มิชชาเอล ชูมัคเคอร์

(เปลี่ยนทางจาก มิคาเอล ชูมัคเกอร์)

มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ (เยอรมัน: Michael Schumacher, 3 มกราคม ค.ศ. 1969- ) เป็นนักแข่งรถสูตรหนึ่งชาวเยอรมัน เขาเป็นนักแข่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้รับชัยชนะมากครั้งที่สุด และได้ตำแหน่งแชมป์โลกรถสูตรหนึ่งติดต่อกันเป็นสมัยที่ 7 ในปีค.ศ. 2004ประมาณกันว่าเขาทำรายได้สูงถึง 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งรายได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่รวมไว้ในสัญญาเป็นนักขับให้กับทีมแฟร์รารี รายได้มหาศาลส่วนหนึ่งมาจากสัญญาที่เขาทำกับบริษัทที่ปรึกษานักลงทุนของเยอรมนี (Deutsche Vermögensberatung) ที่ยอมจ่ายให้กับชูมัคเคอร์สูงถึง 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้เขาสวมหมวกนักแข่งที่มีสัญลักษณ์ของบริษัทขนาด 4 นิ้วติดอยู่ มีฉายาว่า ไส้กรอกบิน

มิชชาเอล ชูมัคเคอร์
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก
สัญชาติ เยอรมนี
ช่วงปี19 ฤดูกาล (ค.ศ. 1991 อันดับ 13, ค.ศ. 1992 อันดับ 3, ค.ศ. 1993 อันดับ 4, ค.ศ. 1994 อันดับ 1, ค.ศ. 1995 อันดับ 1, ค.ศ. 1996 อันดับ 3, ค.ศ. 1997 ดิสควอลิฟาย, ค.ศ. 1998 อันดับ 2, ค.ศ. 1999 อันดับ 5, ค.ศ. 2000 อันดับ 1, ค.ศ. 2001 อันดับ 1, ค.ศ. 2002 อันดับ 1, ค.ศ. 2003 อันดับ 1, ค.ศ. 2004 อันดับ 1, ค.ศ. 2005 อันดับ 3, ค.ศ. 2006 อันดับ 2, ค.ศ. 2010 อันดับ 9, ค.ศ. 2011 อันดับ 8, ค.ศ. 2012 อันดับ 13)
Teamsจอร์แดน (Jordan) ค.ศ. 1991,
เบเนตตอน (Benetton) ค.ศ. 1991-1995,
แฟร์รารี (Ferrari) ค.ศ. 1996-2006,
เมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์ (Mercedes GP) ค.ศ. 2010
แข่ง269 ครั้ง
ชนะ91 ครั้ง
โพเดียม155 ครั้ง
ตำแหน่งโพล68 ครั้ง
ทำรอบได้เร็วที่สุด76 ครั้ง
แข่งครั้งแรกเบลเยียมกรังด์ปรีซ์ ค.ศ. 1991
ชนะครั้งแรกเบลเยียมกรังด์ปรีซ์ ค.ศ. 1992

ช่วงต้นของชีวิต

แก้

ชูมัคเคอร์เกิดที่เมืองฮูร์ท-เฮอร์มุลไฮม์ (ใกล้กับนครโคโลญ ประเทศเยอรมนี) เขาเริ่มแข่งรถคาร์ทบนสนามที่บิดาสร้างขึ้นเองในบ้านตั้งแต่อายุสี่ขวบ บิดาของเขา โรล์ฟ ชูมัคเคอร์ เป็นผู้จัดการสนามแข่งรถคาร์ทของท้องถิ่น (ตั้งอยู่ที่เมืองเคอร์เพน บ้านเกิดของชูมัคเคอร์) เขาได้รับใบขับขี่ เมื่ออายุสิบสองปี และได้เริ่มเข้าร่วมการแข่งขันในทันที ในระหว่างปีค.ศ. 1984 และ ค.ศ. 1987 มิชชาเอลชนะการแข่งขันรถคาร์ทในเยอรมนีและในทวีปยุโรปหลายรายการ รวมทั้งการแข่งขันฟอร์มูลาโคนิคซีรีส์ ในปีค.ศ. 1988 ชูมัคเคอร์เข้าแข่งขันในรายการฟอร์มูลาฟอร์ดซีรีส์ และในอีกสองปีต่อมาก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันรถสูตรสามของเยอรมนี ซึ่งเขาชนะการแข่งขันในปีค.ศ. 1990 ในปีค.ศ. 1991 เขายังคงเป็นดาวรุ่งในวงการรถแข่ง และได้เข้าร่วมโครงการแข่งรถเยาวชนของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ในการแข่งขัน เวิลด์ เอนดูแรนซ์ แชมเปียนชิพชนะการแข่งขันในเม็กซิโกซิตีและที่ออโตโพลิส โดยการเป็นนักแข่งให้กับทีม เซาเบอร์-เมอร์เซเดส-เบนซ์ C291 เขายังได้เข้าแข่งในรายการฟอร์มูลา 3000 ของญี่ปุ่น รวมทั้ง รายการเยอรมันทัวริงคาร์เป็นเวลาสั้น ๆ ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990

