มานุษยวิทยาศาสนา

มานุษยวิทยาศาสนา (อังกฤษ: anthropology of religion) เป็นการศึกษาศาสนาในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับหน่วยทางสังคมอื่น และการเปรียบเทียบความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมและการปฏิบัติในศาสนาต่าง ๆ ในวัฒนธรรมต่าง ๆ กัน[1]

ประวัติศาสตร์ แก้

ในต้นศตวรรษที่ 12 อะบู เรฮัน อัลบิรูนี (Abū Rayhān Bīrūnī; 973–1048) ได้เขียนงานศึกษาเชิงเปรียบเทียบอย่างละเอียดเรื่องมานุษยวิทยาของศาสนาและวัฒนธรรมทั่วบริเวณแอ่งเมดิเตอร์เรเนียน (ซึ่งรวมถึง "ตะวันออกกลาง") และอนุทวีปอินเดีย[2] ที่ซึ่งเขาได้เขียนถึงผู้คน ธรรมเนียม และศาสนาของอนุทวีปอินเดีย

ในศตวรรษที่ 19 มานุษยวิทยาวัฒนธรรมเต็มไปด้วยเรื่องของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม (cultural evolution) นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่อนุมานความแตกต่างระหว่างศาสนา "ดึกดำบรรพ์" (primitive) กับ "สมัยใหม่" (modern) ง่าย ๆ และพยายามจะอธิบายว่าทำไมศาสนาจึงวิวัฒนาการจากดึกดำบรรพ์ไปเป็นสมัยใหม่[ต้องการอ้างอิง] ในศตวรรษที่ 20 นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่ได้ปฏิเสธความพยายามนี้ ในปัจจุบัน มานุษยวิทยาศาสนาสะท้อนให้เห็นอิทธิพลหรือการมีส่วนร่วมกับนักทฤษฎีอย่างคาร์ล มาร์กซ์ (1818–1883), ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (1856–1939), เอมีล ดูร์กายม์ (1858–1917) และมัคส์ เวเบอร์ (1864–1920)[3] นักมานุษยวิทยาศาสนามีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับว่าเหตุใดความเชื่อทางศาสนาและการปฏิบัติในทางศาสนาอาจสะท้อนให้เห็นถึงแรงผลักดันทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่หน้าที่ทางสังคมของศาสนาและประเพณี[4][โปรดขยายความ]

ในปี 1912 เอมีล ดูร์กายม์ โดยปรับปรุงจากงานของ Ludwig Feuerbach ได้ระบุว่าศาสนาเป็น "ภาพฉายของค่านิยมทางสังคม" ("a projection of the social values of society"), "หนทางในการสร้างวาทะเที่ยวกับสังคมผ่านทางสัญลักษณ์" ("a means of making symbolic statements about society"), "ภาษาเชิงสัญลักษณณ์ที่สร้างวาทะเกียวกับลำดับทางสังคม" ("a symbolic language that makes statements about the social order");[5] โดยสรุปคือ "(ศาสนา) เป็นการที่สังคมบูชาตนเอง" ( "religion is society worshiping itself")[6][7]

การนิยาม "ศาสนา" แก้

หนึ่งในปัญหาหลักของมานุษยวิทยาศาสนาคือการให้คำนิยามของ "ศาสนา" เอง[8] Clifford Geertz ได้ระบุว่าศาสนาคือ

(1) ระบบของสัญลักษณ์ซึ่งกระทำเพื่อ (2) ตั้งอารมณ์และแรงชักจูงอันทรงพลัง แผ่ซ่านไปทั่ว และคงอยู่ยาวนานในตัวมนุษย์ผ่านการ (3) สร้างแนวคิดของการจัดลำดับทั่วไปของการดำรงอยู่ และ (4) ซ่อนแนวคิดนี้ภายใต้ภาพของแสงเรืองรองของข้อเท็จจริงที่ซึ่ง (5) อารมณ์แลรแรงจูงใจช่างดูสมจริงอย่างไม่เคยมีมาก่อน"[9]

((1) a system of symbols which acts to (2) establish powerful, pervasive, and long-lasting moods and motivations in men by (3) formulating conceptions of a general order of existence and (4) clothing these conceptions with such an aura of factuality that (5) the moods and motivations seem uniquely realistic.")

ในปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาได้พิจารณาขอบเขตหลายประการในการนิยามศาสนา เช่น เป็นความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติหรือการพึ่งพาพิธีกรรม อย่างไรก็ตามบางส่วนเชื่อว่าขอบเขตเหล่านี้เป็นสากล[8]

Anthony F. C. Wallace ได้เสนอหมวดหมู่ของศาสนาสี่ประการ ในแต่ละหมวดหมู่ ซึ่งย่อยลงไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายควาามว่าทุกศาสนาบนโลกจะสามารถเข้าไปจัดหมวดหมู่ตามที่วอลเลซเสนอได้ทั้งหมด[10]

  1. ปัจเจกชนนิยม (Individualistic): เป็นพื้นฐานที่สุด เช่น: vision quest ในชนพื้นเมืองอเมริกัน
  2. เชมัน (Shamanistic): ศาสนิกชนแบบชั่วครั้งชั่วคราว (part-time religious practitioner), ใช้ศาสนาเพื่อรักษา เช่น: จิตวิญญาณนิยม (spiritualists), ผู้รักษาจิตวิญญาณ (faith healers), การดูลายมือ (palm readers)
  3. ชุมชน (Communal): กลุ่มความเชื่อและการปฏิบัติที่ซับซ้อน; กลุ่มคนที่ถูกจัดเรียงในแคว้นตามสายเลือด อายุ หรือสังคมทางศาสนา ผู้คนสวมรับหน้าที่ตามความรู้ และการบูชาบรรพบุรุษ
  4. สังฆาวาศ (Ecclesiastical): พบมากในสังคมเกษตรกรรม มีการจัดการและแบ่งระดับชั้นอย่างเป็นระบบ

ความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาเฉพาะบางส่วน แก้

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Adams 2017; Eller 2007, p. 2.
  2. Walbridge 1998.
  3. Eller 2007, p. 22; Weber 2002.
  4. Eller 2007, p. 4.
  5. Durkheim 1912; Bowie 1999, pp. 15, 143.
  6. Nelson 1990.
  7. Durkheim, p.266 in the 1963 edition
  8. 8.0 8.1 Eller 2007, p. 7.
  9. Geertz 1966, p. 4.
  10. Rathman, Jessica. "Anthony Francis Clarke Wallace". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2003. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.

บรรณานุกรม แก้