มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ

เพลงชาติโปแลนด์

มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ (โปแลนด์: Mazurek Dąbrowskiego [maˈzurɛɡ dɔmbrɔfˈskʲɛɡɔ] "บทเพลงมาเซอร์กาของดอมบรอฟสกี") เพลงนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "เพลงของกองทหารชาวโปลในอิตาลี" (Pieśń Legionów Polskich we Włoszech [pʲɛɕɲ lɛˈgʲɔnuf ˈpɔlskiɣ vɛˈvwɔʂɛx]) และ "โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น" (Jeszcze Polska nie zginęła [jɛʂt͡ʂɛ ˈpɔlska ɲɛzɡiˈnɛwa])[a] เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐโปแลนด์

มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ
โน๊ตเพลง"มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ"

เพลงชาติของ โปแลนด์
ชื่ออื่น"Pieśń Legionów Polskich we Włoszech"
"เพลงของกองทหารชาวโปลในอิตาลี"
"Jeszcze Polska nie zginęła"
"โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น"
เนื้อร้องยูแซฟ วีบิสตกี, ค.ศ. 1797
ทำนองไม่ทราบผู้ประพันธ์เพลง (แต่ถูกเรียบเรียงโดย คาซีเมียร์ ซ๊โคสกี), คริสต์ทษวรรษที่ 1820
รับไปใช้ค.ศ. 1926; 97 ปีที่แล้ว (1926)
ตัวอย่างเสียง
"มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" (บรรเลง, ท่อนเดียว)

เพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ เป็นบทเพลงซึ่งนำมาจากทำนองของเพลงพื้นเมืองโปแลนด์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "มาเซอร์กา" ("Mazurka) โดยส่วนของเนื้อร้องนั้นเป็นผลงานการประพันธ์ของนายพลยูเซฟ วีบิตสกี (Józef Wybicki) เพลงนี้ได้แต่งขึ้นที่เมืองเรจโจเนลเลมีเลีย สาธารณรัฐซิแซลไพน์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลี) เมื่อประมาณวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1797 อันเป็นเวลาสองปีภายหลังการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 3 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ทำให้ประเทศโปแลนด์ทั้งหมดหายไปจากแผนที่โลก บทเพลงนี้แต่เดิมใช้เป็นเพลงปลุกขวัญของทหารภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลยาน เคนริค ดอมบรอฟสกี แห่งกองทหารต่างด้าวชาวโปลในกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ต ซึ่งได้ยกทัพเข้าพิชิตดินแดนอิตาลีในครั้งนั้น ในเวลาต่อมาไม่นานเพลงนี้ก็ได้กลายเป็นเพลงปลุกใจของชาวโปลเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด

เนื้อหาของเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ แสดงออกถึงความคิดของชาวโปล ซึ่งแม้ว่าจะสูญสิ้นเอกราชทางการเมืองไปก็ตาม แต่โปแลนด์จะยังไม่สูญหายไป ตราบเท่าที่ประชาชนชาวโปลยังมีชีวิตอยู่และร่วมต่อสู้ภายใต้นามนั้น

จากความนิยมอย่างสูงของเพลงนี้ ทำให้ได้เกิดเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งชาวโปลได้นำไปขับร้องเนื่องในวาระต่าง ๆ ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ชนชาติอื่น ๆ ลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือเพลง "เฮ สลาฟ" (Hey Slavs) ซึ่งเป็นเพลงปลุกใจของชาวสลาฟ ได้รับอิทธิพลในการประพันธ์มาจากเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกออย่างมาก (ภายหลังได้มีการนำไปใช้เป็นเพลงชาติของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย)

เมื่อประเทศโปแลนด์สามารถรวมตัวเป็นประเทศเอกราชได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1918 เพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอจึงได้กลายเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยของโปแลนด์ ต่อมาจึงได้มีการรับรองสถานะเป็นเพลงชาติโปลแลนด์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1926

เนื้อร้อง แก้ไข

บทร้องต้นฉบับ[1]
(สะกดแบบปัจจุบัน)
บทร้องฉบับทางการ[2] สัทอักษรสากล (IPA) คำแปล

I
Jeszcze Polska nie umarła,
Kiedy my żyjemy
Co nam obca moc wydarła,
Szablą odbijemy.

Refren:
𝄆 Marsz, marsz, Dąbrowski
Do Polski z ziemi włoski
Za twoim przewodem
Złączym się z narodem. 𝄆

II
Przejdziem Wisłę, przejdziem Wartę
Będziem Polakami
Dał nam przykład Bonaparte
Jak zwyciężać mamy.

Refren:

III
Jak Czarniecki do Poznania
Wracał się przez morze
Dla ojczyzny ratowania
Po szwedzkim rozbiorze.

Refren:

IV
Już tam ojciec do swej Basi
Mówi zapłakany –
Słuchaj jeno, pono nasi
Biją w tarabany.

Refren:

V
Już tam ojciec do swej Basi
Mówi zapłakany
Słuchaj jeno, pono nasi
Biją w tarabany.

