มิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์

มิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์ (อังกฤษ: Mister Global teen Thailand) เป็นการประกวดความงามชายในประเทศไทย เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมการประกวดมิสเตอร์โกลบอลทีน เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)ได้มีการจัดตั้งการประกวดมิสเตอร์โกลบอลทีนขึ้น ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีการจัดประกวด แต่มีการแต่งตั้งตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดมิสเตอร์โกลบอลทีน[1][2]

มิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์
ก่อตั้ง2019; 5 ปีที่แล้ว (2019)
ประเภทการประกวดความงาม
ที่ตั้ง
สมาชิก
มิสเตอร์โกลบอลทีน
ภาษาทางการ
ไทย
องค์กรแม่
เฟสบุ๊คมิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์

ประวัติ แก้

มิสเตอร์โกลบอลทีน เป็นเวทีประกวดวัยรุ่นชาย (อายุระหว่าง 15-19 ปี) ที่พัฒนาและดำเนินการโดยคุณประดิษฐ์ ประดิษฐนันท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการสร้าง เวทีน้องชาย (Brotherhood) ให้เป็นเวทีคู่ขนานไปกับเวที มิสเตอร์โกลบอล (มิสเตอร์โกลบอล: ที่มีอายุระหว่าง 19-27 ปี) มิสเตอร์โกลบอล ในปัจจุบันเป็นเวทีการประกวด "สัญชาติไทยเพียงเวทีเดียว" ที่ติดอันดับแกรนด์สแลม (แกรนด์สแลม แรงกิ้ง) ซึ่งจัดอันดับโดยเว็บไซต์ "โกลบอล บิวตี้" โดย 5 เวทีการประกวดหนุ่มหล่อที่ดีที่สุดในโลกในปัจจุบัน ได้แก่ เวทีการประกวด มิสเตอร์เวิลด์ (สหราชอาณาจักร) / แมนฮันต์อินเตอร์เนชันแนล (สิงคโปร์) / มิสเตอร์อินเตอร์เนชันแนล (สิงคโปร์) / มิสเตอร์โกลบอล (ไทย) และ มิสเตอร์ซูปราเนชันแนล (ปานามา)


มิสเตอร์โกลบอลทีน (Mister Global Teen - Mr.GT) เกิดขึ้นในสังคม ด้วยความเชื่อมัน ศรัทธาและแรงบันดาลใจ ว่า วัยรุ่นในสังคมยุคปัจจุบันไม่เพียงแต่จะมีบุคลิกภาพ-หน้าตาดีเท่านั้น หากแต่สังคมควรเปิดพื้นที่ให้เขาได้พัฒนาความคิด พัฒนาสุขภาวะและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไปพร้อมๆ กัน

การประกวดเวที มิสเตอร์โกลบอลทีน เริ่มต้นขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2558 ณ ประเทศไทย ภายใต้แนวคิด "Promote Creative Accomplishment, Healthy Living and Community Involvement for teens globally" ในครั้งแรกนี้ มีตัวแทนวัยรุ่นจาก 8 ประเทศเดินทางมาเข้าร่วมการประกวด ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล เมียนมาร์ อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ศรีลังกา และประเทศไทย ในครั้งนั้น Mr. Daham Dias จากประเทศศรีลังกา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง มิสเตอร์โกลบอลทีน 2015 เป็นคนแรก

ประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2559-2561 เป็นเวลาของความโศกเศร้าและการไว้อาลัยต่อการสววรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คณะผู้ดำเนินงานได้พิจารณางดจัดการประกวด และได้คัดเลือก Mr. Joaquin Rudolfo Rosallosa (ประเทศฟิลิปปินส์) ให้ดำรงตำแหน่ง Mr.GT ประจำปี 2016 และในปลายปี พ.ศ. 2560 Mr. Mein Reilly Artero จากประเทศกวม ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง มิสเตอร์โกลบอลทีน ประจำปี 2017-18


การประกวด มิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์ 2019 (Mr.GTT: 2019) ที่จะจัดขึ้นในปีนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่จะดำเนินการค้นหา "ตัวแทนคนรุ่นใหม่ของประเทศไทย" เข้าร่วมการประกวดระดับนานาชาติ มิสเตอร์โกลบอลทีน 2019: รอบชิงชนะเลิศระดับโลก ซึ่งคาดว่าจะมีตัวแทนเยาวชนจากประเทศต่างๆ กว่า 20 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท จินตามยปัญญา จำกัด โดย นายพิชญ์ไกร ไชยเดช ผู้ได้รับการแต่งตั้งจาก Mister Global Organization ให้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ ทำหน้าที่ National Director (Thailand) ในครั้งนี้

