มาร์ค ทิลเดน (อังกฤษ: Mark W. Tilden) เป็นนักวิทยาการหุ่นยนต์ และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของผู้บุกเบิกแนวคิดทางในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่มีการเคลื่อนที่ซับซ้อนแต่ใช้การออกแบบวงจรทางไฟฟ้าที่เรียบง่าย โดยหุ่นยนต์ของทิวเดนส่วนใหญ่มักจะใช้วงจรแอนะล็อกอย่างง่าย (อย่างเช่น อุปกรณ์เปรียบเทียบ (Comparator) และออสซิลเลเตอร์ (Oscillator))ในการสร้างสัญญาณสั่งให้ตัวขับ (actuator) ทำงานได้ และไม่ได้อาศัยไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมและประมวลผลสัญญาณ[1] ซึ่งต่อมาแนวคิดดังกล่าวได้รับการต่อยอดเป็นแนวคิดที่เรียกว่า หุ่นยนต์แบบ BEAM นอกจากนี้ ทิลเดนยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่มีชื่อว่า โรโบซาเปี้ยน (Robosapien) ผลิตโดยบริษัท WowWee

มาร์ค ทิลเดน
มาร์ค ทิลเดน กันยายน ค.ศ. 2006
มีชื่อเสียงจากหุ่นยนต์แบบ BEAM, โรโบซาเปี้ยน (RoboSapien)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิทยาการหุ่นยนต์

ประวัติ แก้

ทิวเดนเกิดที่สหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1961 แต่เติบโตในแคนาดา และเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู (University of Waterloo) ต่อมาเข้าทำงานที่ห้องทดลองแห่งชาติ ลอส อลามอส (Los Alamos National Laboratory)[1]ซึ่งระหว่างนี้ ทิวเดน ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์อย่าง SATbot ซึ่งมีความสามารถในการจัดเรียงตัวเองได้ตามแนวสนามแม่เหล็กของโลก นอกจากนี้ยังพัฒนาทฤษฎีและการประยุกต์โครงข่ายประสาทเทียม[1], ยานสำรวจระหว่างดาวเคราะห์, การศึกษาพฤติกรรมบนหุ่นยนต์แบบ BEAM[1] ที่ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ปัจจุบัน ทิวเดน ทำงานเป็นนักออกแบบหุ่นยนต์อิสระในฮ่องกง, ที่ปรึกษา และวิทยากร

ผลงาน[2] แก้

ในบรรดาผลงานที่เป็นสินค้าของบริษัท WowWee ผลงานที่เป็นที่รู้จักมักจะเป็นหุ่นยนต์แบบชีวรูป (biomorphic robot) ได้แก่ B.I.O. Bugs (2001), Constructobots (2002), G.I Joe Hoverstrike (2003), โรโบซาเปี้ยน (RoboSapien) (2004), โรโบซาเปี้ยน วี 2 (Robosapien v2) (2005), โรโบแรปเตอร์ (Roboraptor) (2005), โรโบเพ็ต (Robopet) (2005), โรโบแรปไทน์ (Roboreptile) (2006), RS Media (2006,พัตนาร่วมกับ ดาวิน ซูเฟอร์ (Davin Sufer) และ แมกซ์เวล โบรก์ (Maxwell Bogue) ), โรโบควอด (Roboquad) (2007), โรโบโบอา (Roboboa) (2007), เฟอร์มิซาเปี้ยน (Femisapien) (2008), โจบ๊อต (Joebot) (2009),และ รูมสคูพเพอร์ (Roomscooper) (2010) [3] ทิวเดน ยังเคยปรากฏตัวสือโทรทัศน์ อย่างเช่น สารคดี "Robots Rising" (ช่อง Discovery), "The Shape of Life" (ช่อง PBS), "TechnoSpy" (ช่อง TLC), "Extreme Machines - Incredible Robots" (ช่อง TLC), "The Science behind Star Wars" (ช่อง Discovery) และในสือสิ่งพิมพ์ และสือออนไลน์ และยังเคยเป็นที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคให้แก่หนังเรื่อง Lara Croft: Tomb Raider ในปี ค.ศ. 2001 นอกจากนี้หุ่นยนต์ของทิวเดน ยังปรากฏในหนังและละครโทรทัศนหลายเรื่อง อาทิ เช่น The 40 Year Old Virgin, Paul Blart Mall Cop, X-Men: The Last Stand และเป็นอุปกรณ์ประกอบฉากประจำซีรีส์ Big Bang Theory

กฎสามข้อของหุ่นยนต์โดย มาร์ค ทิลเดน แก้

มาร์ค ทิลเดน ได้เคยนิยามกฎสามข้อของหุ่นยนต์ที่แตกต่างจาก กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ของไอแซค อสิมอฟ ไว้ว่า [4][5][6]

*A robot must protect its existence at all costs.

หุ่นยนต์ต้องปกป้องการดำรงอยู่ของมันอย่างเต็มกำลัง

  • A robot must obtain and maintain access to its own power source.

หุ่นยนต์ต้องเสาะแสวงหาและปกปักษ์รักษาแหล่งพลังงานของมัน

  • A robot must continually search for better power sources.

หุ่นยนต์เสาะแสวงหาแหล่งพลังงานที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ

ในนิตยสารวาย (Wired magazine)[7] มาร์ค ทิลเดนได้ถอดความใหม่เป็นภาษาที่กระชับขึ้น

*Protect thine ass.

จงรู้รักษ์ตนเอง

  • Feed thine ass.

จงหาอาหารของเจ้า

  • Look for better real estate.

จงหาอาหารที่ดีกว่าเดิม

ความโดดเด่นของกฎดังกล่าวอาจมองว่าเป็นกฎของสัตว์ป่า โดยสาระสำคัญที่ ทิวเดนพยายามจะสือคือ "การสร้างสปีชีส์ใหม่จากซิลิกอน ซึ่ง ไม่ใช่พืช ไม่ใช่สัตว์ แต่เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากนั้น" ("proctoring a silicon species into sentience, but with full control over the specs. Not plant. Not animal. Something else."[8])

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ผลงานตีพิมพ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Living Machines
  2. "บทความเกี่ยวกับประวัติและผลงานของ มาร์ค ทิลเดน โดย Thomas Marsh ในนิตยสาร "Robot" ฉบับประจำเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-03. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
  3. เว็บทางการของ WowWee
  4. Ashley Dunn. "Machine Intelligence, Part II:From Bumper Cars to Electronic Minds เก็บถาวร 2004-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" The New York Times 5 June 1996. Retrieved 26 July 2009.
  5. Hapgood, Fred (September 1994), "Chaotic Robotics", Wired (2.09){{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  6. makezine.com: A Beginner's Guide to BEAM เก็บถาวร 2011-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Most of the article is subscription-only content.)
  7. Hapgood, Fred (September 1994), "Chaotic Robotics", Wired (2.09){{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  8. "[1]"
[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ Tilden, Mark}
ชื่ออื่น "BotGod"
รายละเอียดโดยย่อ Large enough to influence tides.
วันเกิด 1961
สถานที่เกิด Stroud, England
วันตาย
สถานที่ตาย