มาร์การิดาแห่งพรอว็องส์ (ภาษาอังกฤษ: Margaret of Provence; ค.ศ.1221 - 20 ธันวาคม ค.ศ.1295) เป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสจากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 9

มาร์การิดาแห่งพรอว็องส์
พระราชินีคู่สมรสแห่งฝรั่งเศส
ดำรงพระยศ27 พฤษภาคม ค.ศ.1234 - 25 สิงหาคม ค.ศ.1270
ราชาภิเษก28 พฤษภาคม ค.ศ.1234
ประสูติฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1221
ฟอร์แกลคิเยร์, แอลป์-เดอ-อูต์-พรอว็องส์
สวรรคต20 ธันวาคม ค.ศ.1295 (พระชนมายุ 74 ชันษา)
ปารีส
ฝังพระศพแซ็งด์เดอนีส์บาซิลิกา
คู่อภิเษกพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส
พระราชบุตร
ดูรายละเอียด...
อิซาเบลลา ราชินีแห่งนาวาร์
หลุยส์แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
จอห์น ทริสต็อง เคานต์แห่งวาลัวส์
ปิแอร์ เคานต์แห่งแปช
บล็องช์ อินฟานตาแห่งคาสตีล
มาร์การิดา ดัชเชสแห่งบราบง
โรแบต์ เคานต์แห่งแคลร์มง
แอ็กเนส ดัชเชสแห่งเบอร์กันดี
ราชวงศ์บาร์เซโลนา
พระราชบิดาราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งพรอว็องส์
พระราชมารดาเบียทริซแห่งซาวัว
ศาสนาโรมันคาทอลิก

ชีวิตวัยเด็ก แก้

มาร์การิดาประสูติในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ.1221 ในฟอร์แกลคิเยร์[1] พระองค์เป็นคนโตในบุตรสาวสี่คนของราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งพรอว็องส์ กับเบียทริซแห่งซาวัว พระขนิษฐาของพระองค์คือพระราชินีเอเลนอร์แห่งอังกฤษ, พระราชินีซ็องเจียแห่งเยอรมนี และพระราชินีเบียทริซแห่งซิซิลี พระองค์สนิทสนมกับเอเลนอร์เป็นพิเศษ ด้วยมีอายุใกล้เคียงกัน และด้วยความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันจนโต[2]

พระราชินี แก้

ใน ค.ศ.1233 บล็องช์แห่งคาสตีลส่งหนึ่งในอัศวินของพระองค์มาพรอว็องส์ ส่วนหนึ่งเพื่อถ่วงดุลสร้างความลำบากใจให้แก่เรย์มงด์ที่ 7 เคานต์แห่งตูลูส และอีกส่วนหนึ่งเพื่อยลโฉมมาร์การิดา ที่ความสง่าและความงามเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง มาร์การิดากับบิดาของพระองค์ดูแลอัศวินเป็นอย่างดี และหลังจากนั้นไม่นานบล็องช์ก็เจรจากับเคานต์แห่งพรอว็องส์ ขอลูกสาวมาอภิเษกสมรสกับกษัตริย์ มาร์การิดาได้รับเลือกให้เป็นคู่ที่เหมาะสมของกษัตริย์จากการอุทิศตนให้กับศาสนาและมารยาทตามแบบราชสำนักมากกว่าความงาม พระองค์ได้รับการอารักขาไปลียงโดยบิดามารดาเพื่อแต่งงานตามสนธิสัญญาที่จะได้รับการลงนาม จากที่นั่น พระองค์ได้รับการอารักขาไปที่งานอภิเษกสมรสของพระองค์ในซ็องซ์โดยพระมาตุลาจากซาวัว วิลเลี่ยมกับโธมัส ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1234 ด้วยพระชนมายุ 13 ชันษา มาร์การิดากลายเป็นพระมเหสีของหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระราชินีคู่สมรสแห่งฝรั่งเศส[3] พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎในวันต่อมา[1] งานอภิเษกสมรสและการราชาภิเษกเป็นพระราชินีถูกเฉลิมฉลองที่มหาวิหารแห่งซ็องซ์[3]

