มณฑลยูนนาน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ยูนนาน[5] หรือ หยุนหนาน[5] หรือภาษาจีนมาตรฐานว่า ยฺหวินหนาน (จีน: ) และมีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช[6] เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 394,000 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 48.300 ล้านคน (ค.ศ. 2018) มีเมืองหลวงของมณฑลชื่อ คุณหมิง มณฑลยูนนานมีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลและเขตปกครองต่าง ๆ ของประเทศจีน ได้แก่ กว่างซี กุ้ยโจว เสฉวน และทิเบต รวมถึงติดต่อกับประเทศเวียดนาม ลาว และพม่า ยูนนานเป็นมณฑลที่พัฒนาน้อยที่สุดเป็นอันดับสี่ของจีนโดยพิจารณาจากรายได้ต่อหัวในปี ค.ศ. 2014[7] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีก 25 กลุ่มชาติพันธุ์
มณฑลยูนนาน 云南省 | |
---|---|
การถอดเสียง | |
• ภาษาจีน | ยฺหวินหนานเฉิ่ง (云南省 Yúnnán Shěng) |
• ชื่อย่อ | เตียน (滇 Diān) หรือ ยฺหวิน (云/雲 Yún) |
(ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน) | |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลยูนนาน | |
พิกัด: 25°03′N 101°52′E / 25.050°N 101.867°E | |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | คุนหมิง |
เขตการปกครอง | 16 จังหวัด, 129 อำเภอ, 1565 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | เฉิน หาว |
• ผู้ว่าราชการ | หร่วน เฉิงฟา |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 394,000 ตร.กม. (152,000 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 8 |
ความสูงจุดสูงสุด | 6,740 เมตร (22,110 ฟุต) |
ประชากร (พ.ศ. 2553)[2] | |
• ทั้งหมด | 45,966,239 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 12 |
• ความหนาแน่น | 120 คน/ตร.กม. (300 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 24 |
ประชากรศาสตร์ | |
• ชาติพันธุ์ | |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ และภาษาชนกลุ่มน้อย 25 ภาษา |
รหัส ISO 3166 | CN-YN |
GDP (พ.ศ. 2560)[3] | 1.65 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 20) |
• ต่อหัว | 34,546 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 30) |
HDI (พ.ศ. 2556) | 0.609[4] (ปานกลาง) (อันดับที่ 29) |
เว็บไซต์ | www |
มณฑลยูนนานตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขา โดยมีที่สูงทางตะวันตกเฉียงเหนือและที่ต่ำทางตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตะวันออกของมณฑล ส่วนทางตะวันตกมีทั้งยอดเขาและหุบเขาโดยที่ระดับความสูงแตกต่างกันมากถึง 3,000 เมตร มณฑลยูนนานอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีพันธุ์พืชที่หลากหลายมากที่สุดในประเทศจีน จากพืชชั้นสูงในประเทศจีนซึ่งมีประมาณ 30,000 สปีชีส์ อาจพบในยูนนานถึง 17,000 สปีชีส์หรือมากกว่า[8] มณฑลยูนนานเป็นแหล่งสำรองอะลูมิเนียม ตะกั่ว สังกะสี และดีบุก ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และยังมีแหล่งทองแดงและนิกเกิลที่สำคัญอีกด้วย
ราชวงศ์ฮั่นบันทึกความสัมพันธ์ทางการทูตกับยูนนานเป็นครั้งแรกเมื่อปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล และเคยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมที่ไปยังภิตรคร ในประเทศบังกลาเทศ พื้นที่ของยูนนานถูกปกครองโดยอาณาจักรน่านเจ้า ในช่วงปี ค.ศ. 738–937 และตามด้วยอาณาจักรต้าหลี่ ในช่วงปี ค.ศ. 937–1253 และหลังจากสมัยราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ยูนนานถูกยึดครองโดยราชวงศ์หมิงในคริสต์ศตวรรษที่ 13
ประวัติศาสตร์
แก้- ก่อนศตวรรษที่ 3 แม่ทัพจ้วงเฉี่ยวแห่งแคว้นฉู่ได้เข้ามายึดครองพื้นที่แถบนี้แล้วตั้งเป็นอาณาจักรเตียน จนมาถึงก่อนปี ค.ศ. 221 จักรพรรดิฮั่นอู่ได้ส่งแม่ทัพกัวะชางมาปราบชนเผ่าแถบนี้ ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอี้โจว ได้มีการซ่อมถนนเพื่อค้าขายกับอาณาจักรพม่า
- ค.ศ. 738 หัวหน้าชนเผ่าเมื่องเซอเจ่าในเขตเมืองเออไฮ้ นามว่าผีลัวะเกอ (พี่ล่อโก๊ะ) ได้สถาปนาเมืองเป็นอาณาจักรหนานเจ่า (น่านเจ้า) จักรพรรดิถังเสฺวียนจงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ยฺหวินหนานอ๋อง (กษัตริย์แห่งยฺหวินหนาน) ได้สร้างเมืองไท่เหอ (เมืองต้าหลี่ในปัจจุบัน)
