มะนาต (อาหรับ: مناة  เสียงอ่านภาษาอาหรับ: [maˈnaː(h)] กรรมการก, [maˈnaːt] construct state; บางครั้งทับศัพท์เป็น manāh) เป็นเทพีที่ถูกบูชาในคาบสมุทรอาหรับก่อนการมาของอิสลามและศาสดามุฮัมมัดในมักกะฮ์ พร้อมกับพี่น้องของพระองค์ อัลลาต และอัลอุซซา[1] ในบรรดาพี่น้องของพระองค์ ตัวพระองค์ดั้งเดิมและแก่ที่สุด[2]

มะนาต
เทพีแห่งโชคชะตา โชคลาภ เวลา และความตาย
รูปปั้นนูนจากฮัฎร์ แสดงภาพเทพีอัลลาต ทรงยืนอยู่ระหว่างรูปปั้นหญิงสองคน โดยอาจเป็นอัลอุซซากับมะนาต ในศตวรรษที่ 2
ศูนย์กลางของลัทธิมักกะฮ์
ที่ประทับอัลมุชัลลัล
สัญลักษณ์ดวงจันทร์เสี้ยว, แก้วแห่งความตาย
เป็นที่นับถือในอาระเบีย
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองฮุบัล
พี่น้องอัลลาต, อัลอุซซา
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกอะแนงกี

เทวรูปของพระองค์ถูกทำลาย หลังจากศาสนาอิสลามเจริญรุ่งเรืองขึ้น และไม่มีใครบูชาพระองค์ในคาบสมุทรอาหรับอีกเลย

ศัพทมูลวิทยา แก้

มีความเป็นไปได้เกี่ยวกับพระนามของเทพีอยู่ 2 แบบ ประการแรก น่าจะมาจากคำว่า "มะนะ"[3] ดังนั้น พระนามของพระองค์มีความหมายว่า "ตัดสินให้" หรืออีกแบบหนึ่งคือ "กำหนด"[3][2] ประการที่สอง มันมาจากคำว่า มะนิยะ แปลว่า "โชคชะตา"[4] ทั้งสองความหมายเหมาะกับหน้าที่ของพระองค์ในฐานะเทพีแห่งโชคชะตา[3][2]

การสักการะ แก้

เนื่องจากเป็นเทพีแห่งโชคชะตา โชคลาภ และเวลา[2][5] พระองค์แก่กว่าอัลลาตกับอัลอุซซา เพราะมีการตั้งชื่อถึงพระองค์ เช่น อับดุลมะนาฮ์ หรือซัยด์ มะนาฮ์ ถูกพบก่อนชื่อของอัลลาตหรืออัลอุซซา[6] แต่ทั้งสามเป็นเทพีที่เก่าแก่ที่สุดของมักกะฮ์[6]

วิหารของพระองค์เคยถูกสร้างระหว่างมักกะฮ์กับมะดีนะฮ์บนชายฝั่งของทะเลแดง[7] เช่นที่อัลมุชัลลัล[8] โดยบนูเอาส์กับบนูคอซรอจญ์เป็นเผ่าที่อุทิศแด่เทพีองค์นี้มากที่สุด[8] จากกวีที่น่าจะเขียนโดยอับดุลอุซซา อิบน์ วะดีอะฮ์ อัลมุซานี ไว้ว่า:

... ข้าขอสาบานต่อมะนาต ณ ที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งคอซรอจญ์[1]

ภาพลักษณ์ของพระองค์ในช่วงแรกเป็นภาพไม้ที่ถูกชุ่มไปด้วยเลือดที่เชือดพลี[2] แต่ภาพลักษณ์ที่รู้จักกันมากที่สุดอยู่ที่อัลมุชัลลัล[8] เมื่อชาวอาหรับก่อนการมาของอิสลามจะมาแสวงบุญที่อัลมุชัลลัล พวกเขาจะโกนหัวและยืนต่อหน้าเทวรูปมะนาตสักครู่หนึ่ง[1] พวกเขาถือว่าการแวงบุญจะไม่สมบูรณ์ถ้ายังไม่ไปเยี่ยมเทวรูปพระองค์[1]