การแต่งงานเป็นการแต่งงานที่ยากลำบากครั้งหนึ่งในหลายๆแง่[3] บล็องช์ยังคงมีอิทธิพลอย่างมากเหนือพระโอรส และจะมีไปตลอดพระชนม์ชีพ[4] สัญญาณแห่งอำนาจของพระองค์คือ หลังงานอภิเษกสมรสไม่นาน บล็องช์ไล่พระมาตุลาของมาร์การิดากับข้ารับใช้ตั้งแต่วัยเด็กที่พระองค์พามาด้วยกลับไป มาร์การิดาไม่พอใจบล็องช์และบล็องช์ก็ไม่พอใจพระองค์เช่นกันตั้งแต่เริ่มต้น[3]

มาร์การิดานั้น เช่นเดียวกับพี่น้องหญิงของพระองค์ ถูกกล่าวถึงในเรื่องของความงาม พระองค์ถูกพูดถึงว่า "งดงาม มีผมสีดำและตาสวย"[5] และในช่วงปีแรกๆของการอภิเษกสมรส พระองค์กับหลุยส์ที่ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นต่อกัน ผู้สารภาพบาปนิกายฟรานซิสกันของพระองค์ วิลเลี่ยม เดอ แซ็งต์ แปธุส เล่าว่าในคืนที่หนาวเย็น มาร์การิดาจะวางเสื้อคลุมลงบนบ่าของหลุยส์ ในยามที่สามีผู้ศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้าของพระองค์ลุกขึ้นมาสวดมนต์ อีกเกร็ดประวัติศาสตร์ที่บันทึกโดยแซ็งต์ ปาธุส เล่าว่ามาร์การิดารู้สึกว่าเสื้อผ้าที่ธรรมดาของหลุยส์ไม่สมพระเกียรติ ซึ่งหลุยส์ตอบกลับว่าพระองค์จะใส่เสื้อผ้าตามที่มาร์การิดาต้องการ หากมาร์การิดาใส่เสื้อผ้าตามที่พระองค์ต้องการ

ทั้งคู่เพลิดเพลินกับการขี่ม้า, อ่านหนังสือ และฟังดนตรีด้วยกัน ความสนใจของหลุยส์และราชสำนักพุ่งไปที่พระราชินีคนใหม่จนทำให้บล็องช์อิจฉา และพระองค์ตั้งหน้าตั้งตาทำให้กษัตริย์กับพระราชินีแยกห่างจากกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ช่วงครูเสดครั้งที่เจ็ด แก้

มาร์การิดาร่วมเดินทางกับหลุยส์ไปทำครูเสดครั้งที่เจ็ด (ครั้งแรกของทั้งคู่) พระขนิษฐาของพระองค์ เบียทริซ ก็ร่วมเดินทางด้วย แม้ตอนแรกการทำครูเสดจะประสบผลสำเร็จ อย่างเช่นการยึดแดมิเอ็ตต้าได้ใน ค.ศ.1249 แต่มันกลายเป็นหายนะหลังพระอนุชาของกษัตริย์ถูกฆ่าและกษัตริย์ถูกจับตัว

พระราชินีมาร์การิดามีส่วนในการเจรจาและรวบรวมเงินให้มากพอกับค่าไถ่ตัวของพระองค์ พระองค์จึงเป็นผู้หญิงคนเดียวที่เคยเป็นผู้นำในการทำครูเสดในช่วงเวลาสั้นๆ ใน ค.ศ.1250 ขณะที่ในแดมิเอ็ตต้า พระองค์ประสูติพระโอรส ฌ็อง ทริสต็อง[6][7]

นักเขียนพงศาวดาร ฌ็อง เดอ จอยน์วีลล์ เล่าเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญชาญชัยของมาร์การิดาหลังหลุยส์ตกเป็นนักโทษในอียิปต์: พระองค์กระทำการอย่างเด็ดขาดเพื่อหาอาหารมาให้ชาวคริสต์ในแดมิเอ็ตต้า และทำถึงขั้นขอให้อัศวินที่คุ้มกันห้องนอนของพระองค์ฆ่าพระองค์กับพระโอรสที่เพิ่งเกิดเสียหากเมืองตกเป็นของชาวอาหรับ พระองค์ยังโน้มน้าวคนที่กำลังจะไปให้อยู่ปกป้องแดมิเอ็ตต้า จอยน์วีลล์ยังเล่าเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของมาร์การิดา ในเหตุการณ์หนึ่งที่จอยน์วีลล์ส่งเสื้อผ้าดีๆไปให้พระองค์และในตอนที่พระราชินีเห็นคนส่งของของเขาถือมันเข้าไป พระองค์คุกเข่าลงด้วยความเข้าใจผิดคาดว่าเขาเอาโบราณวัตถุศักดิ์สิทธิ์มาให้ ในตอนที่รู้ตัวว่าตนเข้าใจผิด พระองค์ระเบิดหัวเราะออกมาและสั่งกับคนส่งของว่า "บอกนายของเจ้าว่าวันที่เลวร้ายรอเขาอยู่ โทษฐานที่ทำให้ข้าคุกเข่าให้คาเมลีนของเขา"

ทว่าจอยน์วีลล์ให้ข้อคิดเห็นด้วยความไม่เห็นด้วยอย่างสังเกตเห็นต่การที่พระเจ้าหลุยส์แทบไม่เคยถามถึงพระมเหสีกับพระโอรสธิดา ในช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในช่วงของพายุที่เลวร้ายในการเดินทางจากการทำครูเสดกลับฝรั่งเศสทางทะเล มาร์การิดาขอร้องให้จอยน์วีลล์ช่วยพระองค์ เขาบอกให้พระองค์สวดมนต์ขอให้แคล้วคลาด และปฏิญาณว่าเมื่อไปถึงฝรั่งเศส พระองค์จะทำการจาริกแสวงบุญและเสนอเรือทองคำที่มีภาพของกษัตริย์ พระองค์เอง และพระโอรสธิดาให้เป็นการขอบคุณที่ช่วยให้หนีจากพายุมาได้ มาร์การิดาตอบเพียงว่าพระองค์ไม่กล้าปฏิญาณโดยที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตจากกษัตริย์ เพราะเมื่อไหร่ที่หลุยส์จับได้ว่าพระองค์ทำเช่นนั้น พระองค์จะไม่ยอมให้มาร์การิดาทำการจาริกแสวงบุญ ในท้ายที่สุด จอยน์วีลล์สัญญากับพระองค์ว่าหากพระองค์ทำการปฏิญาณ เขาจะทำการจาริกแสวงบุญแทนพระองคค์ และเมื่อทั้งคู่ไปถึงฝรั่งเศสเขาก็ทำตามที่บอก[8][9]

ความสำคัญทางการเมือง แก้

ความเป็นผู้นำของพระองค์ในช่วงครูเสดนำมาซึ่งเกรียรติคุณในระดับนานาชาติและหลังจากกลับมาฝรั่งเศส มาร์การิดามักถูกขอให้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง แม้พระองค์จะกลัวความทะเยอทะยานของพระอนุชาของพระสวามี ชาร์ล แต่ก็ได้เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสายสัมพันธ์กับพระขนิษฐา เอเลนอร์ กับพระสวามี พระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 แห่งอังกฤษ เป็นการถ่วงน้ำหนัก ใน ค.ศ.1254 พระองค์กับพระสวามีเชื้อเชิญทั้งคู่มาใช้เวลาช่วงคริสต์มาสในปารีส