เริ่มแข่งรถสูตรหนึ่ง

แก้
 
ชูมัคเคอร์ที่อินเดียนาโพลิส ปีค.ศ. 2004

ชูมัคเคอร์ได้เข้าร่วมการแข่งขันรถสูตรหนึ่งครั้งแรกในรายการเบลเยียมกรังปรีซ์ ในปีค.ศ. 1991 ในฐานะนักแข่งตัวสำรองให้กับแบร์ทรอง กาโชต์ที่ถูกจำคุก (ด้วยความผิดข้อหาพ่นสเปรย์ก้าซ CS ใส่หน้าคนขับรถแท็กซี่ในกรุงลอนดอน) เอ็ดดี้ จอร์แดน ได้เซ็นสัญญากับชูมัคเคอร์ให้เข้าร่วมทีมแข่งรถจอร์แดน ในรายการเบลเยียมกรังปรีซ์ ซึ่งชูมัคเคอร์ก็ทำให้ทุกคนประหลาดใจด้วยการควอลิฟายได้เป็นอันดับเจ็ด ในฐานะนักขับมือหนึ่งของรถสูตรหนึ่งรายการแรกของชีวิต ต่อมาเขาก็ได้เข้าร่วมทีมเบเนตอง-ฟอร์ดในการแข่งขันครั้งต่อมา และได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันมากล้นในทันที ในปีถัดมา (ค.ศ. 1992) เขาก็ชนะการแข่งขันรถสูตรหนึ่งรายการแรกที่เบลเยียมกรังปรีซ์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม และได้อันดับที่สามในการจัดอันดับนักแข่งของรายการ

ชูมัคเคอร์ชนะการแข่งขันรถสูตรหนึ่งเป็นฤดูกาลแรกในฐานะนักแข่งทีมเบเนตอง เมื่อปีค.ศ. 1994 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่น่าตื่นเต้นและมีการขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด เขาเอาชนะการแข่งขันในสี่สนามแรกของฤดูกาลได้ และชนะการแข่งขันรวมทุกครั้งในเจ็ดครั้งแรก แต่ในการแข่งขันสนามท้าย ๆ เดมอน ฮิลล์คู่แข่งในขณะนั้น มีอันดับนักแข่งจ่อหลังชูมัคเคอร์มาติด ๆ อันเนื่องมาจากชูมัคเคอร์ต้องออกจากการแข่งขันในบริติชกรังปรีซ์ และเบลเยียมกรังปรีซ์ ชูมัคเคอร์มีคะแนนนำเดมอน ฮิลล์เพียงคะแนนเดียวก่อนเริ่มการแข่งขันในสนามสุดท้ายของฤดูกาลที่ออสเตรเลีย แต่ชูมัคเคอร์ก็สามารถคว้าตำแหน่งแชมป์ของฤดูกาลไปได้หลังจากขับรถชนรถของเดมอน ฮิลล์ ซึ่งทำให้ทั้งคู่ต้องออกจากการแข่งขัน

อย่างไรก็ดี ชูมัคเคอร์สามารถป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกไว้ได้อย่างงดงามในฤดูกาลปีค.ศ. 1995 โดยมีคะแนนรวมทิ้งห่างนักแข่งอันดับที่ 2 (คือ เดมอน ฮิลล์ อีกครั้ง) อยู่ถึง 30 คะแนน ชูมัคเคอร์กับจอห์นนี่ เฮอร์เบิร์ต เพื่อนร่วมทีมได้ช่วยกันผลักดันให้ทีมเบเนตองชนะการแข่งขันในระดับทีมได้เป็นสมัยแรกและสมัยเดียว

