มะซารีชะรีฟ
มะซารีชะรีฟ (Mazar-i-Sharif หรือ Mazar-e-Sharif; เปอร์เซีย/ปาทาน: مزارِ شریف, ˌmæˈzɒːr ˌi ʃæˈriːf) เป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศอัฟกานิสถาน มีประชากร 693,000 คน (ค.ศ. 2015)[4] เป็นเมืองเอกของจังหวัดบัลข์ เชื่อมต่อโดยทางด่วนกับเมืองคันดุซทางทิศตะวันออก คาบูลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เฮราตทางทิศตะวันตกและประเทศอุซเบกิสถานทางทิศเหนือ เมืองมะซารีชะรีฟรวมกับเฮราต จะลาลาบาดทางทิศตะวันออกและกันดะฮาร์ทางทิศใต้ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอัฟกานิสถานในเอเชีย เมืองเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการท่องเที่ยวเพราะมีชื่อเสียงจากการมีมัสยิดที่มีชื่อเสียง เช่นเดียวกับเป็นสถานที่สำคัญด้านโบราณสถานในสมัยเฮลเลนิสติก ในปี ค.ศ. 2006 มีการค้นพบโบราณสถานสมัยเฮลเลนิสติกเพิ่มเติม[5]
มะซารีชะรีฟ مزارِ شریف | |
---|---|
นคร | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 36°42′N 67°07′E / 36.700°N 67.117°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 36°42′N 67°07′E / 36.700°N 67.117°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | จังหวัดบัลข์ |
เขต | เขตมะซารีชะรีฟ |
ความสูง | 357 เมตร (1,171 ฟุต) |
ประชากร (2015)[3] | |
• นคร | 693,000 [1] คน |
• เขตเมือง | 693,000 [2] |
เขตเวลา | UTC+4:30 (Afghanistan Standard Time) |
มะซารีชะรีฟเป็นศูนย์กลางภูมิภาคในภาคเหนือของประเทศ อยู่ใกล้กับอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน ยังเป็นเมืองที่มีอัตราการเจริญเติบโตด้านการก่อสร้างสูงสุดคือ 91%[6] นับจากเมืองเอกของจังหวัดและ บริเวณขยับขยาย นอกเหนือจากขอบเขตเทศบาล แต่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของย่านเมือง
บริเวณรอบ ๆ มะซารีชะรีฟเป็นส่วนหนึ่งของเขตประวัติศาสตร์แห่งบริเวณเกรตเตอร์โคราซาน (greater Khorasan) ที่เคยอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์ทาฮิริยะห์ ตามด้วยราชวงศ์ซัฟฟาริด ซามานิยะห์ กาสนาวิยะห์ กูริด ข่านอิล ตีมูร์ และจักรวรรดิข่านบูคารา ในกลางศตวรรษที่ 18 เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิดุรรานีจากการทำสนธิสัญญาร่วมกันระหว่างมูราด เบคกับอาหมัด ชาห์ ดุรรานี ต่อมาในช่วงสงครามโซเวียตในคริสต์ทศวรรษ 1980 มีการใช้สนามบินมะซารีชะรีฟอย่างมาก จวบจนถึง ค.ศ. 2001 ถึงสงครามในปัจจุบัน
ชื่อมะซารีชะรีฟ มีความหมายว่า วิหารหินอ่อน ที่หมายถึงวิหารใหญ่สีน้ำเงินและมัสยิดใจกลางเมืองที่รู้จักกันในชื่อ ที่ฝังศพของอาลีบุตรเขยของพระมุฮัมมัด หรือเรียกว่า มัสยิดสีน้ำเงิน
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "The State of Afghan Cities Report 2015". สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
- ↑ "The State of Afghan Cities Report 2015". สืบค้นเมื่อ 20 October 2015.
- ↑ "The State of Afghan Cities Report 2015". สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
- ↑ "The State of Afghan Cities Report 2015". สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
- ↑ "Balkh Monument". BBC Persian. สืบค้นเมื่อ 2011-04-01.
- ↑ "The State of Afghan Cities Report 2015". สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.