มาริโอ (ตัวละคร)
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
มาริโอ (ญี่ปุ่น: マリオ; โรมาจิ: Mario) เป็นตัวละครจากวิดีโอเกมและการ์ตูนมาริโอ และเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทเกมนินเทนโด สร้างโดยนักออกแบบวิดีโอชื่อ ชิเงรุ มิยาโมโตะ หลังจากได้เป็นสัญลักษณ์นำโชคให้กับบริษัทและเป็นตัวเอกของเกมชุดแล้ว มาริโอได้ปรากฏตัวในวิดีโอเกมต่าง ๆ กว่า 200 เกม มาริโอถูกออกแบบให้เป็นช่างประปาชาวอิตาลีร่างอ้วนเตี้ย อาศัยอยู่ในอาณาจักรเห็ด มีภารกิจคือการช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชจากเต่าวายร้ายชื่อคุปปะ มาริโอมีน้องชายชื่อ ลุยจิ นอกจากนี้เขายังปรากฏในวิดีโอเกมแนวอื่น ๆ เช่น แนวรถแข่ง เช่นเกมชุด มาริโอคาร์ต (Mario Kart) เกมแนวกีฬา เช่นเกมชุด มาริโอเทนนิส และ มาริโอกอล์ฟ เกมแนวสวมบทบาทของนินเทนโด เช่นเกมชุด เปเปอร์มาริโอ และ ซูเปอร์มาริโออาร์พีจี และเกมเพื่อการศึกษา เช่น มาริโออิซมิสซิง! และมาริโอสไทม์แมตชีน แฟรนไชส์มาริโอยังได้ต่อยอดไปยังสื่อต่าง ๆ มากมาย เช่น รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และสินค้ามีลิขสิทธิ์ต่าง ๆ อีกด้วย ผู้พากย์เสียงเขาคือชาลส์ มาร์ทิเน พากย์ตั้งแต่ปี 1995[3]
มาริโอ | |
---|---|
ตัวละครใน มาริโอ | |
มาริโอในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส | |
ปรากฏครั้งแรก | ดองกีคอง ค.ศ. 1981 |
สร้างโดย | ชิเงรุ มิยาโมโตะ |
ออกแบบโดย | ชิเงรุ มิยาโมโตะ โยชิ โคตาเบะ ชิเงฟูมิ ฮิโนะ |
แสดงโดย | ลู อัลบาโน (เดอะซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ซูเปอร์โชว์!) บ็อบ ฮอสกินส์ (ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส) |
ให้เสียงโดย | อังกฤษ: ชาลส์ มาร์ทิเน (1995 - 2023)[1] คริส แพร็ตต์ (เดอะ ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส มูฟวี่) เควิน อัฟกานี (2023 - ปัจจุบัน)[2] ญี่ปุ่น: โทรุ ฟูรูยะ (1996-1998; Super Mario Bros.: The Great Mission to Rescue Princess Peach! และ Amada Anime Series: Super Mario Bros.) ไทย: ภูเบศ พัฒน์ปรีชา (เดอะ ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส มูฟวี่) |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
ชื่อเต็ม | มาริโอ |
นามแฝง | ซูเปอร์มาริโอ |
เผ่าพันธุ์ | มนุษย์ |
เพศ | ชาย |
อาชีพ | ช่างไม้ (เกมดองกีคอง) ช่างประปา หมอ (ซีรีส์ดอกเตอร์มาริโอ) |
ครอบครัว | |
คนสำคัญ | เจ้าหญิงพีช |
ญาติ | คิโนะปิโอะ (เพื่อนสนิท) |
บ้านเกิด | บรุกริน อาณาจักรเห็ด |
สัญชาติ | อิตาลี |
บ้านเกิด | บรุกลิน อาณาจักรเห็ด |
แนวคิดและการสร้าง
แก้ชิเงรุ มิยาโมโตะ ได้สร้างตัวละครมาริโอขึ้นขณะกำลังพัฒนาเกม ดองกีคอง (Donkey Kong) เพื่อพยายามที่จะสร้างวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดให้กับบริษัทนินเทนโด หลังจากเกมประเภทเกมตู้ก่อนหน้านี้ที่ชื่อ Sheriff ไม่ประสบความสำเร็จอย่างเกม Pac-Man เมื่อแรกเริ่มนั้น มิยาโมโตะอยากสร้างวิดีโอเกมโดยใช้ตัวละคร ป๊อปอาย (Popeye) บลูโต (Bluto) และโอลีฟ ออยล์ (Olive Oyl)[4] แต่ในเวลานั้น เขาไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตัวละครเหล่านี้ (และไม่ได้รับอนุญาตจนถึง ค.ศ. 1982) เขาจึงตัดสินใจคิดทำตัวละครชื่อ จัมป์แมน (Jumpman) (หรือในเวลาต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีว่า มาริโอ) ดองกี้คอง (Donkey Kong) และ พอลีน (Pauline)[4] โดยในด่านแรก ๆ ของเกมดองกีคองก์ มาริโอยังกระโดดไม่ได้ และมุ่งเป้าไปที่การหาทางออกจากเขาวงกตให้ได้ อย่างไรก็ดี มิยาโมโตะทำให้มาริโอกระโดดได้ พร้อมกล่าวว่า “ถ้าคุณเจอลังไม้กลิ้งมาหาคุณ คุณจะทำอย่างไรดี”[5][6]
เดิมที มิยาโมโตะเคยตั้งชื่อมาริโอว่า "มิสเตอร์วิดีโอ" (Mr.Video) และถูกนำมาใช้ในทุกวิดีโอที่มิยาโมโตะพัฒนา[7] จากเรื่องเล่าที่แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง ในระหว่างการจำหน่ายเกมดองกีคองให้ลูกค้าในอเมริกาเหนือ เจ้าของพื้นที่คลังเก็บสินค้าของนินเทนโดที่ชื่อ มาริโอ ซีเกล ได้เรียกค่าเช่ากับมิโนรุ อาราคาวะ ผู้ซึ่งเป็นประธานบริษัทในเวลาต่อมา หลังจากการโต้เถียงที่ในที่สุดพนักงานของนินเทนโดก็รับปากซีเกลว่าจะจ่ายค่าเช่าให้ พวกเขาจึงเลือกที่จะตั้งชื่อตัวละครนี้ว่า มาริโอ ตามชื่อของเขา[8][9]
