มหาหงส์

สปีชีส์ของพืช
มหาหงส์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
สกุล: Hedychium
สปีชีส์: H.  coronarium
ชื่อทวินาม
Hedychium coronarium
J.G. Koenig

มหาหงส์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hedychium coronariumJ.G. Koenig;อังกฤษ: White Ginger) เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกัน ขิง ข่า และขมิ้น อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ หรือตามชายป่าใกล้ลำธาร เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไร พบขึ้นมากในภาคเหนือ มีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ สะเลเต หางหงส์ กระทายเหิน ตาห่าน เหินแก้ว และเหินดำ

ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นลำตรง สูง ๑-๒ ม. ใบจากโคนมีขนาดเล็ก และเรียงห่าง ๆ กัน ใบถี่ตรงใกล้ยอด รูปขอบขนานปลายแหลมหรือมนเล็กน้อย ยาว ๒๐-๓๐ ซม. กว้าง ๗-๑๐ ซม. ดอกออกที่ยอดเป็นช่อสั้น มีใบประดับสีเขียวรูปคล้ายเรือเรียงเป็นกระจุก ดอกมีสีขาวล้วน ขนาดประมาณ ๗ ซม.บานครั้งละ ๑-๓ ดอก โคนเป็นหลอดเล็ก ยาว ดอกมีกลิ่นหอมเย็น ในตำรากบิลว่านกล่าวว่าดอกว่านชนิดนี้มีกลิ่นหอมแรงกว่าว่านทั้งปวง[1] ผลเป็นรูปรีขนาดประมาณปลายนิ้ว แตกเป็น ๓ พู ในธรรมชาติบานในช่วงฤดูฝน

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ขึ้นได้ดีทั่วประเทศ เหง้าบดผสมน้ำผึ้งใช้เป็นยาแก้กระษัย น้ำคั้นทาแก้ฟกช้ำ เชื่อว่าเป็นไม้มงคลทางเมตตามหานิยม ชาวไทใหญ่นิยมใช้ดอกมหาหงส์บูชาพระ ตำราว่านกล่าวว่า หากปลูกไว้กับบ้านเรือนจะเป็นสิริมงคลอย่างสูง[2]

อ้างอิง แก้

  1. สวิง กวีสุทธิ์. ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : เขษมบรรณกิจ, 2525
  2. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ว่าน. กทม. เศรษฐศิลป์. 2553