- ค.ศ. 937 ต้วนซึผิง ชนเผ่าไป๋ได้เข้ามายึดครองและสถาปนาเป็นอาณาจักรต้าหลี่ จนถึงปี ค.ศ. 1253
- ค.ศ. 1253 กุบไล ข่านได้ส่งกองทัพมองโกลมาปราบ
- ค.ศ. 1276 ได้ลดฐานะลงเป็นมณฑลยฺหวินหนาน มีเมืองจงซิงลู่ (เมืองคุนหมิงในปัจจุบัน) เป็นเมืองหลวงของมณฑล ในสมัยนี้ได้เริ่มมีการทำเหมืองทองแดงและเหมืองเงินจนถึงปัจจุบัน
- ค.ศ. 1381 จักรพรรดิหงอู่ได้ส่งแม่ทัพบั่วโยวเตอและมู่อิงมาตียฺหวินหนานและปราบเหลียงอ๋องแห่งราชวงศ์หยวน
- ค.ศ. 1659 จักรพรรดิซุ่นจื้อได้ส่งผิงซีอ๋อง อู๋ ซานกุ้ยมาตามจับจักรพรรดิยงลี่แห่งหนานหมิง ภายหลังอู๋ ซานกุ้ยได้รับแต่งตั้งให้ปกครองยฺหวินหนาน
ภูมิศาสตร์
แก้มณฑลยูนนานเป็นมณฑลที่อยู่ใต้สุดในประเทศจีน โดยมีเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ผ่านทางตอนใต้ มณฑลนี้มีพื้นที่ 394,100 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 4.1 ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศ ส่วนเหนือของมณฑลเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงยูนนาน–กุ้ยโจว มณฑลนี้มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองตนเองกว่างซีและมณฑลกุ้ยโจวทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมณฑลเสฉวนทางทิศเหนือ และติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบตทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังมีเขตแดนติดต่อกับประเทศข้างเคียงเป็นระยะทาง 4,060 กิโลเมตร โดยติดต่อกับประเทศพม่า (รัฐกะชีนและรัฐชาน) ทางทิศตะวันตก กับประเทศลาว (แขวงหลวงน้ำทา แขวงอุดมไซ และแขวงพงสาลี) ทางทิศใต้ และกับประเทศเวียดนาม (จังหวัดห่าซาง จังหวัดหล่าวกาย จังหวัดลายเจิว และจังหวัดเดี่ยนเบียน) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในทางปฏิบัติ ทั้งพื้นที่มณฑลยูนนานอยู่ในบริเวณโซเมียของเอเชีย
ภูมิประเทศ
แก้มณฑลยูนนานเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ภูเขาเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 84% นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ราบสูงประมาณ 10% และมีพื้นที่ลุ่มน้ำอีก 6%
จุดสูงสุดของมณฑลคือยอดเขา Kawagebo โดยมีความสูง 6,740 เมตร ส่วนจุดที่ต่ำสุดมีความสูง 76.4 เมตร
แม่น้ำ
แก้มณฑลยูนนานมีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านทั้งหมด 6 สายด้วยกัน ได้แก่
- แม่น้ำแยงซี หรือรู้จักกันในมณฑลนี้ว่าแม่น้ำจินซา (แม่น้ำทรายทอง) ไหลผ่านทางเหนือของมณฑล
- แม่น้ำจู ต้นน้ำของแม่น้ำจูเจียงในนครกวางโจว
- แม่น้ำโขง (แม่น้ำล้านช้าง) มีต้นกำเนิดในทิเบต ไหลผ่านประเทศพม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ออกสู่ทะเลจีนใต้
- แม่น้ำแดง (แม่น้ำหงเหอ) ไหลลงสู่อ่าวตังเกี๋ย บริเวณประเทศเวียดนาม
- แม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำนู่เจียง) ไหลลงสู่อ่าวเมาะตะมะ ทะเลอันดามัน ประเทศพม่า
- แม่น้ำอิรวดี
ความหลากหลายทางชีวภาพ
แก้มณฑลยูนนาน ถือเป็นดินแดนหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก มีพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ มากมาย ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิดของโลก เฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีมากถึง 3,000 ชนิด คิดเป็นครึ่งหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดที่พบในจีน และมีถึง 66 ชนิดที่พบได้เฉพาะมณฑลยูนนานนี้เท่านั้น อาทิ แพนด้าแดง ทาคิน เสือดาวหิมะ และลิงจมูกเชิดยูนนาน[9]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้มณฑลยูนนานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 เขตการปกครองระดับจังหวัด ได้แก่ นครระดับจังหวัด 8 แห่ง และจังหวัดปกครองตนเอง 8 แห่ง
เขตการปกครองของมณฑลยูนนาน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เขต (มีเฉพาะในนครระดับจังหวัด) นครระดับอำเภอ | |||||||||||