มิยาโมโตะให้ความเห็นว่าถ้าเขาตั้งชื่อมาริโอว่า "มิสเตอร์วิดีโอ" มาริโออาจจะ "หายสาปสูญไปจากโลกนี้" แล้ว ด้วยความตั้งใจของเขา เขาเลือกอาชีพของมาริโอให้เหมาะกับรูปแบบของเกม เนื่องจากฉากในเกมดองกีคองก์เป็นเขตการก่อสร้าง มาริโอจึงมีอาชีพเป็นช่างไม้ เมื่อเขาปรากฏตัวอีกครั้งในเกมมาริโอบราเธอร์ส เขาได้รับเลือกให้เป็นช่างประปา เนื่องจากเกมส่วนใหญ่เป็นฉากใต้ดิน ในการออกแบบตัวละครมาริโอ โดยเฉพาะจมูกโตของเขานั้น ถูกวาดตามแบบจากอิทธิพลชาวตะวันตก เมื่อเขาได้เป็นช่างประปา มิยาโมโตะตัดสินใจกำหนดให้เขาอยู่ในนครนิวยอร์ก และให้เขาเป็นชาวอิตาลี โดยจงใจบ่งบอกสัญชาติผ่านหนวดเคราของเขา ในแหล่งอื่น มีการเลือกอาชีพของมาริโอให้เป็นช่างไม้เพื่อพรรณนาตัวละครให้เป็นคนทำงานหนักและเพื่อให้ผู้เล่นระบุถึงตัวเขาได้ง่าย หลังจากเพื่อนร่วมงานชี้ว่ามาริโอดูคล้ายคลึงกับช่างประปามากกว่า มาริโอจึงเปลี่ยนอาชีพของมาริโอตามนั้นและพัฒนาเกมมาริโอบราเธอร์ส โดยนำเสนอตัวละครในท่อระบายน้ำของนครนิวยอร์ก
เนื่องจากข้อจำกัดด้านกราฟิกของฮาร์ดแวร์อาเคดขณะนั้น มิยาโมโตะจึงใส่เสื้อให้มาริโอเป็นชุดคลุมสีแดงและเสื้อเชิ้ตสีฟ้าให้ขัดกันเองและขัดกับพื้นหลัง หมวกแก๊ปสีแดงถูกเพิ่มเข้าไปเพื่อให้มิยาโมโตะไม่ต้องออกแบบทรงผม หน้าผาก และคิ้ว รวมถึงเพื่อเลี่ยงปัญหาการเคลื่อนไหวของทรงผมในขณะกระโดด[4][10] เพื่อให้เขาดูเป็นมนุษย์อยู่ในจอทั้งๆ ที่ตัวเล็ก มาริโอจึงมีคุณลักษณะที่แตกต่างชัดเจน นั่นคือจมูกใหญ่อันโดดเด่นและหนวดเครา เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการวาดปากและสีหน้าให้กับตัวละครตัวเล็กๆบนจอ[11]
มิยาโมโตะพัฒนามาริโอด้วยแนวคิดในการใช้เขาเป็นตัวละคร "เดินไปยัง" (go to) ที่สามารถนำไปใส่ไว้ในฉากใดก็ได้ตามต้องการ แม้ในฉากความคิดก็ตาม เพราะขณะนั้น มิยาโมโตะไม่ได้คาดหวังให้มาริโอเป็นที่นิยม[7] เพื่อให้เป็นอย่างนั้น แรกเริ่มเขาเรียกตัวละครนี้ว่า "มิสเตอร์วิดีโอ" เทียบกับความตั้งใจที่จะให้มาริโอปรากฏในฉากความคิดที่สร้างโดยอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ในภาพยนตร์ของฮิตช์ค็อกเอง[12] เมื่อเวลาผ่านไป[13] การปรากฏตัวของมาริโอเริ่มมีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น โดยมีการเพิ่มถุงมือสีขาว รองเท้าสีน้ำตาล และตัวอักษร M สีแดงในวงกลมสีขาวบนด้านหน้าของหมวก และกระดุมสีทองบนชุดคลุม สีของเสื้อและชุดคลุมเคยสลับจากเสื้อเชิ้ตสีฟ้ากับชุดคลุมสีแดงเป็นเสื้อเชิ้ตสีแดงและชุดคลุมสีฟ้า มิยาโมโตะระบุว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลจากทีมงานและฝ่ายศิลป์ของแต่ละเกมรวมถึงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีในตามเวลาที่ผ่านไป นินเทนโดไม่เคยเปิดเผยชื่อเต็มของมาริโอ กล่าวเพียงว่าไม่ใช่ "มาริโอ มาริโอ" แม้ว่าจะมีการบอกเป็นนัยๆในชื่อซีรีส์มาริโอบราเธอร์ส ในซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ภาพยนตร์ และข้อมูลที่เคยให้ไว้ในคู่มือเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซาก้า ของพรีมา[14]
การปรากฏตัว
แก้ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1990
แก้มาริโอปรากฏตัวครั้งแรกในนาม "จัมป์แมน" (Jumpman) ในเกมอาร์เคดที่ชื่อ ดองกีคอง ในปี ค.ศ. 1981[4] ในคราบของช่างไม้ที่เลี้ยงลิงตัวหนึ่ง[15]ชื่อ ดองกีคอง (Donkey Kong) เขาเลี้ยงดูลิงตัวนั้นอย่างทารุณ ต่อมาดองกีคองก์จึงหลบหนีไปพร้อมกับลักพาตัวแฟนสาวของจัมป์แมน (เดิมรู้จักกันในชื่อ เลดี้ และต่อมามีชื่อว่า พอลลีน (Pauline)) ไปด้วย ตัวผู้เล่นจะต้องรับบทเป็นจัมป์แมนและช่วยเหลือผู้หญิงคนนั้น ต่อมาตัวละครนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "มาริโอ" ในเกมอาร์เคด ดองกีคองจูเนียร์ ของปี ค.ศ. 1982 เป็นเกมเดียวที่เขาเป็นตัวร้าย ในเกมอาร์เคด มาริโอบราเธอร์ส ของปี ค.ศ. 1983 มาริโอและน้องชายชื่อ ลุยจิ (Luigi) ถูกพรรณนาให้เป็นช่างประปา[16]ลูกครึ่งอิตาลีอเมริกัน[10]ที่เอาชนะสัตว์ประหลาดที่ออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้นครนิวยอร์ก ชื่อท้ายของพวกเขาในตอนนั้นคือ "มาริโอ" ทำให้ชื่อเต็มของมาริโอที่ปรากฏครั้งแรกในที่นี้คือ "มาริโอ มาริโอ"[17]
