มินิโมนิ (ญี่ปุ่น: ミニモニ。 / อังกฤษและโรมะจิ: MiniMoni) คือ อดีตวงยูนิทย่อยของวงไอดอลเจ-ป็อปมอร์นิงมูซูเมะ โดยภาพลักษณ์ของวงคือสมาชิกทุกคนต้องมีความสูงมากที่สุดไม่เกิน 150 เซนติเมตร

มินิโมนิ
ミニモニ
ที่เกิดกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แนวเพลงเจ-ป็อป
ช่วงปีพ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2547
ค่ายเพลงเซติมะ
อดีตสมาชิกมาริ ยางูจิ
มิกะ แทเรสซา ทอดด์
ไอ ทากาฮาชิ
โนโซมิ สึจิ
ไอ คาโงะ

ในช่วงเวลาหนึ่งที่มินิโมนิเคยมีผลงานเพลงอยู่ มิริโมนิจึงเป็นวงยูนิทย่อยของมอร์นิงมูซูเมะที่มีชื่อเสียงมากที่สุด โดยเหตุเกิดจากการผสมผสานระหว่างมิวสิกวิดีโอและการแสดงสดที่แปลกตา รูปแบบการร้องเสียงผสานและแนวเพลงที่หลากหลายอย่างเข้าด้วยกัน

ประวัติ แก้

จุดเริ่มต้น พ.ศ. 2543 แก้

มินิโมนิได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดย มาริ ยางูจิ สมาชิกรุ่นที่ 2 ของมอร์นิงมูซูเมะ ซึ่งเธอเป็นผู้ที่ออกความคิดว่าสมาชิกของวงนี้จะต้องมีความสูงไม่เกิน 150 เซนติเมตร ต่อมา ยางูจิร่วมกับสึงกุนักประพันธ์เพลงและโปรดิวเซอร์ของมอร์นิงมูซูเมะ ได้เลือกเอาสมาชิกรุ่นที่ 4 ของมอร์นิงมูซูเมะนั่นคือ ไอ คาโงะ และ[[โนโซมิ สึจิ] ทั้งสองก็ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของมินิโมนิร่วมกับตัวยางูจิเอง และหลังจากนั้นไม่นาน ทั้งสามก็ได้เริ่มการแสดงคอนเสิร์ตต่าง ๆ ของพวกเธอ ในเวลาต่อมา ได้มีการเพิ่มสมาชิกสัญชาติสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อว่า มิกะ ทาเรสซา ทอดด์ ซึ่งทอดด์เป็นหนึ่งในสมาชิกของโคโคนัทส์มูซูเมะ ให้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่อีกคนหนึ่ง ทำให้วงนี้เพิ่ม “รสชาติความเป็นนานาชาติ” เข้าไปอีก และหลังจากนั้น สึงกุก็ทำให้พวกเธอเป็นวงไอดอลที่มีความเป็นทางการมากขึ้น โดยสร้างซิงเกิลแรกให้ นั่นคือ "มินิโมนิ จังเก็นเปียวน์!" (ミニモニ。ジャンケンぴょん!) ซึ่งต่อมาเพลงนี้ยังได้รับความนิยมอันดับ 1 จากโอริคอนชาร์ตในปีนั้น

ในช่วงแรก ถึงแม้ว่ามินิโมนิจะมุ่งเอาใจเหล่าผู้ฟังอายุน้อยเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ยางูจิและทอดด์ ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายแล้วก็ตาม พวกเธอก็ยังมีฐานแฟนเพลงที่มีอายุมากเช่นกัน โดยส่วนหนึ่งนั้นเป็นเหล่าผู้ปกครองของแฟนเพลงวัยรุ่นที่ชื่นชอบมินิโมนิอยู่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งก็คือแฟนเพลงอายุมากที่ตามมาให้กำลังใจจากมอร์นิงมูซูเมะ โดยเฉพาะกลุ่มผู้นิยมยางูจิ, คาโงะ และสึจิ

ในช่วงปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2545 มินิโมนิได้ร่วมกันสร้างซิงเกิลออกมาหลายเพลง ซึ่งเกือบทุกเพลงถูกนำไปรวมเข้าเป็นผลงานอัลบั้มแรก "มินิโมนิ ซอง ไดเฮียกกะ 1 คัง" (ミニモニ。ソング大百科1巻) โดยแนวเพลงแต่ละเพลงในอัลบั้มนี้ค่อนข้างที่จะมีความแตกต่างและหลากหลายอย่างมาก โดยมีทั้งแนวบลูส์, อีเลคทรอนิกา, มาร์ช, แจซ, เรกเก้, และโซลในแนวยุคทศวรรษที่ 60

นอกจากงานเพลงแล้ว มินิโมนิยังถูกนำไปสร้างเป็นตัวเอกในอนิเมะชุดขนาดสั้นที่ชื่อ "ยารูโนดะเปียวน์!" ซึ่งสมาชิกแต่ละคนยังได้ให้เสียงพากษ์เป็นตนเองอีกด้วย นอกจากนั้น พวกเธอยังมีโอกาสไปพากษ์เสียงในอนิเมะ "แฮมทาโร่" ในตอนที่มีตัวละครแฮมสเตอร์ซึ่งออกแบบจากสมาชิกกลุ่มมินิโมนิเข้ามาร่วมแสดง โดยทางกลุ่มยังได้ร้องเพลงสองเพลงเพื่อใช้ประกอบอนิเมะเรื่องนี้โดยในนามของ "มินิแฮมส์" (Mini Hams)

เปลี่ยนแปลงสมาชิก แก้

 
หน้าปกดีวีดีภาพยนตร์เรื่อง "มินิโมนิ เดอะมูฟวี: โอกาชินะ ไดโบเก็น"

ในปี พ.ศ. 2545 ยางูจิ ได้สำเร็จการศึกษาจากมินิโมนิไป เพื่อไปอยู่กับวงไอดอลที่ชื่อว่า "ซิกส์" ในฐานะของหัวหน้าของวงนั้น จึงทำให้ผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกคนต่อไปนั่นคือ ไอ ทากาฮาชิ สมาชิกรุ่นที่ 5 ของมอร์นิงมูซูเมะ[1] ส่วนตำแหน่งหัวหน้านั้น ผู้ที่ขึ้นมาดูแลต่อจากยางูจิก็คือทอดด์ ซึ่งในปีเดียวกันนั้น สมาชิกทั้งห้าก็ได้ออกผลงานการแสดงในภาพยนตร์เรื่อง "มินิโมนิ เดอะมูฟวี: โอกาชินะ ไดโบเก็น" ที่มีเนื้อเรื่องบางส่วนอธิบายให้ผู้ชมได้รู้ถึงเหตุผลของการออกไปอยู่กับซิกส์ของยางูจิ และการเข้ามาร่วมวงของทากาฮาชิด้วย

นอกจากนั้นแล้ว มินิโมนิยังได้แสดงในละครสั้นเรื่อง "เบรเม็นทาวน์มิวสิเชียนส์" (Brementown Musicians) อีกด้วย โดยบทบาทเด่นในเรื่องนี้ อยู่ที่ ทากาฮาชิ, คาโงะ และสึจิ ส่วนทอดด์ได้ปรากฏตัวอยู่เพียง 2 ตอนแรกของเรื่องเท่านั้น

มินิโมนิเริ่มที่จะมีกลิ่นไอความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นตอนที่พวกเธอออกผลงานเพลงแนวโมเดิร์นอาร์แอนด์บีที่ชื่อ "เครซีอะเบาท์ยู" มาในอัลบั้มที่ 2 "มินิโมนิซองส์ 2"

ในเวลาต่อมา ยางูจิยังได้กลับมาร้องเพลงกับมินิโมนิอีก 3 เพลงด้วยกัน โดย 2 ใน 3 เพลงนั้น เป็นเพลงที่ใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง "มินิโมนิ เดอะมูฟวี: โอกาชินะ ไดโบเก็ง"

จุดสิ้นสุดของมินิโมนิ พ.ศ. 2547 แก้

หลังจากที่มินิโมนิสร้างเพลงซิงเกิลสุดท้ายที่ชื่อ "ลัคกีช่าช่าช่า!" ออกมา จุดอิ่มตัวของมินิโมนิก็เกิดขึ้น เมื่อทอดด์ได้สำเร็จการศึกษาจากมินิโมนิไปในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเดินทางไปศึกษาต่อทางด้านดนตรีที่นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ประกอบกับด้านโนโซมิและคาโงะก็สำเร็จการศึกษาจากมอร์นิงมูซูเมะเพื่อไปตั้งวงดูโอ้ที่ชื่อ "ดับเบิลยู" สุดท้ายมินิโมนิจึงต้องยุบวงอย่างเป็นทางการ เนื่องจากว่าเหลือสมาชิกเพียงคนเดียวคือทากาฮาชิ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2554 ทากาฮาชิได้สำเร็จการศึกษาจากมอร์นิงมูซูเมะและเฮลโล! โปรเจกต์หลังจากเธอที่อยู่กับมอร์นิงมูซูเมะมา 10 ปีในฐานะสมาชิกรุ่นที่ 5 พร้อมกับริซะ นีงากิ

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เพลงของมินิโมนิก็ยังถูกสมาชิกบางคนจากวงไอดอลในเฮลโล! โปรเจกต์นำไปร้องในการแสดงคอนเสิร์ตต่าง ๆ อยู่จนถึงปัจจุบัน

สมาชิก แก้

ไฟล์:มินิโมนิ รุ่นที่ 1.jpg
มินิโมนิ รุ่นที่ 1
(จากซ้าย) โนโซมิ สึจิ, มาริ ยางูจิ, ไอ คาโงะ, มิกะ ทอดด์
ไฟล์:มินิโมนิ รุ่นที่ 2.jpg
มินิโมนิ รุ่นที่ 2
(จากซ้าย) มิกะ ทอดด์, ไอ คาโงะ, ไอ ทากาฮาชิ, โนโซมิ สึจิ

