มง-แซ็ง-มีแชล

(เปลี่ยนทางจาก มงต์-แซงต์-มีแชล)

มง-แซ็ง-มีแชล (ฝรั่งเศส: Mont-Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดม็องช์ แคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ มง-แซ็ง-มีแชลและอ่าว[1]

มง-แซ็ง-มีแชลและอ่าว *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
มง-แซ็ง-มีแชล
พิกัด48°38′08″N 1°30′40″W / 48.63556°N 1.51111°W / 48.63556; -1.51111
ประเทศธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (iii), (vi)
อ้างอิง80
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2522 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
พื้นที่6,560 เฮกตาร์ (16,200 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน191,858 เฮกตาร์ (474,090 เอเคอร์)
มง-แซ็ง-มีแชลตั้งอยู่ในฝรั่งเศส
มง-แซ็ง-มีแชล
ที่ตั้งมง-แซ็ง-มีแชลในประเทศฝรั่งเศส
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมง-แซ็ง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน[2] ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศสรองลงมาจากหอไอเฟลและพระราชวังแวร์ซาย

ตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็นหินแกรนิต โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร แล้วถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูงถึง 155 แมตร ถือเป็นปราการธรรมชาติตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยตั้งชื่อตามวิหารที่ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขานั่นเอง บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของอัครทูตสวรรค์มีคาเอล (นักบุญมิคาเอล) สร้างโดยแอมานุแอล เฟรมีเย (Emmanuel Frémiet)

ในปัจจุบัน มีประชากรอยู่อาศัยบนเกาะ 50 คน จากสถิติ ณ ปี ค.ศ. 2015[3]

ประวัติ

แก้

ก่อนที่จะมีการสถาปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เคยถูกเรียกว่า มงตงบ์ (Mont Tombe) และตามตำนาน วิหารที่อยู่บนเกาะนี้ถูกสร้างโดยการแนะนำของเทวดามีแชล ที่ได้เข้าฝันนักบุญโอแบร์ บิชอปแห่งมาฟร็องช์เมื่อปี พ.ศ. 1251 แต่เขาก็มิได้ปฏิบัติตาม เนื่องจากนึกว่าปีศาจได้มาเข้าฝัน เขาจึงได้เพิกเฉยไป จนมาถึงการฝันครั้งที่ 3 มีแชลได้ใช้นิ้วของเขาจิ้มที่หัวของโอแบร์ และเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็ได้ตะลึงว่ามีรูอยู่บนหัวจริง ๆ จากนั้นมาเขาจึงตัดสินใจสร้างวิหารบนยอดเขา

ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เนื่องจากไม่มีพระจำพรรษา ตัววิหารได้ถูกเปลี่ยนเป็นที่คุมขังนักโทษสำคัญการเมือง จนกระทั่งวิกตอร์ อูโก ได้มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์เพื่อคืนความเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญทางสถาปัตยกรรมของชาติ และในที่สุดได้มีการยกเลิกการเป็นเรือนจำ และได้ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2417

ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม โดยองค์การยูเนสโก

การเดินทาง

แก้

ในอดีตการเดินทางไปยังมง-แซ็ง-มีแชล จะเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ด้วยถนนที่สามารถเดินทางได้ในช่วงน้ำลงเท่านั้น เนื่องจากระดับน้ำปกติจะท่วมและปิดกั้นผิวถนน โดยนักท่องเที่ยวและนักแสวงบุญ สามารถจอดรถได้ในช่วงที่น้ำลง และเนื่องจากมีถนนที่ตัดเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ ทำให้ทิศทางไหลของน้ำเกิดการผันแปร และเป็นผลทำให้ระยะทางระหว่างเกาะ กับแผ่นดินใหญ่นั้นสั้นลง อันเกิดจากการสะสมของดินตะกอนปากแม่น้ำ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลได้เริ่มโครงการเพื่อช่วยคืนสภาพความเป็นเกาะให้กับมง-แซ็ง-มีแชล โดยอาศัยการไหลของน้ำเพื่อชะล้าง และลดการสะสมของดินตะกอน ส่วนหนึ่งของโครงการคือสร้างเขื่อนกั้นน้ำ รวมถึงการเปลี่ยนถนนที่เชื่อมกับแผ่นดินเป็นสะพาน เพื่อให้น้ำสามารถหมุนเวียนได้โดยรอบเกาะ รวมถึงการย้ายที่จอดรถไปยังแผ่นดินใหญ่ โดยนักท่องเที่ยวจะสามารถจอดรถได้บนฝั่ง โดยจะมีรถรับส่งบริการจากจุดจอดรถถึงบริเวณเกาะ

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 สะพานใหม่ออกแบบโดยสถาปนิก ดิมาร์ ไฟซติงเกอร์ (Dietmar Feichtinger) เปิดใช้งาน สะพานโครงสร้างเบาช่วยให้น้ำไหลได้อย่างอิสระรอบเกาะ และปรับปรุงประสิทธิภาพของเขื่อนที่เปิดใช้งานก่อนหน้านั้น โครงการซึ่งมีราคา 209 ล้านยูโร เปิดอย่างเป็นทางการโดยประธานาธิบดี ฟร็องซัว ออล็องด์[4]

ในโอกาสที่หายาก จะเกิดปรากฏการณ์คลื่น "Supertide" ที่สูงมาก ซึ่งสะพานใหม่นี้จมอยู่ใต้น้ำอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558 โดยระดับน้ำทะเลขึ้นสูงที่สุดในรอบอย่างน้อย 18 ปี ฝูงชนได้มารวมตัวกันเพื่อถ่ายรูปเป็นที่ระลึก[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "UNESCO". UNESCO. 13 December 2006. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  2. Pierre Le Hir, « Le Mont-Saint-Michel rendu à l’eau », dans Le Monde du 29-07-2007.
  3. "Insee – Populations légales 2009 – 50353-Le Mont-Saint-Michel". insee.fr. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.
  4. "Mont Saint-Michel reclaims its island status". rfi.
  5. Galimberti, Katy (31 March 2015). "PHOTOS: Supertide Turns Mont Saint-Michel Into Island in a Once in 18-Year Spectacle". AccuWeather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-10-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้