ในเกม ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส บนเครื่องเล่นนินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเต็ม หรือแฟมิคอม มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงโทดสตูล (Princess Toadstool) (ต่อมารู้จักกันในชื่อเจ้าหญิงพีช (Princess Peach)) แห่งอาณาจักรเห็ดจากราชาคุปปะ (King Koopa)[18] เพื่อช่วยเจ้าหญิงโทดสตูล มาริโอฝ่าฟันด่านในอาณาจักรเห็ดถึง 8 ด่าน โดยเข้าไปในปราสาทเพื่อโจมตีลูกน้องของราชาคูป้า ก่อนจะถึงปราสาทแต่ละหลังนั้น มาริโอต้องฝ่าฟันด่านย่อย 3 ด่านเพื่อโจมตีสมุนของราชาคุปปะ ถ้ามาริโอฝ่าฟันไปถึงปราสาทได้สำเร็จและเอาชนะตัวลูกน้องได้ เขาจะได้ปล่อยตัวคิโนะปิโอะ เห็ดรับใช้แห่งอาณาจักรเห็ด ได้หนึ่งตัว[19] ในปราสาทหลังที่แปด มาริโอจะได้ต่อสู้กับราชาคุปปะและปล่อยตัวเจ้าหญิงโทดสตูล ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 ผู้เล่นสามารถเลือกได้ระหว่างมาริโอ ลุยจิ คิโนะปิโอะ หรือเจ้าหญิงพีช โดยตัวละครแต่ละตัวจะมีความสามารถพิเศษโดดเด่นคนละอย่าง (ลุยจิกระโดดได้สูง โทดขุดดินได้เร็วที่สุด และเจ้าหญิงพีชลอยตัวได้) ส่วนมาริโอนั้นมีความสามารถรอบด้านมากกว่า ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 มาริโอมีภารกิจช่วยผู้ปกครองแห่งอาณาจักรทั้งเจ็ดจากคุปปะและโคกุปปะ เหล่าลูกสมุนของเขา และมาริโอท่องไปในด่านต่าง ๆ 8 ด่านเพื่อเรียกความสงบสุขกลับคืนยังโลกของเห็ดและช่วยเหลือเจ้าหญิงพีช[20] มีการเปิดตัวพาวเวอร์อัพใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับมาริโอด้วย[21]
ค.ศ. 1989 - ค.ศ. 1995
แก้ในเกม ซูเปอร์มาริโอแลนด์ ปรากฏมนุษย์ต่างดาวชื่อ ทาทังกะ (Tatanga) สะกดจิตผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ซาราซาแลนด์ (Sarasaland) ให้หลับและจับตัวผู้ปกครองเมืองชื่อเจ้าหญิงเดซี (Princess Daisy) ไป จากนั้นมาริโอจึงเริ่มออกเดินทางช่วยชีวิตเธอจากทาทังกะ ท่องเที่ยวไปยังเขตพื้นที่แห่งซาราซาแลนด์ 4 เขตและเอาชนะสมุนของทาทังกะไปตลอดทาง ในที่สุดเขาก็ต้อนทาทังกะให้จนมุมได้บนท้องฟ้าในอาณาจักรไช (Chai Kingdom) ทำให้ยานรบมนุษย์ต่างดาวร่วงลงมาและช่วยชีวิตเดซีไว้ได้[22] ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ มาริโอและลุยจิพาเจ้าหญิงพีชไปเที่ยวในโลกไดโนเสาร์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งหลังเหตุการณ์ของเกม ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 ในระหว่างการท่องเที่ยว พีชถูกคุปปะลักพาตัวไป มาริโอและลุยจิได้พบกับตระกูลยอชชี ตระกูลไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในโลกไดโนเสาร์ พวกเขาได้ช่วยนำตัวพีชกลับมาโดยให้มาริโอและลุยจิขี่บนหลัง[23] ในเกม ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเด้น คอนส์ ที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นทันทีหลังเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์ภาคก่อนหน้า ด้านปีศาจของมาริโอชื่อ วาริโอ ได้ร่ายเวทมนตร์ไปยังมาริโอแลนด์ขณะที่มาริโอกำลังอยู่ในซาราซาแลนด์ และเปลี่ยนชื่อพื้นที่นั้นเป็นวาริโอแลนด์ ผู้อยู่อาศัยถูกล้างสมองให้เชื่อว่าวาริโอคือหัวหน้าและมาริโอเป็นศัตรู เป้าหมายของวาริโอคือเข้ายึดครองปราสาทของมาริโอเพื่อให้เป็นของตนเอง เพื่อที่หยุดวาริโอ มาริโอได้หาเหรียญทองคำ 6 เหรียญรอบๆ มาริโอแลนด์และได้เข้าไปยังปราสาทของตนอีกครั้ง ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ 2: ยอชชีส์ไอส์แลนด์ นกกระสาตัวหนึ่งได้แบกตัวเบบีมาริโอและเบบีลุยจิข้ามทะเล แต่ปีศาจเมจิคูป้าชื่อ คาเมค (Magikoopa Kamek) ได้ขโมยตัวเบบีลุยจิไป ส่วนเบบีมาริโอตกลงไปบนเกาะที่ชื่อ ยอชชีส์ไอส์แลนด์ บ้านเกิดของตระกูลยอชชี ชื่อยอชชี หลังจากมาริโอได้พบกับตระกูลยอชชี พวกเขาได้เดินทางผ่าน 6 ด่านเพื่อช่วยชีวิตเบบีลุยจิและนกกระสาจากเบบีคุปปะและคาเมค
ค.ศ. 1996 - ค.ศ. 2002
แก้มาริโอเปิดตัวในรูปแบบ 3 มิติในเกมซูเปอร์มาริโอ 64 [24] เจ้าหญิงพีชส่งจดหมายชวนมาริโอให้ไปร่วมกินเค้กที่ปราสาทของเธอ[25] อย่างไรก็ตามเมื่อเขาไปถึง มาริโอพบว่าคุปปะได้บุกรุกปราสาทและกักขังตัวเจ้าหญิงและบริวารของเธอไว้ด้วยพาวเวอร์สตาร์ 120 ดวง ภาพวาดในปราสาทจำนวนมากเป็นประตูหลายมิติที่จะนำไปสู่แดนอื่นๆ ที่ลูกสมุนของคุปปะคอยป้องกันดวงดาวไว้ มาริโอสำรวจประสาทและแดนอื่น ๆ เพื่อเก็บดวงดาวคืนมา เขาเข้าไปในประตูหลายมิติหลายบานเพื่อให้ได้ดาวหลายดวง[26] และฝ่าฟันอุปสรรค 3 ด่าน นำเขาไปสู่การต่อสู้กับคุปปะ การเอาชนะคุปปะ 2 ครั้งแรกจะทำให้ได้รับกุญเจไขชั้นใหม่ของปราสาท[27] ขณะที่ในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายจะปล่อยตัวพีช ซึ่งต่อมาได้อบเค้กให้รางวัลแก่มาริโออย่างที่เธอได้สัญญากับเขาไว้[27][28]
