มาริเอะ คนโด (ญี่ปุ่น: 近藤 麻理恵โรมาจิKondō Marie[1]) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดระเบียบภายในบ้าน นักเขียน และพิธีกรรายการโทรทัศน์ชาวญี่ปุ่น[2]

มาริเอะ คนโด
近藤 麻理恵
คนโดใน ค.ศ. 2016
เกิด (1984-10-09) 9 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (39 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสตรีคริสเตียนโตเกียว
อาชีพ
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1997–ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากการจัดบ้านด้วยวิธีการ "คมมาริ"
ผลงานเด่นชีวิตดีขึ้นทุก ๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว
เว็บไซต์konmari.com

คนโดเขียนหนังสือเกี่ยวกับการจัดระเบียบจำนวน 4 เล่ม ซึ่งมียอดขายรวมทั่วโลกหลายล้านเล่ม และแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอื่น ๆ เช่นเกาหลี จีน สเปน อินโดนีเซีย[3] อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน สวีเดน โปรตุเกส กาตาลา และอังกฤษ[2] โดยหนังสือ ชีวิตดีขึ้นทุก ๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว[4] (ญี่ปุ่น: 人生がときめく片づけの魔法โรมาจิJinsei ga Tokimeku Katazuke no Mahōทับศัพท์: จินเซงะโทกิเมกุคาตาซูเกะโนะมาโฮ) ตีพิมพ์จำหน่ายในมากกว่า 30 ประเทศ[5] ใน ค.ศ. 2019 เน็ตฟลิกซ์ได้เผยแพร่ซีรีส์ Tidying Up with Marie Kondo ทำให้เธอเป็นที่รู้จักในสหรัฐและสหราชอาณาจักรอย่างมาก และเธอยังได้รับเสนอชื่อให้เข้ารับรางวัลไพรม์ไทม์เอมมีสาขาพิธีกรยอดเยี่ยมประเภทรายการเรียลลิตีโชว์หรือรายการแข่งขันในปีเดียวกัน[6][7]

คนโดถูกจัดให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด 100 อันดับแรกใน ค.ศ. 2015 โดยนิตยสารไทม์[8]

ประวัติ แก้

 
คนโดใน ค.ศ. 2015 ขณะบรรยายในรายการทอกส์แอตกูเกิล

คนโดเล่าในบทสัมภาษณ์ในนิตยสารเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลว่าเธอสนใจการจัดระเบียบตั้งแต่สมัยเด็ก[5] โดยในขณะที่เพื่อนในชั้นเรียนของคนโดเล่นกีฬากันในคาบพลศึกษา ตัวเธอกลับสนใจจัดหนังสือบนชั้นวางในห้องเรียน[9] และเธอมักจะอาสาเป็นคนจัดหนังสือในห้องเรียนเป็นประจำ ครั้งหนึ่งเธอเครียดกับการจัดระเบียบสิ่งของจนสลบไปประมาณสองชั่วโมง ขณะที่เธอกำลังฟื้นตัว เธอรู้สึกว่ามีเสียงจากภายในบอกให้ลองมองดูอีกครั้งให้ดี ก่อนที่เธอจะระลึกได้ว่าก่อนหน้านี้เธอสนใจแค่เพียงว่าจะทิ้งของชิ้นไหน แต่ที่จริงแล้วสิ่งที่เธอควรทำคือสนใจว่าของชิ้นไหนที่ควรเก็บไว้ เลือกสิ่งที่ทำให้ตัวเองรู้สึกมีความสุข นั่นคือหลักการจัดระเบียบ[10]

เธอทำหน้าที่เป็นมิโกะในศาลเจ้าชินโตเป็นเวลาห้าปี[10] เธอเริ่มกิจการรับให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดระเบียบเมื่ออายุได้ 19 ปี โดยในขณะนั้นเธอกำลังศึกษาด้านสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยสตรีคริสเตียนโตเกียว[11] เธอเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับการจัดระเบียบภายในบ้านในมุมมองของสถานะเพศ[12]