ต่อมาใน ค.ศ.1259 สนธิสัญญาปารีส ก็เกิดขึ้นเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างหลุยส์กับเฮนรี่ที่ 3 แห่งอังกฤษได้พัฒนามากขึ้น มาร์การิดาปรากฏตัวในช่วงที่มีการเจรจา พร้อมกับพี่น้องผู้หญิงทุกคนของพระองค์และมารดา

ในปีหลังๆ หลุยส์เริ่มรำคาญกับความทะเยอทะยานของมาร์การิดา ดูเหมือนว่าการเมืองหรือไม่ก็การทูตทำให้พระองค์จำเป็นต้องทะเยอทะยาน แต่ค่อนไปในทางไม่เหมาะสม ทูตอังกฤษที่ปารีสในยุค 1250 รายงานต่ออังกฤษ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความรังเกียจ ว่า "พระราชินีแห่งฝรั่งเศสพูดจาและมีพฤติกรรมที่น่าเบื่อ" และจากรายงานของทูตเรื่องการสนทนากับพระราชินีชัดเจนว่าพระองค์พยายามสร้างโอกาสให้ตนเองที่แม้แต่ทูตเองก็ไม่ประทับใจในความพยายามของพระองค์ หลังการสวรรคตของพระโอรสคนโต หลุยส์ ใน ค.ศ.1260 มาร์การิดาชี้ชวนพระโอรสองค์รองลงมา ฟิลิป ให้ปฏิญาณว่าไม่ว่าพระองค์จะได้สืบทอดต่อบัลลังก์ตอนอายุเท่าใดก็ตาม พระองค์จะยังคงอยู่ภายใต้การอนุบาลของพระองค์ไปจนกว่าจะพระชนมายุ 30 ชันษา เมื่อหลุยส์ทราบถึงเรื่องการปฏิญาณนี้ พระองค์ขอพระสันตะปาปาทันที ให้ยกโทษให้ฟิลิปที่กล่าวคำปฏิญาณด้วยเหตุผลที่ว่าตัวฟิลิปเองไม่มีอำนาจที่จะกระทำ และพระสันตะปาปายอมทำตามทันที สุดท้ายความพยายามของมาร์การิดาทำให้ตัวพระองค์เองกลายเป็นบล็องช์แห่งคาสตีลคนที่สอง มาร์การิดาล้มเหลวอย่างต่อเนื่องในการใช้อิทธิพลให้พระนัดดา เอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ หลีกเลี่ยงการแต่งงานของหนึ่งในพระธิดาที่จะยิ่งสร้างข้อได้เปรียบในพรอว็องส์ บ้านเกิดของพระองค์ ให้กับพระขนิษฐภรรดา ชาร์ลแห่งอ็องฌู ที่อภิเษกสมรสกับพระขนิษฐาคนเล็กของพระองค์ เบียทริซ

