ม่านไผ่ (อังกฤษ: Bamboo Curtain) เป็นเส้นแบ่งเขตทางอุดมการณ์ในทวีปเอเชีย นับแต่ชัยชนะของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสงครามกลางเมืองจีนบนแผ่นดินใหญ่ในปี ค.ศ. 1949 [1]เริ่มทลายลงในปี ค.ศ. 1979 จากนโยบายการเปิดประเทศและการปฏิรูปเศรษฐกิจของเติ้ง เสี่ยวผิงและทลายลงอย่างสมบรูณ์ลงหลังสงครามเย็นยุติในปี ค.ศ. 1991 จุดประสงค์ในตั้งเพื่อปิดกั้นตนเองและกันการเข้ามาของลัทธิทุนนิยม เหมือนม่านเหล็ก

ม่านไม้ไผ่ ปี ค.ศ. 1959 แสดงเป็นเส้นสีดำ ประเทศที่มีรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่อยู่ทางตอนเหนือของม่านไม้ไผ่เป็นสีแดง สมาชิกซีโต้ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน ประเทศที่เป็นกลางเป็นสีเทา

ทั้งสองด้านของม่านไผ่มีอุดมการณ์ที่แตกต่างกันโดย

ในตลอดเวลาม่านไผ่ได้มีการเปลี่ยนแปลงพรมแดนตลอด ทั้งจากสงครามเวียดนาม ที่ทำให้รัฐบาลในอินโดจีนทั้งหมดเป็นรัฐบาลคอมมิวนิสต์ทำให้ม่านไผ่ขยายไปยังชายแดนประเทศไทย ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต ที่ทำให้เกิดความแตกในพันธมิตรฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเอเชียโดย ประเทศพันธมิตรสหภาพโซเวียตได้แก่ มองโกเลีย,ลาวและเวียดนามและประเทศพันธมิตรสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แก่ กัมพูชา ทำให้ม่านไผ่ขยายไปทั่วชายแดนจีนกับสหภาพโซเวียตและทั่วชายแดนประเทศกัมพูชา

ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในตอนท้ายของสงครามเย็นจากการเยือนประเทศจีนของนิกสันเพื่อถ่วงอำนาจสหภาพโซเวียตและนโยบายการเปิดประเทศและการปฏิรูปเศรษฐกิจของเติ้ง เสี่ยวผิงม่านไผ่เริ่มทลายลง[2]

ในปัจจุบันม่านไผ่ได้ทลายลงไปแล้ว แต่ยังมีการใช้เรียกเขตปลอดทหารในเกาหลีอยู่บาง[3] ม่านไผ่ยังถูกใช้เรียกพรมแดนธรรรมชาติและเศรษฐกิจที่ล้อมรอบเมียนมา[4]

อ้างอิง แก้

  1. "CHINA: Behind the Bamboo Curtain". Time. สืบค้นเมื่อ 2016-10-12.
  2. "Bamboo Curtain Full of Holes, Pitt Profs Say After China Visits". Pittsburgh Press. 1980-10-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.
  3. "North Korea: Beyond the Bamboo Curtain". Globalexchange. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-30. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.
  4. "Raise the Bamboo Curtain: A Journey into Burma, Cambodia and Vietnam". Thingsasian. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.