เทวรูปของพระองค์อยู่ท่ามกลางเทวรูป 360 องค์ที่กะอ์บะฮ์ รายงานจากอิบน์ อัลกัลบี เมื่อผู้แสวงบุญเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ พวกเขาจะสวดต่อพระนามของพระองค์กับพี่น้องของพระองค์ คืออัลลาตกับอัลอุซซา เพื่อให้พรและป้องกันพวกเขา[9]

มะนาตมีหน้าที่เฝ้าหลุมฝังศพ ตามจารึกบนป้ายสุสานที่เขียนว่า "และขอให้ดุชาเราะฮ์กับมะนาตกับก็อยเซาะฮ์สาปแช่งคนที่ขายสุสานนี้ หรือซื้อมัน หรือจำนำมัน หรือให้มันเป็นของขวัญ..."[2]

หลังการมาของอิสลาม แก้

ถูกกล่าวในโองการชัยฏอน แก้

มีรายงานอยู่หลายสายที่สืบไปยังสายรายงานของมุฮัมมัด อิบน์ กะอับ ที่ถูกลบออกไปสองชั่วรุ่นโดยอิบน์ อิสฮาก โดยมีเรื่องอยู่ว่า ในขณะที่มุฮัมมัดขอให้หมู่ญาติกับเพื่อนบ้านจากมักกะฮ์เข้ารับอิสลาม ตอนที่ท่านอ่านอายะฮ์จากซูเราะฮ์ อันนัจม์[10] ที่เทวทูตญิบรีลประทานไว้ว่า

แล้วพวกเจ้ามิได้เห็นอัลลาต และอัลอุซซา
และตัวอื่นคือตัวที่สาม, มะนาต ดอกหรือ?
(ซูเราะฮ์ที่ 53, 19–20)

ชัยฏอนทำให้ท่านอ่านประโยคอื่นเป็น:

แท้จริงสามองค์นั้นคือ อัลเฆาะรอนีก ซึ่งการขอร้องจะต้องแสวงหา (ภาษาอาหรับ:تلك الغرانيق العلى وإن شفاعتهن لترتجى.)

ประโยคนั้นมาจากบทสวดมนต์ของพหุเทวนิยมมักกะฮ์ที่กล่าวถึงเทพีทั้งสามในตอนที่เดินวนรอบกะอ์บะฮ์[9]

การทำลายวิหาร แก้

ในเดือนเดียวกันที่ส่งคอลิด อิบน์ อัลวะลีดไปทำลายอัลอุซซากับซุวา ซะอัด อิบน์ ซัยด์ อัลอัชฮาลีถูกส่งไปที่อัลมะชัลลัลพร้อมกับทหารม้า 20 นาย[11] เพื่อทำลายเทวรูปที่มีชื่อว่า มะนาต[12] ที่ถูกบูชาโดยพวกพหุเทวนิยมเผ่าเอาส์กับคอสรอจญ์ ตอนไปถึงที่นั่น ได้ปรากฏหญิงผิวดำแก้ผ้าที่มีผมกระเซิง ร้องไห้และตีอกของเธอ ซะอัดฆ่าเธอพร้อมกับทำลายเทวรูปและโลงศพ[13][14][15]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Al-Kalbi 2015, p. 13.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Tate 2005, p. 170.
  3. 3.0 3.1 3.2 Phipps 1999, p. 22.
  4. Griffo 2011, p. 104.
  5. Andrae 2012, p. 17.
  6. 6.0 6.1 Al-Kalbi 2015, p. 12.
  7. Jordan 2014, p. 187.
  8. 8.0 8.1 8.2 Papaconstantinou 2016, p. 253.
  9. 9.0 9.1 Al-Kalbi 2015, p. 17.
  10. (กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 53)
  11. Abu Khalil, Shawqi (1 March 2004). Atlas of the Prophet's biography: places, nations, landmarks. Dar-us-Salam. p. 226. ISBN 978-9960-897-71-4.
  12. "Obligation to destroy idols - islamqa.info". สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
  13. List of Battles of Muhammad เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. "The Sealed Nectar". สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
  15. "Sa‘d bin Zaid Al-Ashhali was also sent", Witness-Pioneer.com เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

สารานุกรม แก้