มาร์กอ เพกอวิช

นักร้องชาวโครเอเชีย

มาร์กอ เพกอวิช (โครเอเชีย: Marko Perković, 27 ตุลาคม พ.ศ. 2509) เป็นนักร้องและนักดนตรีแนวร็อกชาวโครเอเชีย และเป็นหัวหน้าวงดนตรีทอมป์สันตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เขาเป็นที่รู้จักจากเพลงที่มีเนื้อหาความเป็นชาตินิยมโครแอตและกลายเป็นสัญลักษณ์ของการเมืองฝ่ายขวาจัดในโครเอเชีย เพลงของเขาที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ บอจนาชาวอกลาเว ซึ่งวางจำหน่ายครั้งแรกใน พ.ศ. 2535

มาร์กอ เพกอวิช
เพกอวิชแสดงสดในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013
เกิด (1966-10-27) 27 ตุลาคม ค.ศ. 1966 (57 ปี)
ชาวอกลาเว สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
สัญชาติโครเอเชีย
อาชีพนักร้อง-นักแต่งเพลง
ปีปฏิบัติงาน1991–ปัจจุบัน
คู่สมรส
บุตร5
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลงโครเอเชียเรเคิดส์
อดีตสมาชิกทอมป์สัน

ประวัติ แก้

เขาเกิดที่หมู่บ้านขนาดเล็กในชาวอกลาเว ประเทศโครเอเชียในขณะที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เขาเข้าร่วมขบวนการปลดปล่อยประเทศโครเอเชียและเป็นทหารประจำการในช่วงสงครามประกาศเอกราชของโครเอเชียและในช่วงเวลานี้ เข้าได้เข้าสู่วงการเพลงโดยมีผลงานเพลงที่เป็นที่รู้จัก อาทิ บอจนาชาวอกลาเว (2535)[1], อาลีเจกนินซกากรายีจา (2538) เป็นต้น โดยเนื้อหาเพลงของเขาส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่มีความเป็นชาตินิยมของโครเอเชีย และเขาเป็นสัญลักษณ์ของการเมืองฝ่ายขวาจัดในโครเอเชียสมัยใหม่ ซึ่งทำให้เขาและวงดนตรีของเขาถูกระงับการแสดงสดในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์[2] ประเทศออสเตรีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[3] และประเทศสโลวีเนีย[4] ด้วยเหตุผลที่เพลงของเขาที่มีเนื้อหาความรุนแรงและแสดงออกในการสนับสนุนลัทธิฟาสซิสต์[5][6]

เขาเคยคบหากับดานิเยลา มาร์ตินอวิชนักร้องหญิงชาวโครเอเชียก่อนที่จะเลิกรากัน[7] และสมรสใหม่กับซานดรา ลอกิชชาวโครแอตเชื้อสายแคนาดา โดยเขาและลอกิชมีบุตรและธิดารวม 5 คน ทั้งนี้เขายังถือหุ้นร้อยละ 20 ของสถานีวิทยุของโครเอเชียอย่างนารอดานี เรดิโอ[8] และเคยแสดงคอนเสิร์ตต่อหน้าสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เมื่อ พ.ศ. 2552[9]

ผลงาน แก้

สตูดิโออัลบั้ม แก้

อัลบั้มรวมเพลง แก้

อ้างอิง แก้

  1. Milekic, Sven (6 August 2015). "Croats Chant Anti-Serb Slogans at Nationalist Concert". Balkan Insight. BIRN.
  2. "Thompson - domoljub ili fašist? Konačan odgovor je..." Index.hr. 28 December 2003. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  3. "Thompson održao koncert u Švicarskoj, više ga ne optužuju da veliča fašiste" [Thompson held a concert in Switzerland, they are no longer accusing him of glorifying fascists]. Večernji list. 8 December 2015.
  4. Petkovič, Blaž (17 May 2017). "V Mariboru prepovedali koncert; Thompson se bo obrnil na diplomacijo". vecer.com.
  5. Anamarija Kronast (29 September 2009). "Ne žele "fašiste": Thompsonu zabranjen koncert i ulaz u Švicarsku" [They want no "fascists": Thompson's concert banned and entry to Switzerland declined]. Nacional. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2012. สืบค้นเมื่อ 18 April 2012.
  6. "Croatia scores own goal after World Cup success". Financial Times. 21 July 2018. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
  7. Morić, Danijela-Ana (18 October 2016). "Danijela i Thompson: Kemija raspjevanih bivših supružnika". Tportal.hr (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ 13 November 2020.
  8. "Thompson kupio 20% Narodnog radija za 4000 kuna". Index.hr (ภาษาโครเอเชีย). 14 April 2004. สืบค้นเมื่อ 3 April 2012.
  9. "Papa primio Thompsona dan prije Mesića" [Thompson received by Pope before Mesić] (ภาษาโครเอเชีย). Dnevnik.hr. สืบค้นเมื่อ 18 April 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้