มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม

มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม เป็นสิ่งก่อสร้างซึ่งเคยตั้งอยู่ ณ จุดที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหารนักบุญเปโตรหลังปัจจุบันในกรุงโรมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึง 16 การก่อสร้างมหาวิหาร ซึ่งตั้งอยู่เหนือเซอร์คัสเนโรในอดีต เริ่มต้นขึ้นระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ชื่อ "มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม" ถูกใช้สืบมานับตั้งแต่การก่อกร้างมหาวิหารปัจจุบันเพื่อแยกสิ่งก่อสร้างทั้งสองนี้[1]

ภาพวาดมหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเชื่อกันว่าจะเป็นภาพมหาวิหารเมื่อราว ค.ศ. 1450

ประวัติ แก้

การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตามพระราชโองการของจักรพรรดิคอนแสตนตินที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่าง ค.ศ. 326 และ 333 และใช้เวลาก่อสร้างราว 30 ปีจึงแล้วเสร็จ การออกแบบนั้นเป็นรูปแบบมหาวิหารตัวอย่าง[2] ในอีกสิบสองศตวรรษต่อมา โบสถ์จะค่อย ๆ มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น และจะยิ่งกลายเป็นสถานที่สำหรับจาริกแสวงบุญในกรุงโรม

พิธีสมณาภิเษกพระสันตปาปาเริ่มต้นกระทำที่นี่ และใน ค.ศ. 800 สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระเจ้าชาร์เลอมาญประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ใน ค.ศ. 846 พวกซาราเซนปล้นและทำลายมหาวิหารดังกล่าว[3]

อย่างไรก็ตาม โบสถ์กำลังค่อย ๆ พังทลายลงเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และการอภิปรายที่จะปฏิสังขรณ์บางส่วนของสิ่งก่อสร้างนั้นเริ่มต้นตั้งแต่สำนักพระสันตะปาปาได้ย้ายกลับมาจากอาวีญงปาปาซี สองคนที่เกี่ยวข้องในการปฏิสังขรณ์อาคาร ได้แก่ เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี และเบอร์นาร์โด รอสเซลลีโน ซึ่งการก่อสร้างนั้นดำเนินต่อไปเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งเริ่มก่อสร้างมหาวิหารแห่งใหม่ ในตอนแรกสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 มีพระประสงค์ที่จะอนุรักษ์อาคารมหาวิหารหลังเก่าไว้ แต่พระประสงค์ของพระองค์ได้เปลี่ยนไปเป็นการทำลายมหาวิหารหลังเก่าเสียและก่อสร้างอาคารหลังใหม่แทน มีหลายคนในเวลานั้นที่รู้สึกตกใจกับข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากตัวอาคารแสดงถึงความต่อเนื่องของสมเด็จพระสันตปาปาซึ่งสืบย้อนไปถึงนักบุญเปโตร ส่วนแท่นบูชาดั้งเดิมนั้นถูกเก็บรักษาไว้ในอาคารหลังใหม่ที่จะสร้างครอบมันไว้

สุสานสมเด็จพระสันตปาปา แก้

นับตั้งแต่การตรึงกางเขนและการฝังศพนักบุญเปโตรเมื่อ ค.ศ. 64 จุดดังกล่าวเป็นที่คาดกันว่าจะเป็นตำแหน่งของนักบุญเปโตร ซึ่งมีแท่นบูชาเล็ก ๆ ตั้งอยู่ เมื่อศาสนสถานแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ตัวโบสถ์ก็ได้มีการแต่งตั้งด้วยรูปปั้น ของประดับ และแชนเดอเลียร์อันประณีตเป็นจำนวนมาก ตลอดจนสุสานด้านข้างและแท่นบูชาก็ได้ถูกเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง[1]

สิ่งก่อสร้างหลังนี้เต็มไปด้วยสุสานและร่างของนักบุญและสมเด็จพระสันตปาปาทั้งหลาย โครงกระดูกยังคงถูกพบเรื่อยมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1544 ในตอนท้ายสุด การออกแบบของมหาวิหารหลังใหม่จึงพยายามที่จะอุทิศให้กับโครงกระดูกเหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Boorsch, Suzanne (Winter 1982–1983). "The Building of the Vatican: The Papacy and Architecture". The Metropolitan Museum of Art Bulletin. 40 (3): 4–8.
  2. Sobocinski, Melanie Grunow (2005). Detroit and Rome. The Regents of the Univ of Michigan. p. 77. ISBN 0-933691-09-2.
  3. Davis, Raymond, The lives of the ninth-century popes (Liber pontificalis) , (Liverpool University Press, 1995), 96.
  4. Hersey, George L (1993). High Renaissance Art in St. Peter's and the Vatican: An Interpretive Guide. University of Chicago Press. pp. 73–4. ISBN 0226327825.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้