พระนางสิริยศวดีเทวี
นางโป่งน้อย หรือ สิริยศวดีเทวี (ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์), อโนชาเทวี (ปรากฏในพับสาวัดสันป่าเลียง)[1], ศรีทิพ หรือ ทิพทอง (ปรากฏในโคลงนิราศหริภุญชัย)[2][3][4], สมเด็จบพิตร พระมหาเทวีเจ้าอยู่หัว (ปรากฏในจารึกวัดอุทุมพรอาราม)[5][6] และ สมเด็จบพิตร พระมหาเทวีศรีรัตนจักรวรรดิ (จารึกวัดพระคำ)[7] เป็นเจ้านายฝ่ายในของอาณาจักรล้านนาที่มีบทบาททางการเมืองสูงและยาวนาน พระองค์เป็นหนึ่งในพระมเหสีในพญายอดเชียงราย เป็นมหาเทวีในพระเมืองแก้ว และเป็นมหาเทวีเจ้าตนย่าผู้ทรงอิทธิพลในรัชกาลของพระเมืองเกษเกล้า
สิริยศวดีเทวี | |
---|---|
มหาเทวีแห่งล้านนา | |
สวรรคต | ประมาณ พ.ศ. 2077 |
พระราชสวามี |
|
พระราชบุตร |
|
ราชวงศ์ | มังราย |
พระราชมารดา | ยายพระเป็นเจ้า |
พระราชประวัติ
แก้พระชนม์ชีพช่วงต้น
แก้สิริยศวดีเทวี หรือ นางโป่งน้อย (ภาษาถิ่นพายัพออกเสียงว่า "ป่งน้อย")[8] เป็นธิดาของขุนนางผู้ใหญ่และเป็นเครือญาติของผู้ครองเขลางค์นคร[9] และมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเมืองดังกล่าว ดังปรากฏใน ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าประสูติที่เมืองกุสาวดี (เมืองมีหญ้าคา)[10] บุรพชนสืบเชื้อสายหรืออาจเป็นว่านเครือของพระราชชนนีในพระเจ้าติโลกราช[11] และพระราชชนนีของพระองค์ก็มิใช่สตรีสามัญธรรมดา หากแต่มีบทบาทสำคัญยิ่งในรัชสมัยพระเมืองแก้ว ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์และจารึกวัดบ้านปานเรียกว่า "ยายพระเป็นเจ้า"[12][13] เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมีสันนิษฐานว่าพระราชชนนีนี้อาจสืบเชื้อสายมาจากวงศ์สุโขทัย[14]
ส่วน พงศาวดารโยนก พระยาประชากิจกรจักร์สันนิษฐานว่าพระนางมาจากเมืองจ้วด (จว้าด) แถบลุ่มน้ำสาละวินซึ่งเป็นเขตแดนของชาวไทใหญ่ และสุรศักดิ์ ศรีสำอาง อดีตผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถาน กรมศิลปากรกล่าวว่านางเป็นพระราชธิดาชาวไทใหญ่ ตามพงศาวดารโยนก[8]
สู่ราชวงศ์มังราย
แก้นางโป่งน้อยเข้าเป็นพระชายาในพญายอดเชียงราย แล้วได้รับการเฉลิมพระนามเป็นอโนชาเทวี การอภิเษกสมรสเกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมืองโดยปราศจากความรักซึ่งกันและกัน[8] เพราะพระนางมีชายคนรักอยู่แล้วคือศิริยวาปีมหาอำมาตย์ ซึ่งรักใคร่ชอบพอกันตั้งแต่ประทับที่เขลางค์นคร เมื่อพระนางอภิเษกสมรสแล้ว ศิริยวาปีมหาอำมาตย์ก็เข้ามาถวายการรับใช้ในราชสำนักเชียงใหม่เสียด้วย[8] พระนางสิริยศวดีเทวีมีพระราชโอรสกับพญายอดเชียงรายด้วยกันคือเจ้าแก้ว (ต่อมาคือพระเมืองแก้ว) แต่พบว่าพญายอดเชียงรายนั้นไม่รักพระราชโอรสแท้ ๆ ของพระองค์ กลับรักลูกเลี้ยงที่เป็นจีนยูนนานชื่อเพลาสลัง (ภาษาถิ่นพายัพออกเสียงว่า "เปาสะหล้าง") บางแห่งก็ว่าเพลาสลังนี้อาจเป็นพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระชายาชาวจีนยูนนาน[8] ดังปรากฏความใน พื้นเมืองเชียงใหม่ ความว่า[15]
"...เจ้าพญายอดมีลูกกับด้วยนางป่งน้อย เจ้าราชบุตรเกิดในปีเต่ายี สกราช ๘๔๔ ตัว ชื่อว่าเจ้ารัตนราชบุตร พญายอดตนพ่อบ่รักหลายเท่ารักลูกห้อผู้ ๑ ชื่อ เพลาสลัง เอามาเลี้ยงเป็นลูก แล้วหื้อไปกินเมืองพร้าวหั้นแล [...] เจ้าพญายอดเท่าเอาใจไปคบกับห้อ เสนาอามาจไหว้ว่ารือก็บ่ฟัง บ่ขับตามรีตท้าวคลองพญา บ่ชอบทัสสาธัมม์ เสนาอามาจบ่เพิงใจ จึงพร้อมกันเอาพญายอดไปไว้เสียเมืองซะมาศ แล้วพร้อมกันอุสสาภิเสกเจ้ารัตนราชบุตร อายุได้ ๑๔ ปี เป็นพญา..."