Refren:

VI
Na to wszystkich jedne głosy
Dosyć tej niewoli
Mamy racławickie kosy
Kościuszkę Bóg pozwoli.

Refren:

I
Jeszcze Polska nie zginęła,
Kiedy my żyjemy.
Co nam obca przemoc wzięła,
Szablą odbierzemy.

Refren:
𝄆 Marsz, marsz, Dąbrowski,
Z ziemi włoskiej do Polski.
Za twoim przewodem
Złączym się z narodem. 𝄆}

II
Przejdziem Wisłę, przejdziem Wartę,
Będziem Polakami.
Dał nam przykład Bonaparte,
Jak zwyciężać mamy.

Refren:

III
Jak Czarniecki do Poznania
Po szwedzkim zaborze,
Dla ojczyzny ratowania
Wrócim się przez morze.

Refren:

IV
Już tam ojciec do swej Basi
Mówi zapłakany –
Słuchaj jeno, pono nasi
Biją w tarabany.

Refren:

1
[ˈjɛʂ.t͡ʂɛ ˈpɔl.ska ɲɛ zɡʲi.ˈnɛ.wa]
[ˈkʲjɛ.dɨ mɨ ʐɨ.ˈjɛ.mɨ]
[t͡sɔ nam ˈɔp.t͡sa ˈpʂɛ.mɔt͡s ˈvʑɛ.wa]
[ˈʂab.lɔ̃ ˈɔd.bʲjɛ.ʐɛ.mɨ]}

[ˈrɛf.rɛn]
[marʂ marʐ‿dɔm.ˈbrɔf.skʲi]
[z‿ˈʑɛ.mʲi ˈvwɔs.kʲjɛj dɔ ˈpɔl.skʲi]
[za ˈtfɔ.im pʂɛ.ˈvɔ.dɛm]
[ˈzwɔn.t͡ʂɨm ɕɛ z‿na.ˈrɔ.dɛm]

2
[ˈpʂɛj.d͡ʑɛm ˈvis.wɛ ˈpʂɛj.d͡ʑɛm ˈvar.tɛ]
[ˈbɛɲ.d͡ʑɛm pɔ.la.ˈka.mi]
[daw nam ˈpʂɨ.kwad‿bɔ.na.ˈpar.tɛ]
[jag‿zvɨ.ˈt͡ɕɛw̃.ʐat͡ɕ ˈma.mɨ]

[ˈrɛf.rɛn]

3
[jak t͡ʂar.ˈɲɛt͡s.ki dɔ pɔ.ˈzna.ɲa]
[pɔ ˈʂfɛt͡s.kim za.ˈbɔ.ʐɛ]
[dla ɔj.ˈt͡ʂɨz.nɨ ra.tɔ.ˈva.ɲa]
[ˈvru.t͡ɕim ɕɛ pʂɛs ˈmɔ.ʐɛ]

[ˈrɛf.rɛn]

4
[juʂ tam ˈɔj.t͡ɕɛd͡z‿dɔ sfɛj ˈba.ɕi]
[ˈmu.vi za.pwaˈka.nɨ]
[ˈswu.xaj ˈjɛ.nɔ ˈpɔ.nɔ ˈna.ɕi]
[ˈbi.jɔw̃ f‿ta.ra.ˈba.nɨ]


[ˈrɛf.rɛn]

I
โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น
ตราบใดที่พวกเรายังคงอยู่
เหมือนพลังบางอย่างยึดเหนี่ยวเราไว้
เราจึงเรียกอาวุธออกมาใช้

ประสานเสียง:
𝄆 ตั้งขบวน หน้าเดิน ดอมโบรว์สกี
จากอิตาลีสู่โปแลนด์
ภายใต้คำบัญชาการของท่าน
เราจะกลับมารวมกันอีกครั้ง 𝄆

II
เราจะข้ามแม่น้ำวิสว่าและวอร์ต้า
เราจะยังเป็นโปแลนด์
จักรพรรดิ์นโปเลียนได้แสดงให้เราเห็น
ถึงหนทางสู่ชัยชนะ

ประสานเสียง:

III
เหมือนกับชาร์นิสกี้แห่งโปซนาน
หลังจากการเข้ายึดครองสวีเด็น
เราจะข้างท้องทะเล
เพื่อมาปกป้องแผ่นดินเกิดของเรา

ประสานเสียง:

IV
ในน้ำตาของพ่อนั้น
เขาได้กล่าวถึงเรื่องราวของบาเซีย
พวกเราจงตั้งใจฟัง
เพื่อที่จะสามารถเอาชนะมัน

ประสานเสียง:

เชิงอรรถ แก้ไข

  1. ซึ่งชื่อหลังเป็นการเรียกขานเพลงนี้ตามเนื้อร้องวรรคแรก

อ้างอิง แก้ไข

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kuczyn
  2. "Ustawa z dnia 31 stycznia 1980 r. o godle, barwach i hymnie Rzeczypospolitej Polskiej oraz o pieczęciach państwowych – Dziennik Ustaw z 2005 r. Nr 235, poz. 2000" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 2010-01-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข