มัตซัลเละฮ์

(เปลี่ยนทางจาก มัตซัลเลฮ์)

มัตซัลเละฮ์ (มลายู: Mat Salleh) เป็นคำภาษาปากในภาษามลายูที่ใช้เรียกคนขาว ที่มาแน่ชัดของวลีนี้ไม่ทราบแน่ชัด โดยเฉพาะเนื่องมาจากเป็นคำที่พูดกันปากต่อปากและไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรมากนัก คำนี้มีขึ้นมาตั้งแต่สมัยมลายูใต้อาณานิคมอังกฤษและยังคงใช้เรื่อยมาถึงปัจจุบัน

ภาพเขียนชาวเรือตะวันตกกำลังดื่ม วลี "มัตซัลเละฮ์" น่าจะมาจาก "แมดเซเลอร์" (mad sailor; "ชาวเรือคลั่ง") ซึ่งเป้นคำเรียกเชิงดูหมิ่นชาวเรือผิวขาวที่มาดื่มในมาเลเซีย[1]

ศัพทมูล

แก้

เรื่องราวศัพทมูลหนึ่งอ้างว่าศัพท์นี้อาจมาจากสำนวนภาษาปากในภาษาอังกฤษว่า "แมดเซลเลอร์" (mad sailor; "ชาวเรือคลั่ง") คนขาวที่ชาวมาเลเซียจำนวนมากพบเป็นครั้งแรกมักเป็นเจ้าหน้าที่อาณานิคมชนชั้นสูง นำไปสู่การเชื่อว่าคนขาวจะเป็นเช่นนี้ไปทุกคน แต่ต่อมาเมื่อเรือรบเริ่มมายังท่าเรือของมาเลเซีย บรรดาชาวเรือได้รับอนุญาตให้ลงจากเรือและมาใช้เวลาในท่าเรือ ชาวเรือเหล่านี้มักเป็นคนชนชั้นแรงงานซึ่งชื่นชอบการเมาสุราและการใช้ความรุนแรงต่อกันและกัน พฤติกรรมเช่นนี้ขัดกับความเชื่อที่ชาวมาเลเซียมีต่อคนขาวว่าต้องมีมารยาทเหมือนเจ้าหน้าที่อาณานิคมชนชั้นสูงไปหมด เจ้าหน้าที่รัฐชั้นสูงได้เรียกพวกชาวเรือเหล่านี้ว่า "แมดเซลเลอร์" เพื่อแยกคนเหล่านี้ออกจากตนและเพื่อไม่ให้คนมาเลเซียเข้าใจผิดและเหมารวมตนเข้ากับคนพวกนี้[1]

อีกเรื่องเล่าศัพทมูลอ้างว่าคำนี้มาจากคำเรียกชาวเรือที่เรือล่มและถูกพัดมาติดฝั่งของมาเลเซีย เมื่อเจอกับชาวมลายูพื้นถิ่นก็ตกใจวิ่งหนีไปเพราะคิดว่าคนมลายูเป็นพวกกินคน การกระทำเช่นนี้ทำให้ชาวตะวันตกคนอื่น ๆ ที่ชาวมาเลเซียเจอถูกเรียกว่าเป็น "แมดเซลเลอร์" เหมือนกัน[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Arope, Ani (December 29, 1992). "Possible Origin of Mat Salleh term". New Straits Times. Kuala Lumpur. สืบค้นเมื่อ 21 November 2020.
  2. Chin, Grace (January 2009). ""Reading the Postcolonial Allegory in Beth Yahp's The Crocodile Fury: Censored Subjects, Ambivalent Spaces, and Transformative Bodies."". Nebula. 6 (1): 93–115. สืบค้นเมื่อ 21 November 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้