ในเกมซูเปอร์มาริโอซันไชน์ มาริโอ โทดสเวิร์ธ และเจ้าหญิงพีชได้ไปเที่ยวพักร้อนที่หมู่เกาะเดลฟิโน (Isle Delfino) หมู่เกาะในเขตร้อนแห่งหนึ่ง มีบุคคลหน้าคล้ายมาริโอ รู้จักในชื่อ แชโดว์มาริโอ หรือมาริโอเงา (Shadow Mario) ใช่แปรงสีเวทมนตร์ก่อความวินาศและสร้างมลพิษให้กับเกาะทั้งเกาะ การก่อความวุ่นวายนี้เป็นเหตุให้ภูติส่องสว่างหนีไปจากเมือง เดลฟิโนพลาซ่า และปล่อยให้เกาะถูกความมืดปกคลุม มาริโอผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเรื่อง ถูกเจ้าหน้าที่ของเกาะจับกุมและสั่งให้เก็บกวาดหมู่เกาะเดลฟิโน มาริโอพาอุปกรณ์ชื่อ FLUDD อุปกรณ์สายฉีดน้ำหุ่นยนต์ประดิษฐ์ขึ้นโดยศาสตราจารย์เอลวิน แกดด์ (Professor E. Gadd , Professor Elvin Gadd (ชื่อเต็ม)) ซึ่งเขาเอาไว้ใช้ทำความสะอาดมลพิษและเก็บตัวภูติส่องสว่าง[29] ขณะเดียวกัน พีชถูกมาริโอเงาจับตัวไป ซึ่งต่อมาเขาเปิดเผยตนว่าเป็นคุปปะจูเนียร์ ลูกของคุปปะ ในที่สุดมาริโอก็เผชิญหน้ากับคุปปะและคุปปะจูเนียร์และช่วยชีวิตเจ้าหญิงได้สำเร็จ เมื่อเกาะถูกเก็บกวาดสะอาดแล้ว มาริโอกับพีชก็เริ่มพักร้อนต่อไป[30]
ค.ศ. 2006 - ปัจจุบัน
แก้มาริโอก้าวเข้าสู่รูปแบบ 2.5 มิติในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ขณะที่มาริโอและพีชเดินเล่นด้วยกันไปในอาณาจักรเห็ด คุปปะจูเนียร์ จับตัวพีชและหนีไป[31] มาริโอวิ่งไล่ฝ่าฟันผ่านด่าน 8 ด่าน ในที่สุดมาริโอก็ไล่ตามทันและเอาชนะคุปปะและคุปปะจูเนียร์และช่วยเหลือพีชไว้ได้[32] ในเกมซูเปอร์มาริโอกาแล็คซี มาริโอได้รับเชิญจากเจ้าหญิงพีชให้ไปงานสตาร์เฟสติวัลครบรอบ 100 ปีในอาณาจักรเห็ด[33] เมื่อมาถึง คุปปะบุกเข้ามาในอาณาจักรและทำลายปราสาทของพีชออกเป็นเสี่ยงๆ และโยนออกนอกโลก หลังจากไม่สามารถป้องกันเจ้าหญิงจากการลักพาตัวได้ มาริโอพบกับสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายดาวชื่อว่า ลูมัส และสหายชื่อ โรซาลินา โรซาลินาบอกมาริโอว่าคุปปะได้ขโมยพาวเวอร์สตาร์ (Power Star) แหล่งพลังงานของหอดูดาวเคลื่อนที่ของโรซาลินา และได้พาตัวพีชไป ณ ศูนย์กลางจักรวาล มาริโอเดินทางไปยังกาแล็คซี่ทั้งหลายเพื่อนำพาวเวอร์สตาร์กลับมา และนำพลังงานกลับคืนสู่หอดูดาว และนำตัวเจ้าหญิงพีชกลับมา[34] ในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส วี เกม 2.5 มิติอีกหนึ่งเกม มาริโอ ลุยจิ และโทด 2 ตัวเข้าร่วมงานวันเกิดของเจ้าหญิงพีช ขณะเดียวกัน คุปปะจูเนียร์และโคกุปปะอีก 7 ตัวแอบซุ่มดูเจ้าหญิงและลักพาตัวเธอไป มาริโอ ลุยจิ และโทด 2 ตัวไล่ตามพวกนั้นผ่าน 8 ด่าน เอาชนะคูปาลิงส์ทีละตัว พวกมาริโอเผชิญหน้ากับคุปปะได้ในที่สุด เอาชนะและนำตัวเจ้าหญิงกลับมาได้[35] ในเกมซูเปอร์มาริโอกาแล็กซี 2 คุปปะที่ใช้พาวเวอร์สตาร์แปลงร่างเป็นยักษ์ เข้าโจมตีอาณาจักรเห็ดและลักพาตัวพีช และพาตัวเธอไป ณ จุดศูนย์กลางของจักรวาล ด้วยความช่วยเหลือของลูมัส มาริโอขับยานอวกาศมาริโอซึ่งเป็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่ได้มีรูปเป็นหัวของเขาเอง ท่องเที่ยวไปยังกาแล็คซี่ทั้งหลายและรวบรวมพาวเวอร์สตาร์เพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กับยาน หลังจากต่อสู้กับคุปปะและคุปปะจูเนียร์หลายครั้ง ในที่สุดมาริโอก็มาถึงที่ซ่อนของคุปปะที่ศูนย์กลางจักรวาล เอาชนะเขาและช่วยชีวิตเจ้าหญิงได้[36] ในปี ค.ศ. 2012 มาริโอกลับมาในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 ซึ่งเขาเก็บเหรียญได้ 1 ล้านเหรียญที่กระจายอยู่ทั่วอาณาจักรเห็ดเพื่อช่วยเหลือเจ้าหญิงพีชจากการควบคุมของคุปปะและโคกุปปะ มาริโอกลับมาอีกครั้งเพื่อเอาชนะคุปปะและลูกสมุนในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ยู
เกมมาริโออื่นๆ
