มัลลิกา มหาสุข
มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข[1] (ชื่อเล่น: ติ่ง, มอลลี่; เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516) เป็นนักการเมืองสตรีชาวไทย ดํารงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ครั้งแรกแทนไชยยศ จิรเมธากร ที่ลาออก เป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์)[2] และ อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[3] เป็นอดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และในอดีตเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนักข่าว ผู้ประกาศข่าว พิธีกรรายการร่วมมือร่วมใจ รายการสน.ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี นอกจากนี้ยังเป็นประธานมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน[4][5] และประธานชมรมนักรบไซเบอร์ (ขจัดเว็บหมิ่นผิดกฎหมาย)[6]
มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2565 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | ไชยยศ จิรเมธากร (ลาออก) |
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 27 กันยายน พ.ศ. 2565 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | มัลลิกา บุญมีตระกูล 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | มหาชน (2547–2550) ประชาธิปัตย์ (2550–2566) |
คู่สมรส | ณัฐพล มหาสุข |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | มนัสชาย บุญมีตระกูล (น้องชาย) มนัสศักดิ์ บุญมีตระกูล (น้องชาย) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนปงรัชดาภิเษก โรงเรียนพะเยาพิทยาคม มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยรังสิต |
อาชีพ | สื่อมวลชน, นักการเมือง |
ประวัติ
แก้มัลลิกา เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีเชื้อสายไทลื้อ จากแม่และผู้เป็นตาและยาย[7] จบการศึกษาจากโรงเรียนปงรัชดาภิเษก โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต จบการศึกษาปริญญาเอก[8] วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอดีตนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทย และเป็นนักกีฬายิงปืนสมัครเล่นของชมรมยิงปืนรบพิเศษ และจบหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงมหานคร3 กับ นมธ.9 หรือหลักสูตรธรรมศาสตร์เพื่อสังคม
ด้านชีวิตส่วนตัว มัลลิกา บุญมีตระกูล ได้เข้าพิธีมงคลสมรสกับ นายณัฐพล มหาสุข ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 โดยก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทานแก่คู่บ่าวสาว ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พร้อมการจดทะเบียนสมรส ณ วังสวนจิตรลดา ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของสามีตามที่ได้จดทะเบียนและนำนามสกุลเดิมจดทะเบียนเป็นชื่อกลางจึงมีชื่อตามบัตรประชาชนใหม่ว่า นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข[1]
การทำงาน
แก้เป็นที่รู้จักจากการเป็นพิธีกรและผู้ประกาศข่าวทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ต่อมาได้ลาออก และลงสมัครในโดยในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคมหาชน การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยทั้งหมดเป็นการลงสมัคร ส.ส. ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา แต่ไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง
โดยเคยมีประสบการณ์ทางการเมืองเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติปี พ.ศ. 2549 หลังการรัฐประหารในกลางปีเดียวกัน และเป็นผู้ช่วย เลขานุการ รัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ล่าสุดได้ประกอบธุรกิจส่วนตัวผลิตภัณฑ์ด้านความงามและเป็นประธานบริหารธุรกิจศูนย์การค้า เป็นต้น[9]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 30 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[10] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) จนเมื่อ พ.ศ. 2565 เมื่อไชยยศ จิรเมธากร ได้ขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้มัลลิกาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน ไชยยศ[11]ซึ่งนางมัลลิกาได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) [12]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 มิลลิกาได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 19[13] แต่ภายหลักจาการเลือกตั้งไม่ได้ดํารงตําแหน่ง เพราะสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ มี 3 คน
เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 มัลลิกาได้ลาออกจาก พรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[14]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 hilight.kapook.comพระราชทานน้ำสังข์ข้างที่ มัลลิกา บุญมีตระกูล ณัฐพล มหาสุข
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
- ↑ เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
- ↑ มูลนิธิมัลลิกาฯ รวมข้อเสนอประชาชน ชงนายกฯ เจรจาทุกสถาบันการเงิน ผ่อนชำระหนี้ 1 ปี
- ↑ ‘มัลลิกา’เผยคนคาดหวังรัฐบาลใหม่แก้ปัญหาปากท้อง เชื่อมั่นรัฐบาลอยู่ครบ4ปีแน่!
- ↑ "มัลลิกา" โต้ กสม.กระทรวงดิจิตอลฯ จี้ หยุดให้น้ำหนักปกป้องคนหมิ่นฯ
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 24 04 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-25.
- ↑ ขอบคุณ-ยินดี “มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข”
- ↑ "ประวัติจากพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-22. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ราชกิจจาฯ ประกาศ “เจือ-มัลลิกา” เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อประชาธิปัตย์แล้ว
- ↑ ขอบคุณ-ยินดี “มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข”
- ↑ "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 16ข วันที่ 4 ธันวาคม 2552