ในสองฤดูกาลแรกที่ชูมัคเคอร์เข้าแข่ง เขาชนะการแข่งขัน 17 สนาม ได้ขึ้นโพเดียม 21 ครั้ง ได้ตำแหน่งโพล 10 ครั้ง และในการแข่งขันทั้งหมด 31 ครั้ง มีเพียงครั้งเดียวที่เขาควอลิฟายเพื่อออกสตาร์ทได้ต่ำกว่าอันดับที่ 4

เข้าร่วมทีมแฟร์รารี

แก้
 
ชูมัคเคอร์ที่อินเดียแนพลิส ปีค.ศ. 2005

ในปีค.ศ. 1996 มิชชาเอลได้เซ็นสัญญาเข้าร่วมทีมแข่งรถแฟร์รารี ซึ่งในขณะนั้นนับว่าเป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากแฟร์รารีไม่ได้ชนะมานานแล้ว (ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่มีฐานในอิตาลีรายนี้ไม่ได้ชนะมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษแล้ว) หลังจากการก่อร่างสร้างตัวสองสามปี ชูมัคเคอร์ได้ช่วยให้แฟร์รารีได้แชมป์โลกในส่วนของผู้ประกอบรถยนต์ในปีค.ศ. 1999 อย่างไรก็ดี ความฝันที่จะได้เป็นแชมป์โลกนักขับอีกครั้งของเขาในปีนั้นต้องพังทลายลง ในระหว่างการแข่งขันบริติช กรังปรีซ์ เมื่อรถของเขาประสบอุบัติเหตุชนยับ ทำให้ขาเขาหักและต้องพลาดการแข่งขันอีกหกสนามต่อมา แต่มิชชาเอลก็ได้ทวงความสำเร็จของเขาคืนมาอีกครั้งในปีค.ศ. 2000 ด้วยการได้แชมป์โลกนักขับเป็นสมัยที่สาม (และเป็นแชมป์โลกนักขับคนแรกของทีมแฟร์รารี นับตั้งแต่โจดี้ เชคเตอร์ได้ตำแหน่งนี้ในปีค.ศ. 1979) โดยได้แชมป์โลกนักขับติดต่อกันถึง 5 สมัย คือ ปี ค.ศ. 2000-2004 ก่อนที่จะแขวนพวงมาลัยในปี ค.ศ. 2006

กลับมาลงแข่งอีกครั้งกับทีม เมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์

แก้
 
ชูมัคเคอร์ในปี 2011

มิชชาเอลได้กลับมาลงแข่งขันรถสูตรหนี่งอีกครั้งในปี ค.ศ. 2010 โดยลงแข่งให้ทีมเมอร์เซเดส กรังด์ปรีซ์ ก่อนที่จะแขวนพวงมาลัยอีกครั้งในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งเขาสามารถทำได้แค่คว้าตำแหน่งโพเดี้ยมแค่ครั้งเดียวที่สนามบาเลนเซีย ประเทศสเปน ในปี ค.ศ. 2012

อุบัติเหตุสกี

แก้

มิชชาเอลได้บาดเจ็บสาหัสในวันที่ 29 ธันวาคมปี 2013 ขณะที่เขาเล่นสกีในรีสอร์ทส่วนตัวที่เทือกเขาแอลป์ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นเขาได้พลาดหัวฟาดกับก้อนหินอย่างรุนแรง ทำให้มิชชาเอลได้รับอาการบาดเจ็บอย่างสาหัสหลังจากอาทิตย์ก่อนหน้านั้นมิชชาเอลได้ประสบอุบัติเหตุทางมอเตอร์ไซด์ที่เซบีญ่า ประเทศสเปนแต่ไม่เป็นอะไรมาก โดยทีมแพทย์กล่าวว่าอาการของเขาหนักหนาสาหัสมาก และเตรียมใจไว้ว่าเขาอาจจะไม่ฟื้นกลับมาอีก หลังจากเกิดอุบัติเหตุทีมแพทย์ได้ทำการผ่าตัดถึง 2 ครั้ง และล่าสุดมิชชาเอลได้รู้สึกตัวแล้ว และต้องทำการกายภาพบำบัดอีกต่อไป และได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้