มีแชล บาร์นีเย

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส
(เปลี่ยนทางจาก มีแชล บาร์เนียร์)

มีแชล ฌ็อง บาร์นีเย (ฝรั่งเศส: Michel Jean Barnier; เกิดวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1951) เป็นนักการเมืองชาวฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสในเดือนกันยายนถึงธันวาคม ค.ศ. 2024

มีแชล บาร์นีเย
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ค.ศ. 2024)
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
5 กันยายน – 13 ธันวาคม ค.ศ. 2024
(0 ปี 99 วัน)
ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง
ก่อนหน้ากาบรีแยล อาตาล
ถัดไปฟร็องซัว บายรู
ตำแหน่งภายใต้สหภาพยุโรป
หัวหน้าหน่วยงานเฉพาะกิจแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
16 พฤศจิกายน 2019 – 31 มีนาคม 2021
ประธานาธิบดีฌ็อง-โคลท ยุงเคอร์
อัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน
รองกลารา มาร์ติเนซ อัลเบโรลา
ก่อนหน้าแต่งตั้งตำแหน่ง
ถัดไปJoão Vale de Almeida (ในฐานะ เอกอัครราชทูตประจำสหราชอาณาจักร)
หัวหน้าคณะเจรจาของคณะทำงานที่ 50
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2016 – 15 พฤศจิกายน 2019
ประธานาธิบดีฌ็อง-โคลท ยุงเคอร์
รองSabine Weyand
ก่อนหน้าแต่งตั้งตำแหน่ง
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
กรรมาธิการยุโรปด้านตลาดภายในและบริการ
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ 2010 – 31 ตุลาค 2014
ประธานาธิบดีฌูแซ มานูแวล บาโรซู
ก่อนหน้าชาร์ลี แมคครีวีย์
ถัดไปElżbieta Bieńkowska
กรรมาธิการยุโรปด้านนโยบายภูมิภาค
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน 1999 – 31 มีนาคม 2004
ประธานาธิบดีโรมาโน โปรดี
ก่อนหน้าMonika Wulf-Mathies
ถัดไปฌัก บาร์โรต์
สมาชิกรัฐสภายุโรป
เขตอีล-เดอ-ฟร็องส์
ดำรงตำแหน่ง
14 กรกฎาคม 2009 – 10 กุมภาพันธ์ 2010
ถัดไปกงส์ต็องซ์ เลอ กริป
ตำแหน่งรัฐมนตรีฝรั่งเศส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและประมง
ดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน 2007 – 22 มิถุนายน 2009
นายกรัฐมนตรีฟร็องซัว ฟียง
ก่อนหน้าคริสตีน ลาการ์ด
ถัดไปบรูโน เลอ แมร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม 2004 – 31 พฤษภาคม 2005
นายกรัฐมนตรีฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง
ก่อนหน้าดอมีนิก เดอ วีลแป็ง
ถัดไปฟิลิป ดูสต์-บลาซี
ผู้แทนรัฐมนตรีกระทรวงกิจการยุโรป
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤษภาคม 1995 – 3 มิถุนายน 1997
นายกรัฐมนตรีอะแล็ง ฌูเป
ก่อนหน้าอะแล็ง ลามาสซูร์
ถัดไปปีแยร์ มอสโกวิซี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม 1993 – 18 มีนาคม 1995
นายกรัฐมนตรีเอดัวร์ บาลาดูร์
ก่อนหน้าเซกอแลน รัวยาล
ถัดไปกอริน เลอพาจ
สมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศส
จังหวัดซาวัว
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน 1997 – 23 กันยายน 1999
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม 1995 – 31 ตุลาคม 1995
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
จังหวัดซาวัว
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน 1978 – 1 พฤษภาคม 1993
ก่อนหน้ามอริส บล็องก์
ถัดไปHervé Gaymard
เขตเลือกตั้งเขตที่ 2 (1978–1986)
ทั้งเขต (1986–1988)
เขตที่ 2 (1988–1993)
ประธานคณะมนตรีทั่วไปแห่งจังหวัดซาวัว
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม 1982 – 13 กันยายน 1999
ก่อนหน้าLouis Besson
ถัดไปHervé Gaymard
สมาชิกสภาจังหวัดซาวัว
เขตบูร์ก-แซงต์-มอริซ
ดำรงตำแหน่ง
5 กันยายน 1973 – 13 กันยายน 1999
ก่อนหน้าอเล็กซี โบแรล
ถัดไปฌักเกอร์ลีน โปเล็ตติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มีแชล ฌ็อง บาร์นีเย

(1951-01-09) 9 มกราคม ค.ศ. 1951 (74 ปี)
ลาทรงช์ ประเทศฝรั่งเศส
พรรคการเมืองเลเรปูว์บลีแก็ง
(ตั้งแต่ ค.ศ. 2015)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
สหภาพประชาธิปไตยเพื่อสาธารณรัฐ (1967–1976)
ชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ
(1976–2002)
สหภาพเพื่อขบวนการประชาชน (2002–2015)
คู่สมรสอิซาแบล อัลท์มาเยอร์ (สมรส 1982)
บุตร3
ความสัมพันธ์Éric and Nicolas Altmayer (น้องเขย)
René Altmayer (grandfather-in-law)
Victor Joseph Altmayer (great-grandfather-in-law)
ที่อยู่อาศัยทำเนียบมาตีญง ปารีส
ศิษย์เก่าโรงเรียนธุรกิจชั้นสูงของปารีส
อาชีพ
ลายมือชื่อ