แก้เกมมาริโอในแนวเกมอื่นประกอบด้วยเกมบนเครื่องเล่นประเภท เกมแอนด์วอตช์ จำนวนมาก เช่น มาริโอพินบอลแลนด์ เกมพินบอลบนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์[37] เกมแนวประกอบการศึกษามากมาย และเกม ด็อกเตอร์มาริโอ เกมคอมพิวเตอร์แนวแก้ปริศนา (ซึ่งเกมด็อกเตอร์มาริโอออกจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990) [38] ในเกมเหล่านี้ ด็อกเตอร์มาริโอจะโยนเม็ดยาวิตามินลงมาและผู้เล่นจะต้องจัดเรียงเพื่อทำลายเชื้อไวรัสที่อยู่บนพื้น[38] เกมซูเปอร์มาริโออาร์พีจี: เลเจนด์ออฟเดอะเซเวนสตาร์ส ของปี ค.ศ. 1996 บนเครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม เป็นเกม มาริโอ แนวบทบาทสมมุติเกมแรก[39] มีอีก 7 เกมออกตามมา รวมไปถึงเกมในชุด เปเปอร์มาริโอ 4 เกม (เปเปอร์มาริโอ บนเครื่องนินเทนโด 64, เปเปอร์มาริโอ: เดอะเธาซันด์เยียร์ดอร์ บนเครื่องนินเทนโด เกมคิวบ์, ซูเปอร์เปเปอร์มาริโอ บนเครื่องวี และเปเปอร์มาริโอ: สติ๊กเกอร์สตาร์ บนเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส) และเกมในชุด มาริโอแอนด์ลุยจิ อีก 4 เกม (มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซากา บนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์, มาริโอแอนด์ลุยจิ: พาร์ตเนอร์สอินไทม์ และมาริโอแอนด์ลุยจิ: บาวเซอร์สอินไซด์สตอรี บนเครื่องนินเทนโดดีเอส และมาริโอแอนด์ลุยจิ: ดรีมทีม บนเครื่อง 3ดีเอส)
มีชุดเกมย่อยของ มาริโอ จำนวนมากออกจำหน่าย โดยเฉพาะชุดเกมที่ได้แรงบันดาลใจจากกีฬาชนิดต่างๆ แฟรนไชส์เกม มาริโอคาร์ท เริ่มด้วยเกม ซูเปอร์มาริโอคาร์ท บนเครื่องซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเต็มในปี ค.ศ. 1992 เป็นแฟรนไชส์เกมแนวรถแข่งโกคาร์ตที่ประสบความสำเร็จและอยู่ได้นานที่สุดในขณะนี้[40] เกมมาริโอแนวกีฬาอื่น ๆ เช่น เกมชุด มาริโอกอล์ฟ และ มาริโอเทนนิส ที่พัฒนาโดย คาเมล็อต เกม มาริโอซูเปอร์สตาร์เบสบอล และ ซูเปอร์มาริโอสไตรเกอร์ ซึ่งเป็นเกมกีฬาเบสบอลและฟุตบอลตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1999 เกมชุด มาริโอปาร์ตี้ พัฒนาโดย ฮัดสัน เริ่มออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโด 64 ตัวเกมจะวนเวียนอยู่กับชุดของมินิเกมและเล่นได้ 4 คน มาริโอแอนด์โซนิคแอตดิโอลิมปิกเกมส์ ออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโดดีเอส และวี เป็นชุดคอลเลคชันของเหตุการณ์ที่อิงจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง ที่ตัวละครจากชุด โซนิคเดอะเฮดจ์ฮอก ของเซก้า แข่งขันกันตัวละครจาก มาริโอ ตามมาด้วยเกมปี ค.ศ. 2009 มาริโอแอนด์โซนิคแอตดิโอลิมปิกวินเทอร์เกมส์ บนเครื่องเล่นทั้งสองเครื่อง อิงจากโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ที่แวนคูเวอร์ มีเกมแนวกีฬาอีก 2 เกมออกมาสำหรับเครื่องวี ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 2011 คือ มาริโอสปอร์ตสมิกซ์ และเกมมาริโอแอนด์โซนิคเกมที่สาม มาริโอแอนด์โซนิคแอตเดอะลอนดอนโอลิมปิก 2012 เกม ออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 อิงจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน
ในสื่ออื่น
แก้นอกจากผลงานที่เกี่ยวกับเกมแพลตฟอร์มและเกมเสริมแล้ว มาริโอยังปรากฏในวิดีโอเกมอื่น ๆ เช่น ไมค์ไทสันสพันช์เอาต์ โดยมาริโอเป็นกรรมการห้ามมวย[41] มาริโอยังปรากฏในฐานะตัวละครที่เล่นได้ในเกม เอ็นบีเอสตรีตวี3[42] และ เอสเอสเอ็กซ์ออนทัวร์[43] ของอิเล็กทรอนิกส์อาร์ตทั้งสองเกม เขาปรากฏตัวอยู่ในภาพวาดในเกมเดอะเลเจนด์ออฟเซลด้า: อะลิงก์ทูเดอะพาสต์ และ เดอะเลเจนด์ออฟเซลด้า: โอคาริน่าออฟไทม์ และในเกม เมทัลเกียร์โซลิด: เดอะทวินสเนคส์ เขาปรากฏตัวเป็นรูปปั้นขนาดเล็ก
มาริโอปรากฏในเกมชุด ซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส ทุกเกม[44] และยังใช้ความสามารถพิเศษเดิมเมื่อต้องต่อสู้กับตัวละครจากเกมชุดอื่น[45] เกมนี้ยังรวมถึงตัวละครจากมาริโอตัวอื่น ๆ ไอเทม และด่านต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีมาริโอรูปแบบใหม่ ด็อกเตอร์มาริโอ และเมทัลมาริโอ ปรากฏในเกมชุดนี้ด้วย
