มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (อังกฤษ: Hodgkin's lymphoma) หรือ โรคฮอดจ์กิน (อังกฤษ: Hodgkin's disease) เป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดหนึ่งที่ได้รับการอธิบายโดย Thomas Hodgkin ในปี พ.ศ. 2375 มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีลักษณะทางคลินิคคือจะแพร่กระจายจากต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปยังต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปเรื่อยๆ และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายในที่สุด ทางพยาธิวิทยาจะพบว่าโรคนี้มี Reed-Sternberg cell อยู่ โรค Hodking'sมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้เป็นโรคมะเร็งชนิดแรกที่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายรังสี ต่อมาก็เป็นมะเร็งชนิดแรกที่ได้รับการรักษาด้วย combination chemotherapy อีกด้วย อัตราการรักษาอยู่ที่ประมาณ 93% ทำให้โรคนี้เป็นโรคมะเร็งที่มีโอกาสรักษาหายได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง

โรคฮอดจ์กิน
Hodgkin's disease
ภาพจากการตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองแสดงให้เห็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10C81
ICD-9201
ICD-O:9650/3-9667/3
DiseasesDB5973
MedlinePlus000580
eMedicinemed/1022
MeSHD006689

ระบาดวิทยา

แก้

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน ต่างจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่นๆ ซึ่งมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามอายุตรงที่ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีอุบัติการณ์เป็นโค้งแบบ bimodal คือจะพบมากที่สุดในคนอายุ 15-35 ปี และพบรองลงมาในคนอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป โดยมี peak แตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละเชื้อชาติ โดยภาพรวมแล้วพบมากในเพศชาย ยกเว้นชนิดที่มี nodular sclerosis ซึ่งจะพบมากในเพศหญิง ในหนึ่งปีจะมีคนเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน ประมาณ 1/25,000 คน นับเป็นจำนวนน้อยกว่า 1% ของมะเร็งทุกชนิด อุบัติการณ์ของการเกิด มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน จะเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV แต่จะแตกต่างจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HIV ชนิดอื่นๆ ตรงที่จะพบมากในผู้ป่วยที่มีปริมาณ CD4 T cell ที่สูง

อาการ

แก้

อาการที่พบมากที่สุดของ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน คือต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยจะบวมขึ้นแต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ต่อมน้ำเหลืองที่จะได้รับผลกระทบบ่อยที่สุดคือต่อมน้ำเหลืองในช่องอกซึ่งจะเห็นได้จากการทำเอกซเรย์ทรวงอก 30% ของผู้ป่วย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีม้ามโตแต่มักไม่โตมากนัก ตับอาจจะโตได้ซึ่งพบใน 5% ของผู้ป่วย

ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน จะมีอาการทาง systemic เช่น มีไข้ต่ำๆ เหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหลักลด คัน (pruritus) อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางคนอาจจะเจ็บต่อมน้ำเหลืองที่โตได้หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ แต่ไม่ค่อยพบมากนัก บางรายอาจมีไข้ขึ้นสูงและลงสลับกันเรียกว่า Pel-Ebstein fever แต่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าอาการไข้ชนิดนี้มีอยู่จริงหรือไม่ อาการทาง systemic อย่างการมีไข้ น้ำหนักลดนั้นเรียกรวมกันว่า B symptoms

การวินิจฉัย

แก้

จำเป็นที่จะต้องแยก มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน ออกจากโรคที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง อย่างเช่นโรคติดเชื้อต่างๆ และต้องแยกออกจากมะเร็งชนิดอื่น การให้การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดทำโดยการส่งชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองไปตรวจ อาจตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของอวัยวะหลักอื่นๆ และเพื่อศึกษาความเสี่ยงในการรักษาด้วยเคมีบำบัด อาจทำ PET scan เพื่อหารอยโรคที่มองไม่เห็นด้วย CT scan และอาจใช้ Gallium scan แทน PET scan

พยาธิวิทยา

แก้

Macroscopy

แก้

ต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับผลกระทบจะโตขึ้น แต่รูปร่างยังไม่เปลี่ยนแปลงเพราะ capsule ไม่ถูก invade ผิวหน้าตัดมักมีสีขาวอมเทาเสมอกัน บางครั้งอาจพบมี nodule

Microscopy

แก้

การศึกษาทาง microscopic โดยการทำ biopsy ต่อมน้ำเหลืองจะพบ Reed-Sternberg cells