พระราชินีม่าย แก้

หลังการสิ้นพระชนม์ของหลุยส์ในครูเสดครั้งที่สองของพระองค์ใน ค.ศ.1270[3] ในช่วงที่มาร์การ์เร็ตยังคงอยู่ในฝรั่งเศส พระองค์กลับไปพรอว็องส์ มาร์การิดาเป็นบุคคลที่เคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้นหลังการสิ้นพระชนม์[3] เอ็มเมอร์สันเขียนว่าพระองค์รีบเร่งเป็นพิเศษในการตั้งกองทหารขึ้นมาปกป้องสิทธิ์ของพระองค์ในพรอว็องส์ ที่ซึ่งพระอนุชาของพระสวามีของพระองค์ ชาร์ลแห่งอ็องฌู ยังคงรักษาอำนาจทางการเมืองและการควบคุมดินแดนไว้ได้หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสี ขัดกับความตั้งใจของเคานต์คนก่อนที่ตายใน ค.ศ.1245[3] พระองค์ซื่อสัตย์ต่อพระขนิษฐา พระราชินีเอเลนอร์แห่งอังกฤษ และทั้งคู่ยังคงติดต่อกันจนกระทั่งเอเลนอร์สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ.1291 ปีท้ายๆของพระองค์ถูกใช้ไปกับการทำงานในทางศาสนา รวมไปถึงการก่อตั้งสำนักชีนิกายฟรานซิสกันแห่งลูร์ซินส์ใน ค.ศ.1289[3] ตัวมาร์การิดาเองสิ้นพระชนม์ในปารีส ที่อารามพัวร์แคลร์ที่พระองค์ได้ก่อตั้ง[10] เมื่อ 20 ธันวาคม ค.ศ.1295 ด้วยพระชนมายุ 74 ชันษา พระองค์ถูกฝังอยู่ใกล้ๆ (แต่ไม่ได้ติดกัน) กับพระสวามีในบาซิลิกาแห่งแซ็งต์เดอนีส์นอกปารีส

พระโอรสธิดา แก้

มีพระโอรสธิดากับพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส 11 คน[3]

  1. บล็องช์ (ค.ศ.1240 - 29 เมษายน ค.ศ.1243)
  2. อิซาเบลลา (2 มีนาคม ค.ศ.1241 - 28 มกราคม ค.ศ.1271) อภิเษกสมรสกับเธโอบาลด์แห่งนาวาร์
  3. หลุยส์ (25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1244 - มกราคม ค.ศ.1260)
  4. ฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส (1 พฤษภาคม ค.ศ.1245 - 5 ตุลาคม ค.ศ.1285) อภิเษกสมรสครั้งแรกกับอิซาเบลลาแห่งอารากอน ที่มีพระโอรสธิดากับพระองค์ รวมถึงฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับชาร์ล เคานต์แห่งวาลัวส์; อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับมาเรียแห่งบราบงต์ ที่มีพระโอรสธิดากับพระองค์ รวมถึงมาร์การิดาแห่งฝรั่งเศส
  5. จอห์น (ประสูติและสิ้นพระชนม์ในค.ศ.1248)
  6. จอห์น ทริสต็อง (ค.ศ.1250 - 3 สิงหาคม ค.ศ.1270) ประสูติในอียิปต์ในครูเสดครั้งแรกของพระบิดา และสิ้นพระชนม์ในตูนิเซียในครูเสดครั้งที่สองของพระบิดา
  7. ปิแอร์ (ค.ศ.1251-1284)
  8. บล็องช์ (ค.ศ.1253-1323) แต่งงานกับแฟร์ดินันด์ เดอ ลา เซร์ดา อินฟานเตแห่งคาสตีล
  9. มาร์การิดา (ค.ศ.1254-1271) แต่งงานกับจอห์นที่ 1 ดยุคแห่งบราบงต์
  10. โรแบต์ เคานต์แห่งแคลร์มงต์ (ค.ศ.1256 - 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1317) แต่งงานกับเบียทริซแห่งเบอร์กันดี เลดี้แห่งบราบงต์ ที่มีบุตรกับพระองค์ กษัตริย์บูร์บงแห่งฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพระองค์ผ่านทางสายเพศชาย
  11. แอ็กเนส (ค.ศ.1260 - 19 ธันวาคม ค.ศ.1327) แต่งงานกับโรแบต์ที่ 2 ดยุคแห่งเบอร์กันดี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Richardson 2011, p. 121.
  2. Howell 2001, p. 3.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 Emmerson 2013, p. 448.
  4. Shadis 2010, p. 17-19.
  5. Costain 1951, p. 125-126.
  6. Joinville 1963, p. 262-263.
  7. Hodgson 2007, p. 167-170.
  8. Joinville 2008.
  9. Hodgson 2007, p. 105-106, 120-125.
  10. Robson 2007, p. 328.