รายการโทรทัศน์ เดอะซูเปอร์มาริโอบราเธอร์สซูเปอร์โชว์! และภาพยนตร์ที่ใช้คนเล่นเรื่อง ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ซึ่งทั้งคู่มีเนื้อเรื่องอ้างอิงจากชุดวิดีโอเกมนี้ ได้นำตัวละครมาริโอออกทางโทรทัศน์และวงการภาพยนตร์ ในรายการโทรทัศน์ได้ "กัปตัน" ลู อัลบาโน แสดงเป็นมาริโอ และในภาพยนตร์ ได้ บ็อบ ฮอสคินส์ แสดงเป็น มาริโอ มาริโอ ช่างประปาที่พบว่าตนเองอยู่ในโลกที่ไดโนเสาร์ยึดครอง ซึ่งเขาต้องช่วยรักษาโลกจากการบุกรุก[46] นอกจากเกมดั้งเดิม รายการโทรทัศน์ และภาพยนตร์ มาริโอยังมีอิทธิพลในการผลิตสินค้าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ และปรากฏในวัฒนธรรมสมัยนิยม ชุดหนังสือการ์ตูนนินเทนโดโคมิกส์ซิสเต็ม รวมถึงนินเทนโดแอดเวนเจอร์บุ๊คส์ ก็สร้างขึ้นจากมาริโอเช่นกัน
ในพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ระหว่างการนำเสนอของญี่ปุ่น เจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้แต่งกายเป็นมาริโอ และปรากฏตัวกลางสนามโดยใช้ท่อวาร์ปจากแยกชิบุยะ มายังสนามกีฬามารากานัง[47]
ลักษณะเด่น
แก้ในตอนแรกนั้นมาริโอได้ถูกออกแบบออกมาโดยใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกที่เรียกว่าสไปรต์แบบ 2 มิติ แต่เกมที่ออกมาภายหลัง เขาได้เปลี่ยนเป็นแบบ 3 มิติหลายเหลี่ยม เขาเป็นช่างประปาร่างท้วม อาศัยอยู่กับน้องชายที่สูงกว่าเขาชื่อ ลุยจิ (Luigi) ในดินแดนของอาณาจักรเห็ด[4][48][49] ในรายการโทรทัศน์บอกว่า มาริโอและลุยจิมาจากบรูคลิน น้อยคนนักที่จะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัยเด็กของมาริโอ แม้ว่าจะมีมาริโอในรูปแบบทารกชื่อ เบบีมาริโอ ปรากฏครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ 2: ยอชชีส์ไอส์แลนด์ และประกฏในเกมกีฬาของนินเทนโดหลายเกมตั้งแต่นั้นมา เบบีมาริโอมีบทบาทหลักคู่กับเบบีลุยจิในเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: พาร์ทเนอร์อินไทม์ และปรากฏในเกม ยอชชีส์ไอส์แลนด์ดีเอส เขา (และมาริโอผู้ใหญ่) ได้รับพากย์เสียงจาก ชาร์ลส มาร์ติเนต [50]
อาชีพและงานอดิเรก
แก้มาริโอมีอาชีพเป็นช่างประปา แต่ในเกมดองกีคอง เขาเป็นช่างไม้[51] มาริโอยังมีอาชีพต่าง ๆ อีกมากมาย ในเกมชุดดอกเตอร์มาริโอ ที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 1990 มาริโอมีอาชีพเป็นหมอชื่อ "ดอกเตอร์มาริโอ"[52] ในเกมมาริโอสพิครอส บนเครื่องเกมบอย มาริโอเป็นนักโบราณคดี และในเกม มาริโอ vs. ดองกีคองก์ 2: มาร์ชออกเดอะมินิส มาริโอเป็นประธานบริษัทผลิตของเล่น [53] มาริโอยังเป็นนักกีฬาในเกมแนวกีฬาต่าง ๆ เช่น มาริโอฮูปส์ 3-ออน-3, ซูเปอร์มาริโอสไตรเกอร์, และมาริโอซูเปอร์สลักเกอร์ส รวมถึงนักขับรถโกคาร์ตในเกมชุดมาริโอคาร์ต มาริโอมักจะช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชและอาณาจักรเห็ด และกำจัดเหล่าวายร้ายอย่าง เบาเซอร์ จากดินแดนต่าง ๆ มาริโอได้รับการกล่าวขายในอาณาจักรเห็ดเนื่องจากการกระทำเยี่ยงวีรบุรุษ ดังเช่นในเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซากา ที่สองพี่น้องได้รับการพูดถึงให้เป็น "ดารา"[54]
ความสัมพันธ์
แก้ตั้งแต่เกมแรก มาริโอมีบทบาทในการช่วยเหลือสาวเอ๊าะเดือดร้อน[48] เดิมทีนั้น เขาจะต้องช่วยชีวิตแฟนสาวชื่อ พอลีน ในเกมดองกีคองก์ จากตัวดองกีคองก์[55] ต่อมาพอลีนถูกแทนที่เป็นสาวเอ๊าะเดือดร้อนคนใหม่ในนาม เจ้าหญิงพีช ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส[4] แต่พอลีนกลับมาในเกมดองกีคองก์เวอร์ชันรีเมกบนเครื่องเกมบอย ในปี ค.ศ. 1994 และในเกมมาริโอ vs. ดองกีคองก์ 2: มาร์ชออฟเดอะมินิส ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเกมบรรยายว่าเป็น "เพื่อนของมาริโอ"[56] มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชหลายครั้งนับตั้งแต่เกม "ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส"[48] ในเกม ซูเปอร์ปริ้นเซสพีช มีการสลับบทบาทกันให้เจ้าหญิงพีชเป็นคนช่วยชีวิตมาริโอแทน[57] มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงเดซีแห่งดินแดนซาราซาราแลนด์ในเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์[58] แต่ดูเหมือนว่าลุยจิจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเธอมากกว่า ในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส เมเล มีข้อความอธิบายเกี่ยวกับของที่ระลึกของเดซีกล่าวว่า "หลังจากที่เธอปรากฏตัวในเกมมาริโอกอล์ฟ มีการซุบซิบว่าเธอคือคำตอบของลุยจิถึงเจ้าหญิงพีชของมาริโอ"[59]