ที่ | รหัสพื้นที่[10] | ชื่อ | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร)[11] | ประชากรปี พ.ศ. 2553 (คน)[12] | ที่ตั้งที่ทำการ | เขตการปกครอง[13] | |||||
เขต | อำเภอ | อำเภอปกครองตนเอง | นครระดับอำเภอ | ||||||||
530000 | มณฑลยูนนาน | 394000.00 | 45,966,766 | นครคุนหมิง | 16 | 67 | 29 | 16 | |||
1 | 530100 | นครคุนหมิง | 21,001.28 | 6,432,209 | เขตเฉิงก้ง | 7 | 3 | 3 | 1 | ||
2 | 530300 | นครฉวี่จิ้ง | 28,939.41 | 5,855,055 | เขตฉีหลิน | 2 | 6 | 1 | |||
3 | 530400 | นครอฺวี้ซี | 14,941.53 | 2,303,518 | เขตหงถ่า | 2 | 4 | 3 | |||
4 | 530500 | นครเป่าซาน | 19,064.60 | 2,506,491 | เขตหลงหยาง | 1 | 3 | 1 | |||
5 | 530600 | นครเจาทง | 22,439.76 | 5,213,521 | เขตเจาหยาง | 1 | 9 | 1 | |||
6 | 530700 | นครลี่เจียง | 20,557.25 | 1,244,769 | เขตกู่เฉิง | 1 | 2 | 2 | |||
7 | 530800 | นครผูเอ่อร์ | 44,264.79 | 2,542,898 | เขตซือเหมา | 1 | 9 | ||||
8 | 530900 | นครหลินชาง | 23,620.72 | 2,429,497 | เขตหลินเสียง | 1 | 4 | 3 | |||
13 | 532300 | จังหวัดปกครองตนเองฉู่สยง | 28,436.87 | 2,684,169 | นครฉู่สยง | 9 | 1 | ||||
14 | 532500 | จังหวัดปกครองตนเองหงเหอ | 32,167.67 | 4,500,896 | นครเหมิงจื่อ | 6 | 3 | 4 | |||
15 | 532600 | จังหวัดปกครองตนเองเหวินซาน | 31,409.12 | 3,517,946 | นครเหวินชาน | 7 | 1 | ||||
16 | 532800 | จังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนา | 19,107.05 | 1,133,515 | นครเชียงรุ่ง | 2 | 1 | ||||
12 | 532900 | จังหวัดปกครองตนเองต้าหลี่ | 28,299.43 | 3,456,323 | นครต้าหลี่ | 8 | 3 | 1 | |||
9 | 533100 | จังหวัดปกครองตนเองเต๋อหง | 11,171.41 | 1,211,440 | นครหมังชื่อ | 3 | 2 | ||||
10 | 533300 | จังหวัดปกครองตนเองนู่เจียง | 14,588.92 | 534,337 | นครหลูฉุ่ย | 1 | 2 | 1 | |||
11 | 533400 | จังหวัดปกครองตนเองตี๋ชิ่ง | 23,185.59 | 400,182 | นครแชงกรี-ลา | 1 | 1 | 1 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Doing Business in Yunnan Province of China". Ministry Of Commerce - People's Republic Of China. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
- ↑ 云南省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Yunnan on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Yunnan Bureau of Statistics. 2018-06-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-11. สืบค้นเมื่อ 2014-05-14.
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:ชนนิยม. 2556, หน้า 176
- ↑ "Illuminating China's Provinces, Municipalities and Autonomous Regions". PRC Central Government Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014.
- ↑ David Paterson, Kunming Institute of Botany’s honorary senior horticulturalist and former director of the Royal Botanic Garden in Edinburgh, Scotland.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20100520101854/http://www.oknation.net/blog/print.php?id=187544 เก็บถาวร 2010-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ยูนนานได้รับการขนานนามว่า “อาณาจักรสัตว์” เพราะอุดมไปด้วยสัตว์นานาชนิด บางชนิดหายากและพบได้ตามธรรมชาติในยูนนานเท่านั้น (ยูนนาน ตอน 5) จากโอเคเนชั่น]
- ↑ 中华人民共和国县以上行政区划代码 (ภาษาจีนตัวย่อ). Ministry of Civil Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2019-02-17.
- ↑ Shenzhen Bureau of Statistics. 《深圳统计年鉴2014》 (ภาษาจีนตัวย่อ). China Statistics Print. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-12. สืบค้นเมื่อ 2015-05-29.
- ↑ Census Office of the State Council of the People's Republic of China; Population and Employment Statistics Division of the National Bureau of Statistics of the People's Republic of China (2012). 中国2010人口普查分乡、镇、街道资料 (1 ed.). Beijing: China Statistics Print. ISBN 978-7-5037-6660-2.
- ↑ Ministry of Civil Affairs (August 2014). 《中国民政统计年鉴2014》 (ภาษาจีนตัวย่อ). China Statistics Print. ISBN 978-7-5037-7130-9.