มังนึส คาลเซิน

นักหมากรุกแกรนด์มาสเตอร์ชาวนอร์เวย์
(เปลี่ยนทางจาก มังนึส กาลซึน)

สเว็น มังนึส เอิน คาลเซิน (นอร์เวย์: Sven Magnus Øen Carlsen;[a] เกิด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990)[1][2] เป็นนักหมากรุกระดับแกรนด์มาสเตอร์ชาวนอร์เวย์ เขาเคยครองแชมป์โลกหมากรุกสากล 5 สมัย แชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทแรพิด 4 สมัย และแชมป์หมากรุก 6 สมัย แชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทแรพิดแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทบลิตซ์ คาลเซินครองสถิติระดับเรตติงสูงสุดในการจัดอันดับหมากรุกสากล FIDE ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 รองจากแกรี คาสปารอฟ ในผู้ที่ครองคะแนนสูงที่สุดยาวนานที่สุดในโลกด้วยระดับเรตติงสูงสุดของเขาที่ 2882 ซึ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ เขายังครองสถิติเล่นหมากรุกโดยไม่แพ้เลยติดต่อกันโดยแข่งกับนักหมากรุกระดับสูงในประเภทคลาสสิกอีกด้วย[3]

มังนึส คาลเซิน
มังนึส คาลเซินที่การแข่งขันแชมป์โลกหมากรุกสากลในปี ค.ศ. 2021
เกิดสเว็น มังนึส เอิน คาลเซิน
(1990-11-30) 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 (33 ปี)
ทึนแบร์ นอร์เวย์
ประเทศนอร์เวย์
ตำแหน่งที่ได้รับแกรนด์มาสเตอร์ (2004)
แชมป์โลก2013
ระดับสมาพันธ์หมากรุกโลก2848 (เมษายน 2024)
ระดับสูงสุด2882 (พฤษภาคม 2014)
อันดับอันดับ 1 (กันยายน 2022)
อันดับสูงสุดอันดับที่ 1 (มกราคม 2010)
เว็บไซต์magnuscarlsen.com/en/

คาลเซินได้อันดับหนึ่งในกลุ่ม C ของการแข่งขันหมากรุกคอร์รัส หลังจากที่เขาอายุ 13 ปีไม่นาน และได้รับตำแหน่งแกรนด์มาสเตอร์ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา เมื่ออายุ 15 ปี เขาชนะการแข่งขันชิงแชมป์นอร์เวย์หมากรุกสากล และเมื่ออายุ 17 ปี เขาได้เข้าร่วมกลุ่มผู้เข้าแข่งขันระดับสูงแห่งคอร์รัส เขาทำระดับเรตติงได้มากกว่า 2800 เมื่ออายุ 18 ปี ซึ่งอายุน้อยที่สุดในเวลานั้น ใน ค.ศ. 2010 ขณะมีอายุ 19 ปี เขามาถึงอันดับที่ 1 ในการจัดอันดับโลก FIDE ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ถึงอันดับที่ 1 ที่มีอายุน้อยที่สุด

คาลเซินกลายเป็นแชมป์หมากรุกโลกใน ค.ศ. 2013 โดยเอาชนะวิศวนาถัน อานันท์ เขาครองตำแหน่งของเขาร่วมกับอานันท์ในปีถัดไปและชนะทั้งแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทแรพิด 2014 และแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทบลิตซ์ กลายเป็นผู้เล่นคนแรกที่คว้าแชมป์ทั้งสามรายการพร้อมกัน และเกิดขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 2019 และ 2022[4][5] เขาครอบครองตำแหน่งแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทคลาสสิกร่วมกับเซอร์เกย์ คาร์ยากิน ใน ค.ศ. 2016, ฟาบีอาโน การูอานา ใน ค.ศ. 2018 และยาน เนปอมนียชต์ชิย ใน ค.ศ. 2021 คาลเซินปฏิเสธที่จะแข่งขันเพื่อรักษาตำแหน่งแชมป์โลกต่อกับเนปอมนียชต์ชิยใน ค.ศ. 2023[6]

คาลเซินเป็นที่รู้จักจากรูปแบบการเล่นแบบโจมตีตั้งแต่วัยรุ่น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คาลเซินก็ได้พัฒนาเป็นผู้เล่นในระดับสากล เขาใช้การเปิดที่หลากหลายเพื่อทำให้คู่ต่อสู้เตรียมรับมือกับเขาได้ยากขึ้น และลดโอกาสการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลก่อนเกม

หมายเหตุ แก้

  1. ออกเสียง: [svɛn ˈmɑ̀ŋnʉs øːn ˈkɑːlsn̩]

อ้างอิง แก้

  1. Bolstad, Erik, บ.ก. (14 February 2009). "Magnus Carlsen". Store norske leksikon (ภาษานอร์เวย์). Oslo: Norsk nettleksikon. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  2. Haugli, Kurt B.M. (13 June 2019). "Sjakkekspertens forklaring på Carlsens sterke vår: – Caruana spilte ham god". Aftenposten (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  3. Aimee Lewis (15 January 2020). "Magnus Carlsen breaks record for longest unbeaten run in chess". CNN. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
  4. Barden, Leonard (2022-12-30). "Chess: Magnus Carlsen captures double world crown in Rapid and Blitz". amp-theguardian-com.cdn.ampproject.org. สืบค้นเมื่อ 2022-12-30.
  5. "World Blitz: Carlsen clinches triple crown, Assaubayeva defends her title". Chess News (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-30. สืบค้นเมื่อ 2022-12-31.
  6. Lourim, Jake (26 July 2022). "Magnus Carlsen Is Giving Up The World Title. But The Carlsen Era Lives On". FiveThirtyEight. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.