บาร์นีเยเป็นสมาชิกสังกัดหลายพรรคที่มีลัทธินิยมโกล (พรรคสหภาพประชาธิปไตยเพื่อสาธารณรัฐ พรรคชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ พรรคสหภาพเพื่อขบวนการประชาชน และพรรคเลเรปูว์บลีแก็ง) แล้วเริ่มในวงการการเมืองด้วยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดซาวัวในค.ศ. 1973 ต่อมาลงเป็นผู้สมัครในเขตที่ 2 ของจังหวัดซาวัวในการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของค.ศ. 1978 ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมบูรณ์ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. 4 สมัยจนถึงค.ศ. 1993

หลังจากนั้น ในปีเดียวกันได้เข้าร่วมภายใต้การนำของรัฐบาลของเอดัวร์ บาลาดูร์เนื่องจากได้มีการแต่งตั้งบาร์นีเยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม กระทั้ง ค.ศ. 1995 ย้ายไปเป็นผู้แทนรัฐมนตรีด้านกิจการยุโรปภายใต้กระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลของอะแล็ง ฌูเป

จากนั้น ในค.ศ. 1999 บาร์นีเยได้เข้าร่วมในคณะกรรมธิการยุโรปโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมธิการยุโรปด้านนโยบายภูมิภาคภายใต้การนำของประธานโรมาโน โปรดี

ต่อมากลับมาในการเมืองฝรั่งเศสจากการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภายใต้รัฐบาลชุดที่ 3 ของฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง เมื่อปีค.ศ. 2004 แล้วในค.ศ. 2007 หลังจากชัยชนะอย่างถล่มทลายของพรรคสหภาพเพื่อขบวนการประชาชนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของปีดังกล่าว บาร์นีเยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและประมงภายใต้การนำของฟร็องซัว ฟียง

ในค.ศ. 2009 บาร์นีเยกลับมาในการเมืองของสหภาพยุโรปอีกครั้งเนื่องจากการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภายุโรป ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมธิการยุโรปและได้รับตำแหน่งกรรมธิการยุโรปด้านตลาดภายในและบริการภายใต้การนำของโคเซ แบร์รอสโซ

กระทั้ง ค.ศ. 2016 หลังจากการลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ฌ็อง-โคลท ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมธิการในขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าคณะเจรจาสหภาพยุโรปในคณะทำงานเพื่อเตรียมการและดำเนินการเจรจากับสหราชอาณาจักร แล้วในค.ศ. 2019 ยุงเคอร์และอัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมธิการยุโรปต่อจากยุงเคอร์ยังคงให้บาร์นีเยอยู่ในตำแหน่งโดยแต่งตั้งในขณะนั้นให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานด้านความสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักรของคณะกรรมธิการของยุโรป

ในค.ศ. 2021 บาร์นีเยลงเป็นผู้สมัครเพื่อเป็นตัวแทนของพรรคเลเรปูว์บลีแก็งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของปีถัดไปแต่กลับได้รับคะแนนกว่า 23.93% หรืออันดับที่ 3 เท่านั้นตามหลังเอริก ซีอ็อตติ และวาเลรี เปแคร็สซี่งต่อมาได้รับเลือกเป็นผู้สมัครของพรรคเพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีดังกล่าว แต่เปแคร็สกลับได้รับคะแนนกว่า 4.78% ซึ่งเป็นคะแนนที่ต่ำที่สุดของฝ่ายขวาในการเลือกตั้งดังกล่าว

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสของปีเดียวกัน ชื่อของตนได้รับการแนะนำจากหนึ่งในรัฐมนตรีรักษาการในขณะนั้น ทำให้ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครงได้มีความสนใจในการแต่งตั้งเขาในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มีโน้มน้อยที่สุดที่จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจ กระทั้งวันที่ 5 กันยายน มาครงก็ตัดสินใจแต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยปริยาย ต่อจากกาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรีที่ยังรักษาการตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติสิ้นสุดลงไป ด้วยวัยอายุ 73 ปี บาร์นีเยเป็นนายกรัฐมนตรีที่แก่ที่สุดในประวัติศาสัตร์สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5

ในวันที่ 4 ธันวาคม บาร์นีเยถูกขับออกจากตำแหน่งเนื่องจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติได้ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลของเขาโดยต้นเหตุเป็นการใช้อำนาจพิเศษ (มาตรา 49 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส) ในการผลักดันกฎหมายงบประมาณประกันสังคม ค.ศ. 2025[1][2] ทำให้เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดของสาธารณรัฐที่ 5

อ้างอิง

แก้
  1. "การเมืองฝรั่งเศส: จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เมื่อนายกฯ ฝรั่งเศสถูกขับออกจากตำแหน่ง". BBC News ไทย. 2024-12-05.
  2. ""มาครง" ยันไม่ลาออก ปธน.ฝรั่งเศส เตรียมตั้งนายกฯ คนใหม่". Thai PBS.
ก่อนหน้า มีแชล บาร์นีเย ถัดไป
กาบรีแยล อาตาล    
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (รัฐบาลบาร์นีเย)
นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส คนที่ 174

(กันยายน - ธันวาคม ค.ศ. 2024)
  ฟร็องซัว บายรู