Wharton School มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เมื่อปี 2513 และอบรมหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2532[1][2]

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เริ่มทำงานที่ธนาคารกสิกรไทย ตั้งแต่ปี 2514 จนได้รับตำแหน่งกรรมการรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส จากนั้นดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี 2533 และยน พ.ศ. ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน[3] และพลเอก สุจินดา คราประยูร และดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก ช่วงปี 2535–2536 [4]

จากนั้นรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2544[5] ต่อจากหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล ในรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ได้รับรางวัลผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเอเชีย ประจำปี 2549 (Central Bank Governor of the Year -Asia 2006) จากการคัดเลือกของนิตยสาร The Banker ในเครือ Financial Times ประเทศอังกฤษ [6][7]

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ มูลนิธิอาจารย์ป๋วย ประธานกรรมการสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

งานการเมือง แก้

รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน แก้

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี พ.ศ. 2534[8] และได้รับแต่งตั้งอีกครั้ง ใน ครม. 48

รัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร แก้

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอก สุจินดา คราประยูร[9] ต่อจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกุวฒิสภา ในปี พ.ศ. 2535-2536

รัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ แก้

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ [10] ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 โดยการลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 โดยเหตุผลหลักตามที่ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรได้แถลงในการลาออกนั้นคือ ความไม่พอใจในการนำคนจากรัฐบาลที่แล้ว (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) มาทำงาน และการดำเนินงานของรัฐมนตรีบางคนที่เอื้อประโยชน์ให้สื่อบางรายเป็นการเฉพาะ[11]

นโยบายที่สำคัญ แก้

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ในสมัยที่ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท ด้วยการสำรองเงินลงทุนจากต่างประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลาหนึ่งปีโดยไม่ให้ดอกเบี้ย ผลของมาตรการนั้นทำให้ ตลาดหลักทรัพย์ตกไปมากกว่า 100 จุดในหนึ่งวันและทำให้ต้องมีการพักการซื้อขายชั่วคราว ภายหลังจากการออกมาตรการไม่ถึงหนึ่งวัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวโดยยกเว้น เงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และเงินลงทุนในอีกหลายประเภท

รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แก้

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[12] และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม 2557[13] ถึง 30 กันยายน 2558[14]

วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เขากล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสามเดือนแรก ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2557 ใช้เงินทั้งสิ้น 364,465.4 ล้านบาท โดยมีการใช้งบคงค้างและงบประมาณประจำปี 2558 เพื่อสร้างงาน เร่งลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศโดยเน้นซ่อม สร้าง มากกว่าสนองตอบความต้องการของประชาชนจริง ๆ บางส่วนให้แต่ละกระทรวงไปคิดหาวิธีใช้เงินเอง และแจกเงินให้ชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ เขายังกล่าวว่า "ที่รัฐบาลใช้เงินรอบนี้ 40,000 ล้านบาท ก็ดีกว่าไปขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวปีละ 250,000 ล้านบาท และทำแค่ปีเดียวเท่านั้น ไม่เรียกว่าเป็นโครงการประชานิยม เพราะไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง ตอนนี้ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ"[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ประเภททั่วไป ประจำปีการศึกษา 2558 จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. ชีวประวัติ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
  2. "Misc > เกี่ยวกับ ก.ล.ต. > คณะกรรมการ ก.ล.ต." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๖๙ หน้า ๒, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๕
  4. "การทำงานดำรงตำแหน่ง หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-11. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
  5. "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
  6. "เรื่อง ผู้ว่าการ ธปท. ได้รับรางวัลผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเอเชีย ประจำปี 2549". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-22. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
  7. "'The Banker' editor Brian Caplen, left, awards the plaque of honour to MR Pridiyathorn Devakula". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-25. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๒๓ ง หน้า ๔, ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๑ หน้า ๒, ๑๗ เมษายน ๒๕๓๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง หน้า ๑, ๙ ตุลาคม ๒๕๔๙
  11. คนในข่าว - "อุ๋ย"หนีถอย! "อ๋อย"ท้าชน! (1)
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง หน้า ๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ ๒๒/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๙๓ ง หน้า ๑, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๖/๒๕๕๘ เปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๑๑ ง หน้า ๒๓, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
  15. 4หมื่นล.แจกชาวนา ไร่ละพัน กระตุ้นเศรษฐกิจ
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ถัดไป
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล    
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(31 พฤษภาคม 2544 – 7 ตุลาคม 2549)
  ธาริษา วัฒนเกส
กิตติรัตน์ ณ ระนอง    
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายเศรษฐกิจ
(ครม.61)

(31 สิงหาคม 2557 – 19 สิงหาคม 2558)
  สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์   รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายเศรษฐกิจ
(ครม.56)

(8 ตุลาคม 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550)
  โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ทนง พิทยะ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.56)
(8 ตุลาคม 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550)
  ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
สุวิทย์ ยอดมณี    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม.46)
(9 ธันวาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534)
  ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์