สมาชิกในช่วงปี พ.ศ. 2543 – 2546 แก้

สมาชิกในช่วงปี พ.ศ. 2546 – 2547 แก้

มินิโมนิในสื่ออื่น แก้

ผลงาน แก้

เพลงซิงเกิล แก้

ลำดับ ชื่อเพลง ชื่อภาษาญี่ปุ่น-อังกฤษ วันที่วางจำหน่าย ยอดขายภายในสัปดาห์แรก (ก๊อปปี้) ยอดขายรวม (ก๊อปปี้)
1 มินิโมนิ. จังเก็มเปียวน์!/ฮารุนัตสึอากิฟูยุไดซุกกิ! ミニモニ。ジャンケンぴょん!/春夏秋冬だいすっき! 17 ม.ค. 44 265,270 763,380
2 มินิโมนิ. เทเลโฟน! ริงริงริง/มินิโมนิ. บัสไกด์ ミニモニ。テレフォン!リンリンリン/ミニモニ。バスガイド 12 ก.ย. 44 171,190 341,560
3* มินิฮามูซุโนะไอโนะอูตะ/มินิฮามูซุนตากาตัตตะ! ミニハムずの愛の唄/ミニハムずんたかたった! 5 ธ.ค. 44 70,450 325,440
4 มินิโมนิ. ฮินามัตสึริ!/มินิ. สตรอเบอร์รีพาย ミニモニ。ひなまつり!/ミニ。ストロベリーパイ 30 ม.ค. 45 144,810 265,590
5 ไอ~นไตโซ/ไอ~น! แดนซ์ โนะอูตะ アイ~ン体操/アイ~ン!ダンスの唄 24 เม.ย. 45 93,440 212,230
6 เก็งกิจิรุชิโนะโอโมริ ซอง/โอกาชิซูกุตเตะโอกัซซูอิ! げんき印の大盛りソング/お菓子つくっておっかすぃ~! 27 พ.ย. 45 30,609 53,681
7* มินิฮามูซุโนะเค็กกง ซอง/มินิฮามุคิชะ ミニハムずの結婚ソング/ミニハム汽車 4 ธ.ค. 45 21,612 60,001
8 ร็อคแอนด์โรล เค็นโจโชไซจิ ~โอโบเอไจนะ ซีรีส์~/โอชาเบริซูกิยะเน็ง ロックンロール県庁所在地~おぼえちゃいなシリーズ~/おしゃべりすきやねん 9 เม.ย. 46 25,296 58,084
9 มินิโมนิ. คาโซเอะอูตะ/มินิโมนิ. จังเค็มเปียวน! (2003 เวอร์ชัน) ミニモニ。数え歌/ミニモニ。ジャンケンぴょん!(2003ば~じょん) 14 พ.ค. 46 18,581 29,088
10 เครซีอเบาท์ยู/เรไนอิสชูเน็ง CRAZY ABOUT YOU/恋愛1周年 16 ต.ค. 46 20,578 36,473
11* มิรากูรูรุง แกรนด์ พูริง!/พิ~เฮียระโคตะ (นัตสึมิ อาเบะ ร้องเป็น “พูริงจัง”) ミラクルルン グランプリン!/ピ~ヒャラ小唄 19 พ.ย. 46 8,070 16,410
12 ลัคกีช่าช่าช่า!/เองาโอะโนะดาเตะ, ไซโงะโนะดาเตะ ラッキーチャチャチャ!/笑顔のデート 最後のデート 21 เม.ย. 47 20,543 34,398

หมายเหตุ: * สำหรับเพลงซิงเกิลที่มินิโมนิร้องภายใต้ชื่อของ “มินิฮามูซุ” (เพลงที่ 3 7 และ 11)

อัลบั้ม แก้

ลำดับ ชื่ออัลบั้ม ชื่อภาษาญี่ปุ่น/อังกฤษ วันที่วางจำหน่าย ยอดขายภายในสัปดาห์แรก (ก๊อปปี้) ยอดขายรวม (ก๊อปปี้)
1 มินิโมนิ ซอง ไดเฮียกกะ 1 คัง ミニモニ。ソング大百科1巻 26 มิ.ย. 45 116,040 187,470
2 มินิโมนิจะ มูวีฟ์ โอกาชินะไดโบเก็ง! OST ミニモニ。じゃムービーお菓子な大冒険オリジナルサウンドトラック 19 ก.พ. 46 (ไม่ทราบแน่ชัด) (ไม่ทราบแน่ชัด)
3 มินิโมนิซองส์ 2 ミニモニ。ソングズ2 11 ก.พ. 47 18,863 25,835

เพลงประกอบภาพยนตร์ แก้

ชื่อเพลง ชื่อภาษาญี่ปุ่น/อังกฤษ วันที่วางจำหน่าย
แฮมทาโร่ OST (เพลงที่ 7 และ 25) 劇場版とっとこハム太郎 ハムハムージャ!幻のプリンセス オリジナルサウンドトラック 26 มี.ค. 46

ภาพยนตร์ แก้

  • 21 มี.ค. 46 – มินิโมนิจะ มูวีฟ์ โอกาชินะไดโบเก็ง!

อ้างอิง แก้

  1. "Yaguchi leaves Mini Moni." Japan-Zone.com (30 มี.ค. 2546.) (อังกฤษ)
  2. Ray Mescallado. "Leno and Minimoni." Cult of Pop (อังกฤษ)
  3. "Origin of the "Chipmunk" Clip." Your Opinion Doesn't Count (24 มิ.ย. 2550.) (อังกฤษ)
  4. "Breaking: Dramatic Chipmunk - From Japanese TV Show Hello! Morning." TV in Japan (23 มิ.ย. 2550.) (อังกฤษ)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ข้อมูลทั่วไป
ผลงาน