คนโดแต่งงานกับทากูมิ คาวาฮาระใน ค.ศ. 2012[5][13] โดยตอนที่ทั้งสองเริ่มคบกันนั้น คาวาฮาระทำงานในแผนกการขายที่บริษัทแห่งหนึ่งในโอซากะ ก่อนที่คาวาฮาระจะลาออกจากงานและผันตัวมาเป็นผู้จัดการให้กับคนโด[14] ทั้งคู่มีลูกสาวสองคนได้แก่ซัตสึกิและมิโกะ[13][15] หลังจากแต่งงานแล้วทั้งสองได้ย้ายไปอยู่โตเกียวก่อนจะย้ายไปแคลิฟอร์เนียในเวลาต่อมา[16]

วิธีคมมาริ แก้

วิธีการจัดบ้านของคนโดมีชื่อเรียกว่าวิธีคมมาริ (ญี่ปุ่น: こんまりโรมาจิKonMari) ซึ่งย่อมาจากชื่อของเธอ วิธีคมมาริเริ่มจากการนำของทั้งหมดที่มีมารวมกัน โดยไล่เรียงไปทีละหมวดหมู่ ก่อนที่จะเลือกเก็บเฉพาะสิ่งที่กระตุ้นให้รู้สึกมีความสุข (ญี่ปุ่น: ときめくโรมาจิtokimeku)[17] ก่อนจะหาที่อยู่ให้กับของที่เลือกเก็บไว้[18][19] คนโดแนะนำว่าให้เริ่มจากการทิ้งอะไรก็ตามที่ไม่ได้กระตุ้นให้รู้สึกมีความสุขไปอย่างทันทีและสิ้นเชิง และพิจารณาของทุกชิ้นที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ไม่ว่าจะก่อนหน้านี้จะอยู่ที่ใดในบ้านก็ตาม[20]

เธอกล่าวว่าวิธีการของเธอได้รับอิทธิพลจากศาสนาชินโต[21] การทำความสะอาดและจัดระเบียบสิ่งของนั้นสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการฝึกตนในหลักศาสนาชินโต ซึ่งเชื่อมโยงกับพลังและจิตวิญญาณของสิ่งของต่าง ๆ หรือคามิ และครรลองการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องหรือคันนางาระ

"การให้คุณค่ากับสิ่งของที่มีอยู่ การปฏิบัติกับสิ่งของว่าเป็นสิ่งที่ละทิ้งได้แต่มีคุณค่าไม่ว่าแท้จริงแล้วจะมีราคาเท่าใดก็ตาม และการจัดแสดงสิ่งของเพื่อให้เปิดเผยคุณค่าออกมา ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตในแบบชินโต"[22]

สื่อ แก้

หนังสือ ชีวิตดีขึ้นทุก ๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว ถูกดัดแปลงเป็นรายการโทรทัศน์สองตอนใน ค.ศ. 2013[23] ในขณะที่ตัวคนโดเองก็ได้บรรยายและปรากฏตัวทางโทรทัศน์หลายครั้ง[2][10] นอกจากนี้เธอยังเผยแพร่วิดีโอสาธิตวิธีการพับเสื้อผ้าให้ดูดีที่สุดอีกด้วย[18]

เน็ตฟลิกซ์ได้เผยแพร่ซีรีส์ ไทดีอิงอัปวิทมาริเอะ คนโด (อังกฤษ: Tidying Up with Marie Kondo)[24] โดยในแต่ละตอน คนโดจะเดินทางไปกับมาริเอะ อีดะ (ญี่ปุ่น: 飯田まりえโรมาจิIida Marie) ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่าม[25] ทั้งสองเข้าไปเยี่ยมบ้านของครอบครัวชาวอเมริกันและช่วยจัดระเบียบภายในบ้านด้วยวิธีคมมาริ เธอได้รับความนิยมอย่างมากจากซีรีส์ดังกล่าว โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทำอินเทอร์เน็ตมีมเกี่ยวกับเธอเป็นจำนวนมาก[26][27] มีมหนึ่งที่เป็นคลิปขณะที่เธอกำลังพูดว่า "ฉันชอบความยุ่งเหยิง" ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในมีมที่ดีที่สุด 10 อันดับแรกแห่ง ค.ศ. 2019 โดยนิตยสารไทม์[28]

