มหาวิทยาลัยมุมไบ

มหาวิทยาลัยมุมไบ (อังกฤษ: University of Mumbai, ชื่อไม่ทางกางการ: Mumbai University) อักษรย่อ MU หรือชื่อเดิมมหาวิทยลัยบอมเบย์ (อังกฤษ: University of Bombay) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลประจำรัฐชนิดเชิงวิทยาลัย (collegiate) ที่ตั้งอยู่ในมุมไบ รัฐมหาราษฏระ เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงระดับปริญญาเอก เช่นเดียวกับอนุปริญญาและการสอนรับรองวิทยฐานะ โดยมีการเรียนการสอนในหลายสาขา เช่น ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์ การเรียนการสอนในหลักสูตรส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยมุมไบ
University of Mumbai
Mumbaī Vidyapīṭha
หอนาฬิการาชาภาอี
หอนาฬิการาชา ภาอี (Rajabhai Clock Tower) สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมมหาวิทยาลัยบอมเบย์ (University of Bombay)
ประเภทรัฐบาล
สถาปนา18 กรกฎาคม 1857; 166 ปีก่อน (1857-07-18)
ผู้สถาปนาจอห์น วิลเซิน
อธิการบดีราชปาลรัฐมหาราษฏระ
รองอธิการบดีSuhas Pednekar[1]
ผู้ศึกษา7,579[2]
ปริญญาตรี1,459[2]
บัณฑิตศึกษา5,638[2]
ที่ตั้ง, ,
18°58′30″N 72°49′33″E / 18.97500°N 72.82583°E / 18.97500; 72.82583
วิทยาเขตเมือง
สี  สีน้ำเงิน
เครือข่ายUGC, NAAC, AIU
เว็บไซต์mu.ac.in

มหาวิทยาลัยมุมไบก่อตั้งขึ้นในปี 1857 และมีสองวิทยาเขตอยู่ในมุมไบ (วิทยาเขตกาลีนา-Kalina และวิทยาเขตฟอร์ต-Fort) อีกสองวิทยาเขตอยู่นอกมุมไบ หนึ่งในนั้นคืออนุวิทยาเขตฐาเน (Thane Sub Campus) โดยวิทยาเขตฟอร์ต (Fort) นั้นมีไว้สำหรับงานบริหารจัดการและธุรการเท่านั้น ในปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งในมุมไบที่เคยขึ้นต่อหรือเกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยได้แยกออกไปเป็นสถาบันหรือหน่วยงานของตนเอง มหาวิทยาลัยมุมไบเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3] และมีวิทยาลัยร่วมรวมแล้ว (affiliated college) จำนวน 711 สถาบัน (ปี 2013)[4]

ประวัติ แก้

ใน "วู้ดส์ เดสพาทช์" (Wood's despatch) ซึ่งร่างโดยเซอร์ชารลส์ วู้ด (Sir Charles Wood) ในปี 1854 ได้ระบุว่ามหาวิทยาลัยบอมเบย์ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1857 หลังการฎีกาโดยสมาคมบอมเบย์ (Bombay Association) ไปยังรัฐบาลบริเตนในขณะนั้น[5] โดยถอดแบบมาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยลอนดอน[5]: 188 

สาขาวิชาแรกที่เปิดสอนคือคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Arts) ที่วิทยาลัยเอลเฟ็นสเทิน (Elphinstone College) ในปี 1835 และตามด้วยคณะแพทยศาสตร์ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรานท์ (Grant Medical College) ในปี 1845[5] ทั้งสองวิทยาลัยนี้ตั้งมาก่อนที่มหาวิทยาลัยบอมเบย์จะเกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็ได้เข้าร่วมกับมหาวิทยาลัย และส่งมอบสิทธิ์ในการออกปริญญาให้เป็นของมหาวิทยาลัยบอมเบย์หลังการก่อตั้ง ปริญญาแรกของมหาวิทยาลัยได้มอบให้ในปี 1862 สำหรับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Arts) และปริญญาใบประกอบวิชาชีพทางแพทยศาสตร์ (Licentiate in Medicine)[5] ในตอนแรกนั้นสำนักงานของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่ศาลากลางมุมไบ

บัณฑิตหญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยบอมเบย์คือ Cornelia Sorabji ในปี 1888 ก่อนที่เธอจะไปศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ที่ วิทยาลัยซัมเมอร์วิลล์ (Somerville College) ของมหาวิทยาลัยออกซ์เฟิร์ด ที่ซึ่งเธอเป็นนักศึกษานิติศาสตร์หญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยออกซ์เฟิร์ด หลังจบการศึกษาเธอประกอบอาชีพทนาย และเป็นทนายผู้หญิงคนแรกของประเทศอินเดีย[6][7]

อ้างอิง แก้

  1. "Hon'ble Vice Chancellor". mu.ac.in. Mumbai University. 22 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 "University Student Enrollment Details". www.ugc.ac.in. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  3. "Mumbai University records 60% rise in students" : DNA – Daily News and Analysis newspaper article, Monday, 21 March 2011.
  4. With 811 colleges, Pune varsity 2nd largest in country The Times of India newspaper article : 4 November 2013
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Aroon Tikekar (2006). The Cloister's Pale: A Biography of the University of Mumbai (2nd ed.). Mumbai: Popular Prakashan. ISBN 978-81-7991-293-5.
  6. First lady – Moneylife เก็บถาวร 22 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "University strengthens ties with India". Cherwell. 13 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2014.