ภายใต้แนวคิดหลัก " Teens Exemplifying Leadership, Anti-Bullying , Healthy Living and Community Involvement for teens globally ”  

วัตถุประสงค์ การคัดเลือก"ตัวแทนประเทศไทย"

  1. เพื่อค้นหาและแต่งตั้ง “ตัวแทนเยาวชนไทย” เข้าร่วมการประกวดระดับนานาชาติกับตัวแทนจากประเทศต่างๆ ในการประกวด Mister Global Teen (World Final ) ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (ประเทศพม่า) ระหว่างวันที่ 20 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
  2. เพื่อรณรงค์ “ต่อต้านการกลั่นแกล้งและทำร้าย” (Anti-Bullying) ให้แพร่กระจายออกไปสู่ "วัยรุ่น" ทั่วประเทศ
  3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนไทยเกิดสำนึก เห็นคุณค่าและความสำคัญของ “ความเป็นไทย” สร้างความภาคภูมิใจใน “อัตลักษณ์แห่งชาติไทย”
  4. เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้ เยาวชนชายไทยที่มีความพร้อมทั้ง ความสามารถ ทัศนคติ รูปร่างหน้าตา และ อัตลักษณ์ความเป็นไทย ได้มีโอกาสนำเสนอ และเผยแพร่ “ศิลปะ วัฒนธรรมไทย” ในเวทีระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
  5. เพื่อสร้างการประกวด"ประจำชาติ" ที่จะถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆปี ของประเทศไทย

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วการ "คัดเลือก"

  1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
  2. เพศชายโดยกำเนิด
  3. บุคลิกภาพ รูปร่าง หน้าตา ดี (Smart) มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 170 เซนติเมตร
  4. อายุระหว่าง 15 - 19 ปี (เกิดระหว่าง พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547)
  5. สถานะภาพโสดและต้องไม่เคยจดทะเบียนสมรสหรือผ่านพิธีทางศาสนาหรือพิธีการ ใดๆ มาก่อ
  6. ไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมและประวัติเสื่อมเสียอันจะนำมาสู่การทำลายภาพลักษณ์ของกองประกวด
  7. สุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงหรือโรคที่สังคมรังเกียจ
  8. เป็นผู้มีภาวะผู้นำ (Leadership) รักวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย (Cultural Identity) มีจิตอาสาเพื่อสังคม (Social Volunteer) มี “อัตลักษณ์”ที่แสดงออกถึงความเป็นไทย
  9. ได้รับอนุญาตจาก บิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองให้เข้าร่วมการประกวด

รายนามผู้ได้รับตำแหน่งมิสเตอร์โกลบอลไทยแลนด์ แก้

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด สถานที่จัดประกวด จังหวัดเจ้าภาพ ผู้เข้าประกวด
2562 (2019) ริสกี สิทธิศักดิ์ ภูเก็ต หอประชุมพนอมแก้วกำเนิด อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพชรบุรี 11

รองชนะเลิศ แก้

ปี รองอันดับ 1 รองอันดับ 2 รองอันดับ 3 รองอันดับ 4
2019 เตชิต ปัญญนราพร สมพล บวบทอง วราวุฒิ เชื้ออินทร์ ฮัยเดิร คาร ปาทาน

เรียงลำดับจังหวัดของผู้ชนะ แก้

จังหวัด จำนวน ปีที่ชนะ
เพชรบุรี
1
2019

ผลงานการประกวดระดับนานาชาติ แก้

สัญลักษณ์สี

  •   : ชนะเลิศ
  •   : รองชนะเลิศหรืออันดับ 5/6
  •   : เข้ารอบสุดท้ายหรือรอบรองชนะเลิศ
  •   : รางวัลพิเศษหรือเข้ารอบสุดท้ายรางวัลพิเศษ

มิสเตอร์โกลบอลทีน แก้

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
  2019 เตชิต ปัญญนราพร เพชรบุรี
  2018 กิตติกร สิทธิยศ น่าน ไม่ผ่านเข้ารอบ
  2016 พิชญ์พล หนูนวล  นครศรีธรรมราช ไม่ได้เข้าร่วมการประกวด
จิรวัฒน์ ชื่นตา  เชียงใหม่ ไม่ได้เข้าร่วมการประกวด
  2015 กัณน์ โมกขะสมิต ราชบุรี ไม่ผ่านเข้ารอบ เบสท์คอนจีเนียลิตี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "MISTER GLOBAL TEEN 2016 - The Contestants". misterology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-09. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Mister Global Teen 2015". missosology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้