อ้างอิง แก้

  1. Stern, Claire (23 January 2016). "Who Is Marie Kondo? 7 Things You Might Not Know About the Japanese Decluttering Guru". InStyle. Time Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-22. สืบค้นเมื่อ 12 August 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Kissing Your Socks Goodbye: Home Organization Advice from Marie Kondo". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
  3. "Gramedia.com – Marie Kondo, "The Life Changing Magic Of Tidying Up" (Indonesian version)". Gramedia Indonesia – Online books. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-16. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
  4. "ชีวิตดีขึ้นทุก ๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว". ซีเอ็ดยูเคชั่น. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 Maloney, Jennifer; Fujikawa, Megumi (26 February 2015). "Marie Kondo and the Cult of Tidying Up". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.
  6. Du, Lisa; Reynolds, Isabel; Reinicke, Carmen (29 January 2019). "Marie Kondo's Tidying Up Won Netflix. Next? Cleaning Consultants". Bloomberg Businessweek. สืบค้นเมื่อ 17 April 2019.
  7. Kelly, Tamara (18 January 2019). "John Lewis is selling 47% more of this thanks to the Marie Kondo effect". Ideal Home. สืบค้นเมื่อ 17 April 2019.
  8. Jamie Lee Curtis (2015). "Marie Kondo". Time Magazine. สืบค้นเมื่อ 16 May 2017.
  9. Maldonado, Camilo (22 Jan 2019). "How To Use The KonMari Method". The Finance Twins (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 Apr 2019.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Marie Kondo is the maiden of mess". Theaustralian.com.au. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
  11. Maguire, Katy (7 July 2016). "6 surprising things about Marie Kondo and her life-changing method". Well+Good LLC. สืบค้นเมื่อ 13 August 2016.
  12. Aihara, Hitoshi (13 May 2015). "こんまりキレイ術の心は感謝 31カ国200万部超". Nikkan Sports. Retrieved 11 February 2019.
  13. 13.0 13.1 Fujikawa, Megumi (9 August 2017). "Should You Kondo Your Kids?". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017. ...2-year-old Satsuki Younger sister Miko, 10 months, Ms. Kondo’s husband, Takumi Kawahara, 33, ...
  14. Nilles, Billy (24 January 2019). "How Marie Kondo's Obsession With Organizing Built a Tidy Empire". E! Online. สืบค้นเมื่อ 27 January 2019.
  15. Tonya C. Snyder. The real reasons Marie Kondo’s life-changing magic doesn't work for parents. The Washington Post, 14 January 2016.
  16. "As Marie Kondo gets her own Netflix show, can she help me tidy up?". iNews. 31 December 2018. สืบค้นเมื่อ 12 January 2019.
  17. "Japanese-English translation: tokimeku: Dictionary". kanjijapanese.com. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.
  18. 18.0 18.1 "Japan's 'queen of clean' promotes benefits of a tidy home". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
  19. "How KonMari's phenomenal book can help put your house in order". Japantimes.co.jp. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
  20. Kondo, Marie (2014). the life-changing magic of tidying up. New York: Ten Speed Press. pp. 63–150. ISBN 978-1-60774-730-7.
  21. Demetriou, Danielle (16 January 2016). "Japan's decluttering guru says she is on a mission to 'organise the world'". Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 14 January 2019.
  22. Dilloway, Margaret (2019-01-22). "What White, Western Audiences Don't Understand About Marie Kondo's 'Tidying Up'". Huffington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-27.
  23. "人生がときめく片づけの魔法". ntv.co.jp. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
  24. "5 Ways Marie Kondo Can Declutter Your Home And Help You Reach Your Financial Goals". Forbes.com. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
  25. Sophia Mitrokostas (30 January 2019). "Marie Kondo's interpreter reveals what it's really like working on 'Tidying Up'". Insider. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
  26. Slattery, Peter (7 January 2019). "These 'Tidying Up with Marie Kondo' Memes Are Guaranteed to Spark Joy". Vice. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.
  27. Westenfeld, Adrienne (11 April 2020). "Marie Kondo Is Here to Help You Spark Joy, Even While in Quarantine". Esquire. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.
  28. Bruner, Raisa (22 November 2019). "The 10 Best Memes of 2019". Time. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้