ลุยจิ เป็นน้องชายของมาริโอ เขาเป็นเพื่อนร่วมทางในเกมมาริโอหลายเกม[49] และเป็นตัวละครตัวที่สองที่ผู้ที่สองสามารถควบคุมได้ในโหมดเล่นสองคน[60] แต่เขาเคยช่วยชีวิตมาริโอเป็นบางครั้ง อย่างที่เห็นในเกม มาริโออิสมิสซิง และ ลุยจิสมิชชัน[61] วาริโอ ด้านมืดจอมตะกละของมาริโอ กลับมาอีกครั้งในเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเดนคอยน์ส บนเครื่องเกมบอย มักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อมาริโอหรือตัวเอกปฏิลักษณ์[62] ยอชชี ไดโนเสาร์ที่มีชื่อสปีชีส์เป็นยอชชีเช่นกัน ตัวของยอชชีมีได้หลายสี แต่ดั้งเดิม ยอชชีมีสีเขียว[63] ยอชชีเป็นผู้รับใช้มาริโอในเกมอย่าง ซูเปอร์มาริโอเวิลด์[63] และถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ประหลาดที่มีความรู้สึกมากขึ้นในเกมอย่าง ซูเปอร์มาริโอคาร์ต และยอชชีส์ไอแลนด์
ความสามารถ
แก้ระหว่างการพัฒนาเกมดองกีคอง คนรู้จักมาริโอในชื่อ จัมป์แมน การกระโดดทั้งเพื่อเข้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ และเพื่อโจมตี ถือเป็นคุณสมบัติทั่วไปของระบบการเล่นเกมมาริโอ โดยเฉพาะเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ก่อนที่ซูเปอร์มาริโออาร์พีจี: เลเจนด์ออฟเดอะเซเวนสตาร์ส จะออกจำหน่าย การกระโดดกลายเป็นเอกลักษณ์ของมาริโอซึ่งผู้เล่นมักจะทดสอบด้วยการกระโดด เพื่อพิสูจน์ให้ตัวละครที่ไม่ใช่ผู้เล่นรู้ว่าเขาคือมาริโอ การโจมตีโดยทั่วไปของมาริโอคือการกระโดดกระทืบหัวของศัตรู พบครั้งแรกในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส การกระโดดกระทืบนี้อาจจะบดขยี้ศัตรูตัวเล็ก และอาจใช้กับศัตรูตัวที่ใหญ่กว่า บางครั้งก่อให้เกิดผลต่อเนื่อง[4] การโจมตีนี้ทำให้มาริโอเอาชนะเต่าคูป้าทรูป้า ทำให้หัวมุดเข้าหรือออกจากกระดอง และใช้กระดองเป็นอาวุธได้[4] เกมที่ตามมาได้ปรับเปลี่ยนความสามารถในการกระโดดของมาริโอ เกมซูเปอร์มาริโอเวิลด์ เพิ่มการกระโดดหมุนตัว ทำให้มาริโอทำลายก้อนอิฐข้างใต้ได้ ในเกมดองกีคอง เวอร์ชันเกมบอย ทำให้มาริโอกระโดดได้สูงขึ้นด้วยการกระโดดต่อเนื่องกลางอากาศ และทำการพลิกตัวกลับได้ ในเกมซูเปอร์มาริโอ 64 มาริโอได้รับความสามารถใหม่ ๆ เช่นการตีลังกาไถข้าง การแตะพื้น และการกระโดดเตะกำแพง ซึ่งช่วยดันตัวเขาให้สูงขึ้นด้วย
การตอบรับและสิ่งสืบทอด
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ "We have a message for fans of the Mushroom Kingdom. Please take a look". ทวิตเตอร์. 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Kevin Afghani revealed as the new voice of Mario in Super Mario Bros. Wonder" Nintendo Everything. 2023-10-13.
- ↑ "Charles Martinet Down Under". N-Sider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-06. สืบค้นเมื่อ 2006-11-12.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 McLaughlin, Rus (2007-08-11). "IGN Presents the History of Super Mario Bros". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-23. สืบค้นเมื่อ 2009-02-28.
- ↑ Orlando, Greg (2007-05-15). "Console Portraits: A 40-Year Pictorial History of Gaming". Wired News. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ "Iwata Asks: New Super Mario Bros". Wii.com. Nintendo. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-28. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
- ↑ 7.0 7.1 "Playback 93". Yahoo. 2009-12-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-11. สืบค้นเมื่อ 2009-12-24.
- ↑ Edwards, Benj (April 25, 2010). "The True Face of Mario". Technologizer. สืบค้นเมื่อ June 30, 2011.
- ↑ Eric Pryne (March 27, 2010). "Powerful Segale family has massive vision for Tukwila expanse". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ June 30, 2011.
- ↑ 10.0 10.1 Mike Snider (Nov 8, 2010). "Q&A: 'Mario' creator Shigeru Miyamoto". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
- ↑ Rao, Anjali (2007-02-15). Sigeru Miyamao Talk Asia interview. CNN. Retrieved on 2009-02-28
- ↑ "Iwata Asks: New Super Mario Bros". Wii.com. Nintendo. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-28. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
- ↑ Arakawa, Minoru (1991). Mario Mania. Nintendo. pp. 30-32. ASIN B000BPL42C.
