มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์แฮลลัม
มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ฮัลลัม (อังกฤษ: Sheffield Hallam University)[ม 1] เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่ในเมืองเชฟฟีลด์ แคว้นเซาท์ยอร์กเชอร์ มีวิทยาเขตหลักใกล้กับสถานีรถไฟเชฟฟีลด์ และมีวิทยาเขตรองแห่งหนึ่งที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง มหาวิทยาลัยยกฐานะจากวิทยาลัยเทคนิคนครเชฟฟีลด์ และเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาสองแห่งในตัวเมือง ซึ่งอีกแห่งหนึ่งที่มีจำนวนนักศึกษาน้อยกว่าคือ มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักศึกษารวมมากเป็นอันดับที่ 3 ของสหราชอาณาจักร รองจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์และมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม โดยไม่นับรวมมหาวิทยาลัยเปิด[1]
คติพจน์ | อังกฤษ: Learn and Serve ไทย: เรียนรู้เพื่อรับใช้ | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล | ||||||||||||||
สถาปนา | พ.ศ. 2535 — ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2512 — วิทยาลัยเทคนิคนครเชฟฟีลด์ พ.ศ. 2386 — โรงเรียนช่างฝีมือ | ||||||||||||||
ที่ตั้ง | , , 53°22′45″N 1°27′53″W / 53.379105°N 1.464706°W | ||||||||||||||
วิทยาเขต | ในเมือง | ||||||||||||||
สี | |||||||||||||||
เครือข่าย | ยูนิเวอร์ซิตีอัลไลอันซ์ สมาคมมหาวิทยาลัยเครือจักรภพ | ||||||||||||||
เว็บไซต์ | shu | ||||||||||||||
ประวัติ
แก้ในชั้นแรกเริ่ม ได้มีการตั้งสถาบันอาชีวศึกษาชื่อโรงเรียนการออกแบบเชฟฟีลด์ขึ้น เพื่อรองรับความเป็นเมืองอุตสาหกรรม เมื่อ พ.ศ. 2386 โดยมีเบนจามิน เฮย์ดอน (Benjamin Haydon) เป็นหัวหน้าการในการวิ่งเต้น[2] กิจการของโรงเรียนดำเนินการได้ด้วยดี ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนช่างฝีมือเชฟฟีลด์ (City of Sheffield Training College) เมื่อ พ.ศ. 2448[3] มีการสร้างอาคารโอเวน (Owen Building) เพื่อเป็นอาคารหลักของวิทยาเขตในปี พ.ศ. 2510[4][5] สองปีให้หลังโรงเรียนฝึกหัดครูแปรสภาพเป็นวิทยาลัยเทคนิคนครเชฟฟีลด์ ซึ่งได้รับโรงเรียนฝึกหัดครูสองแห่งที่เปิดดำเนินการมาแล้ว ในที่สุดเมื่อมีพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาและการศึกษาชั้นสูง (Higher and Further Education Act 1992)[6] มาตรา 63 ทำใหวิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นสูงหลายแห่งต้องแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัย โดยวิทยาลัยฯ ได้แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ฮัลลัม (เพื่อมิให้สับสนกับมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ที่มีมาก่อนหน้า) ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทำการสอนในที่ตั้งเดียวใจกลางเมืองเชฟฟีลด์ มีอาคารสถาบันศิลปะมูลค่า 26 ล้านปอนด์ ที่ทางเข้ามหาวิทยาลัย[7]
คณะ
แก้มหาวิทยาลัยประกอบด้วย 4 คณะวิชา ดังนี้[8]
- คณะศิลปะ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (Faculty of Arts, Computing, Engineering and Sciences)
- คณะการพัฒนาและสังคม (Faculty of Development and Society)
- คณะสุขภาพและสุขภาวะ (Faculty of Health and Wellbeing)
- คณะบริหารธุรกิจ (Sheffield Business School)
หมายเหตุ
แก้- ↑ พื้นถิ่นอ่านออกเสียง ฮะลัม หรือ ฮัลลัม ส่วน แฮลัม นั้นไม่ถูก ตามชื่อแคว้นฮัลลัมเชอร์ ดูรายละเอียดที่ https://forvo.com/search/Hallamshire/
อ้างอิง
แก้- ↑ "Table 1 - UK/EU/non-EU students by HE provider". hesa.ac.uk. Higher Education Statistics Agency. 21 January 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ Basford, John A School of Art is Beginning From Sheffield Government School of Design to Sheffield Hallam University Part 1 1843–1963, Sheffield, Sheffield Hallam University, p. 3
- ↑ "Sheffield Crescenters Association annual reunion". shu.ac.uk. 1 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 2015-02-14.
- ↑ "The Owen Building". skyscrapernews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-02-14.
- ↑ "Owen Building Refurbishment". baggaley.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-02-14.
- ↑ "Further and Higher Education Act 1992". 6 March 1992. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
- ↑ "University gets keys to Furnival Building". Sheffield Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-29. สืบค้นเมื่อ 2015-02-14.
- ↑ "SHU: Faculties". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.