วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เป็นวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์

วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Phokhunphamueang Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University
สถาปนา23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (23 ปี)
คณบดีพระปริยัติพัชราภรณ์ (สุพจน์ ปญญาธโร)
ที่อยู่
91 ถนนพิทักษ์ ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
วารสารวารสารวิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง
มาสคอต
พระเกี้ยว
เว็บไซต์www.pnb.mcu.ac.th

วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ โดยจัดการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ให้นำไปสู้การพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืน

ประวัติ แก้

คณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการนำของพระเทพรัตนกวี (สุรินทร์ ชุตินฺธโร) เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ มีความมุ่งมั่นและประสงค์อย่างยิ่งที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดใกล้เคียง จึงมอบหมายให้พระปริยัติพัชราภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์ได้เสนอขอขยายห้องเรียนไปยังมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย และได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ให้เป็น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนจังหวัดเพชรบูรณ์[1] ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2558 จึงได้ขออนุมัติจัดตั้งเป็น วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง[2]

หลักสูตร แก้

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง ได้รับอนุมัติให้เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต จำนวน 3 สาขาวิชาคือ

ปริญญาตรี แก้

  1. สาขาวิชาศาสนา สำหรับพระภิกษุสามเณร
  2. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์
  3. สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชาเอกการบริหารรัฐกิจ สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์

ประกาศนียบัตร แก้

นอกจากนี้ยังเปิดทำการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตร หลักสูตร 1 ปี จำนวน 1 หลักสูตรคือ หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) จำนวน 2 แห่งคือวัดประชานิมิต ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ และวัดมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการเปิดโอกาสให้พระสังฆาธิการและครูสอนพระปริยัติธรรมได้เข้าศึกษาเพื่อเป็นการพัฒนาการทำงานของคณะสงฆ์ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น[3]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้