มินูเอ็ต (อังกฤษ: minuet) หรือ เมนูเอ็ต (ฝรั่งเศส: menuet)คำว่า มินูเอ็ต มาจากคำว่า Menu ภาษาละติน Munutus ซึ่งแปลว่า "เล็ก ๆ" เพราะมินูเอ็ตเป็นเพลงขนาดเล็กเล่นตามราชสำนัก มีอัตราจังหวะ 3/4 คล้ายเพลงวอลซ์ ฌอง แบปติสท์ ลุลลี ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มนำเพลงจังหวะมินูเอ็ตมาใช้ แล้วมินูเอ็ตก็ได้รับความนิยมในหมู่ขุนนาง การเต้นรำมินูเอ็ตนั้น จะให้นักเต้นรำเลือกคู่ แล้วก็เต้นรำกันไปตามจังหวะของเพลง

ในการเต้นมินูเอ็ต คู่เต้นชายหญิงจะมีเพียงการสัมผัสปลายนิ้ว
การเต้นรำมินูเอ็ตในยุคเรอเนซองส์ โดยมีหลักฐานที่ชัดเจน

แล้วจากนั้น โยฮันน์ เซบาสเตียน บาคและจอร์จ เฟรดริก ฮันเดลได้ยืมความคิดแล้วมาแต่งในฉบับของตัวเอง เพลงมินูเอ็ตก็จะเป็นแบบยุคบาโรค โดยมีอัตราจังหวะ 3/8 หรือ 6/8 เพลงมินูเอ็ตจะเป็นเพลงประกอบตอนท้าย ๆ ของเพลงโอเวอเจอร์ของอิตาลีด้วย ผลงานมินูเอ็ตของบาค ปรากฏอยู่ใน Orchestral Suite โดยบางบทจะมีเพลงเต้นรำมินูเอ็ตรวมอยู่ด้วย

มินูเอ็ตได้รับความนิยมจนถึงยุคคลาสสิกได้มีการปฏิวัติทางดนตรีอย่างมาก ได้มีแนวคิดใหม่ ๆ โดยการใช้มินูเอ็ตเป็นท่อนที่ 3 ในซิมโฟนี โดย โยเซฟ ไฮเดิน ได้วางรากฐานของดนตรีประเภทคอนแชร์โต้ ซิมโฟนีและโซนาต้า โดยให้ท่อนที่ 3 ใช้ทำนองเพลงแบบมินูเอ็ต โมซาร์ทก็ได้นำความคิดของไฮเดินมาใช้เหมือนกัน แต่ต่อมาในยุคของ เบโธเฟ่นที่กำลังจะเข้าสู่ยุคโรแมนติก เบโธเฟ่นได้เปลี่ยนแปลงให้ท่อนที่ 3 จากลักษณะมินูเอ็ตเป็นรอนโด้หรือสแกร์โซแทน หลังจากนั้นมาความคิดของเบโธเฟ่นก็เป็นที่นิยม

มินูเอ็ตที่มีชื่อเสียง คือ Menuet BWV 113-116 ของบาค มินูเอ็ตของลุยจิ บอคเคอรินี่(Luigi Boccherini) และบางช่วงในอุปรากรเรื่องดอน โจวานนี ของโมซาร์ท