- ↑ Reporter: Joel Loy (1989). "Inside Super Mario Bros". Inside Edition. CBS Television Distribution.
- ↑ Kohler, Chris (2005). Power-Up: How Japanese Video Games Gave the World an Extra Life. Brady Games. p. 39. ISBN 0-7440-0424-1.
- ↑ "Mario Bros. at Nintendo - Wii - Virtual Console". Nintendo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-31. สืบค้นเมื่อ 2008-10-01.
- ↑ Sheff, David (1999). Game Over Press Start to Continue. Cyberactive Media Group. p. 56. ISBN 0-9669617-0-6.
- ↑ Super Mario Bros. Instruction Booklet. Nintendo of America. 1986.
- ↑ "The Good". TMK Super Mario Bros. Complete Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
- ↑ "The Eight Kingdoms". Super Mario Bros. 3 Instruction Booklet. Nintendo of America. 1990-02-12.
- ↑ Nintendo Power Staff (1990). "Super Mario Bros. 3: Strategy Guide on the Way". Nintendo Power. Nintendo (12): 94–95.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Nintendo (1989). Super Mario Land Instruction Booklet. Nintendo of America, Inc.
- ↑ Super Mario World Instruction Booklet. Nintendo.
- ↑ "FEATURE: Galaxy Quest". Edge. September 25, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-08. สืบค้นเมื่อ February 16, 2010.
- ↑ Princess Peach's note: Dear Mario: Please come to the castle. I've baked a cake for you. Yours truly-- Princess Toadstool, Peach Nintendo EAD (1996-09-29). Super Mario 64 (Nintendo 64). Nintendo.
- ↑ "Full Coverage — Super Mario 64". Nintendo Power. Nintendo (88): 14–23. September 1996.
- ↑ 27.0 27.1 Official Super Mario 64 Player's Guide. Nintendo. 1996.
- ↑ Super Mario 64 Instruction Booklet. Nintendo. 1996. NUS-NSME-USA.
- ↑ Super Mario Sunshine instruction booklet. Nintendo. 2002. pp. 20–23.
- ↑ Nintendo EAD (2002-08-26). Super Mario Sunshine (Nintendo GameCube). Nintendo.
FLUDD: The vacation starts now!
- ↑ New Super Mario Bros. manual. Nintendo. 2006-05-16. p. 10.
- ↑ Nintendo EAD (May 15, 2006). New Super Mario Bros (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ "Prologue". Super Mario Galaxy Instruction Booklet. Nintendo of America. 2007.
- ↑ Casamassina, Matt (November 7, 2007). "Super Mario Galaxy Review". IGN. pp. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ January 25, 2009.
- ↑ "New Super Mario Bros. Wii: Your Questions Answered!". Official Nintendo Magazine. 2009-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-25. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
- ↑ Matt Wales (2010-06-10). "Super Mario Galaxy 2 - Wii Review". Uk.wii.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-31. สืบค้นเมื่อ 2011-08-20.
- ↑ Byron, Tom (November 20, 2004). "Mario Pinball Land (Game Boy Advance)". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ January 25, 2010.
- ↑ 38.0 38.1 "Dr. Mario". IGN. สืบค้นเมื่อ January 24, 2010.
- ↑ East, Tom (September 19, 2008). "Virtual Console Review: Super Mario RPG". Official Nintendo Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-18. สืบค้นเมื่อ February 17, 2010.
- ↑ Jenkins, David (10/01/2007). "Mario Tops Best Selling Game Franchise List". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Pigna, Kris (August 9, 2009). "Mario Included in NES Punch-Out!! Without Miyamoto's Permission". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ January 28, 2009.
- ↑ "Mario to hoop it up in NBA Street V3". GameSpot. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009.
- ↑ "SSX On Tour Character Spotlight: Mario, Luigi, and Peach". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-14. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009.
- ↑ "Mario". Smash Bros. DOJO!!. Smashbros.com. 2007-11-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-21. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
- ↑ "Mario". Smash Bros. DOJO!!. Smashbros.com. 2007-11-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-21. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
An easy-to-use character, Mario sets the standard for balance.
- ↑ "At the Movies:Super Mario Bros". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ January 25, 2010.
- ↑ Palazzo, Chiara (August 22, 2016). "Shinzo Abe emerges from a green pipe disguised as Super Mario during Rio Closing Ceremony". สืบค้นเมื่อ August 22, 2016.
- ↑ 48.0 48.1 48.2 "Mario Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-20. สืบค้นเมื่อ January 23, 2010.
- ↑ 49.0 49.1 "Luigi Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-17. สืบค้นเมื่อ January 26, 2010.
- ↑ "Charles Martinet: Voice Over". สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
- ↑ "Nintendo - Corporate: About Nintendo Worldwide". Nintendo. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-05-02.
- ↑ "Top Ten Mario Games". GameTrailers. July 24, 2007. สืบค้นเมื่อ January 30, 2010.
- ↑ "Story and Characters". Mario vs. Donkey Kong 2: March of the Minis Instruction Booklet. Nintendo of America. 2006-09-25.
- ↑ "Mario and Luigi: Superstar Saga". Nintendo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2008-08-21.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdkhist
- ↑ "Mario vs. DK 2: March of the Minis". Yahoo! Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ Bozon, Mark (February 1, 2006). "Hands-On: Super Princess Peach". IGN. สืบค้นเมื่อ January 23, 2010.
- ↑ "Princess Daisy Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-29. สืบค้นเมื่อ January 27, 2009.
- ↑ HAL Laboratory (2001-12-03). Super Smash Bros. Melee (Nintendo GameCube). Nintendo.
- ↑ "Luigi Profile". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ January 26, 2010.
- ↑ Buchanan, Levi (August 7, 2008). "The Other Mario Games, Vol. 2". IGN. สืบค้นเมื่อ January 23, 2010.
- ↑ "Wario Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-12. สืบค้นเมื่อ January 23, 2010.
- ↑ 63.0 63.1 "Yoshi Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-02. สืบค้นเมื่อ January 23, 2009.