แต่หลังจากพระราชสวามีครองราชย์ได้ 8 ปี ก็ถูกเหล่าขุนนางผู้ใหญ่ที่ครองเขลางค์นคร ปลดออกจากราชบัลลังก์ให้ไปครองเมืองซะมาด (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน)[16] พร้อมกับยกเจ้าแก้ว ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษา 15 ปี[8] ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบมา[17] ด้วยความที่เครือญาติของพระนางมีฐานอำนาจที่เข้มแข็ง มีความเป็นไปได้สูงที่บิดาของพระนางมีส่วนร่วมในการแย่งชิงราชสมบัติจากพญายอดเชียงราย และสนับสนุนให้พระเมืองแก้วและนางโป่งน้อยเสวยราชย์[18] เมื่อขึ้นครองราชย์ก็พบว่านางโป่งน้อยมีอำนาจสูงมาก เนื่องจากมีบทบาทในการปกครองร่วมกับพระราชโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า "พระเป็นเจ้าสองพระองค์" และ "พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง"[19][20][21][22] แล้วยังพบใน โคลงนิราศหริภุญชัย บทที่ 160 ความว่า[4]
ธิบาธิเบศร์แก้ว | กัลยา ก็มา | |
ปกป่าวชุมวนิดา | แห่ห้อม |
คือจันทร์อำรุงดา- | ราล่อง งามเอ่ | |
สนมนาฏเลือนเลือนล้อม | เนกหน้าเต็มพลาน |
ส่วน โคลงนิราศหริภุญชัย บทที่ 180 บันทึกไว้ความว่า[4]
คราวครานเถิงถาบห้อง | หริภุญช์ | |
ริร่ำสองอาดูร | นิราศร้าง |
ปุนขะสดป่านแปงทูล | ทิพอาช ญาเอ่ | |
ถวายแด่นุชน้องอ้าง | อ่านเหล้นหายฉงน |
ซึ่งอรุณรัตน์ วิเชียรเขียว อาจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวไว้ว่านี่เป็นการสถาปนาพระเจ้าแผ่นดินครั้งแรกของล้านนาที่พระราชชนนีครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรส[8] และอธิบาย นิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งโดยศิริยวาปีมหาอำมาตย์ มีการกล่าวถึงมหาเทวีนี้ว่า "ธิบาธิเบศแก้ว กัลยา" (แปลว่า กษัตริย์หญิง) และ "ทิพอาชญา" (แปลตรงตัวว่า นางทิพผู้ทรงอาชญา คือทิพผู้เป็นกษัตริย์)[3]
หลังเสวยราชย์ร่วมกับพระเมืองแก้ว พระราชโอรส พระองค์อภิเษกสมรสใหม่กับศิริยวาปีมหาอำมาตย์ ดังปรากฏใน ชินกาลมาลีปกรณ์ ที่เรียกว่า "ศิริยวาปีมหาอำมาตย์ผู้เป็นสวามี"[3] และมีพระราชโอรสไม่ปรากฏนามหนึ่งคน ซึ่งไปดูแลเมืองแม่สรวยระยะหนึ่ง โดยเนื้อหาได้บันทึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับศิริยวาปีมหาอำมาตย์ความว่า[4]
"…ลำดับนั้นพระสิริยศวดีผู้เป็นราชมารดาจึ่งบริจาคทรัพย์เป็นอันมาก ยกเอาที่บ้านแห่งศิริยวาปีมหาอำมาตย์ผู้เป็นสามี นั้นสร้างเป็นสังฆารามแล้ว ก่อเจดีย์ลงในอารามนั้นเป็นที่สักการบูชา…"
มหาเทวีเจ้าตนย่า
แก้หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเมืองแก้ว ผู้เป็นพระราชโอรส เมื่อพระเมืองเกษเกล้าเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากพระนางด้วยมีศักดิ์เป็นมหาเทวีเจ้าตนย่า (สมเด็จพระอัยยิกาเจ้า) ด้วยความที่พระนางสั่งสมอำนาจเป็นเวลายาวนาน และมีเครือข่ายที่กว้างขวางที่สามารถค้ำจุนพระราชนัดดาของพระองค์ได้[23] แต่หลังจากการสวรรคตของพระองค์ในช่วงปี พ.ศ. 2077 ก็เกิดกบฏหมื่นสามล้านในปี พ.ศ. 2078[23]
พระราชกรณียกิจ
แก้พระองค์มีศรัทธาในบวรพุทธศาสนา ขณะที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นพระมเหสีในพญายอดเชียงราย พระองค์สร้างวัดโป่งน้อย ตั้งอยู่ใกล้กับวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ที่พระนางอะตะปาเทวี อัครมเหสีอีกองค์หนึ่งสร้างไว้[24][25]
อย่างไรก็ตามหลังจากที่พระนางและพระเมืองแก้ว พระราชโอรสยึดราชสมบัติจากพญายอดเชียงรายแล้ว พระองค์ได้ครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรส โดยทรงดูแลกิจการภายในราชสำนักเชียงใหม่ทั้งหมด และทรงอยู่เหนือกว่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[8] ก็ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาตลอด เช่นสร้างวัดบุพพาราม ในปี พ.ศ. 2039[26] และวัดศรีสุพรรณ ในปี พ.ศ. 2043[27]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ "จารึกล้านนา". สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-31. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โคลงนิราศหริภุญชัย". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "โคลงนิราศหริภุญไชย แต่งให้ "พระนางสิริยศวดี" กษัตริย์หญิงล้านนาเมื่อ 500 ปีที่แล้ว". สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส. 18 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 เพ็ญสุภา สุขคตะ (1 กุมภาพันธ์ 2561). ""ล้านนาศึกษา" ใน "ไทศึกษา" ครั้งที่ 13 (16) 500 ปี โคลงนิราศหริภุญไชย : คุณค่า และความทรงจำ (จบ)". มติชนสุดสัปดาห์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "จารึกวัดอุทุมพรอาราม". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "จารึกวัดอุทุมพรอาราม" (PDF). จารึกล้านนา. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "จารึกวัดพระคำ". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 เพ็ญสุภา สุขคตะ (30 พฤศจิกายน 2560). ""ล้านนาศึกษา" ใน "ไทยศึกษาครั้งที่ 13" (8) เมืองน้อย เมืองเนรเทศกษัตริย์ล้านนา The Romance of Three Kingdoms (3)". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ชินกาลมาลีปกรณ์, หน้า 144
"ในปีนี้ [พ.ศ. 2060] วันขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย พระนางสิริยสวดีราชมารดา โปรดให้ยกฉัตรยอดเจดีย์ที่วัดซึ่งพระนางสร้างไว้ ณ ตำบลบ้านอยู่ของมหาอำมาตย์ผู้เป็นใหญ่ในหนองขวาง และยกมหาวิหารขึ้นด้วย..."
- ↑ ชินกาลมาลีปกรณ์, หน้า 135
"ย่างเข้าปีที่ 4 เป็นปีระกา พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชทรงฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทองและหอมณเทียรธรรมที่พระองค์โปรดให้สร้างในวัดปุพพารามแล้ว และทรงฉลองวัดกุมาราราม ซึ่งพระนางสิริยสวดี พระราชชนนีของพระองค์สร้างไว้ในตำบลบ้านเกิดของพระนาง ในเมืองกุสาวดี (เมืองมีหญ้าคา)..."
- ↑ ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ, หน้า 158
- ↑ ชินกาลมาลีปกรณ์, หน้า 161
- ↑ "จารึกวัดบ้านปาน". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ, หน้า 163
- ↑ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 107
- ↑ "พบหม้อใส่แหวนรัตนชาติใน "เมืองน้อย" ที่คุมขังโอรสพระเจ้าติโลกราชผู้ถูกใส่ร้ายจนโดนประหาร". มติชนออนไลน์. 29 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พื้นเมืองเชียงแสน, หน้า 157
- ↑ ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 168
- ↑ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3, หน้า 195
- ↑ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3, หน้า 198
- ↑ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4, หน้า 112
- ↑ ประชุมศิลาจารึกเมืองพะเยา, หน้า 263
- ↑ 23.0 23.1 ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 175
- ↑ ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ, หน้า 155
- ↑ "จารึกวัดตโปทาราม". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ชินกาลมาลีปกรณ์, หน้า 130
- ↑ "ภาษาและวรรณกรรม - ศิลาจารึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-28. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
- บรรณานุกรม
- สรัสวดี อ๋องสกุล (ปริวรรต). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2546
- ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3. คณะกรรมการจัดการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508
- ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4. คณะกรรมการจัดการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513
- สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2538
- สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. ISBN 978-974-8132-15-0
- เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
- รัตนปัญญาเถระ, พระภิกษุ (เขียน) แสง มนวิทูร, ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. (แปล). ชินกาลมาลีปกรณ์. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร 20 เมษายน 2517
- อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543