เขาโปะป้า

(เปลี่ยนทางจาก ภูเขาโปปา)

เขาโปะป้า (พม่า: ပုပ္ပါးတောင်, เอ็มแอลซีทีเอส: puppa: taung, ออกเสียง: [poʊ̯ʔ.pá.tàʊ̯ɰ̃]) เป็นภูเขาไฟสูง 1,518 เมตร (4,981 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ ภาคกลางของพม่า ประมาณ 50 กิโลเมตร (31 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้จากพุกาม บริเวณทิวเขาพะโค ในสภาพอากาศที่แจ่มใสสามารถมองเห็นได้จากแม่น้ำอิรวดี ในระยะ 60 กิโลเมตร (37 ไมล์)[3] เขาโปะป้าเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในฐานะที่ตั้งของศาล นะ วัดและสถานที่เก็บโบราณวัตถุบนยอดเขา

เขาโปะป้า
ပုပ္ပားတောင်
เขาโปะป้า
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,518 เมตร (4,980 ฟุต)
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
1,150 เมตร (3,773 ฟุต)
พิกัด20°55′27″N 95°15′02″E / 20.92417°N 95.25056°E / 20.92417; 95.25056
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เขาโปะป้าตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เขาโปะป้า
เขาโปะป้า
ที่ตั้งเขาโปะป้าในประเทศพม่า
ที่ตั้งเขตมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขากรวยภูเขาไฟสลับชั้น[1]
การปะทุครั้งล่าสุด6050 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2]
การพิชิต
เส้นทางง่ายสุดเดินเขา

ชื่อ แก้

ชื่อ โปะป้า เชื่อว่ามีที่มาจากคำว่า ปุปฺผ หรือ ปุษฺป จากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึง ดอกไม้[4]

ธรณีวิทยา แก้

ส่วนประกอบหลักของกรวยภูเขาไฟประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ หินบะซอลติก แอนดีไซต์ หินสคอเรีย และหินตะกอนลาวาจากการประทุของภูเขาไฟ ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในช่วงระยะหลังของการขยายตัวของภูเขาไฟ ภูเขาไฟยังมีที่ราบลึกขนาด 1.6 กิโลเมตร (0.99 ไมล์) และกว้าง 0.85 กิโลเมตร (0.53 ไมล์) ที่แผ่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าเกิดขึ้นจากการถล่มเนื่องจากความลาดชันของภูเขาไฟ มีดินถล่มกว่า 3 ลูกบาศก์กิโลเมตร (0.72 บาศก์ไมล์) ทำให้แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดทางด้านเหนือเกิดรอยแหว่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 27 ตารางกิโลเมตร (10 ตารางไมล์)[1]

ลักษณะเด่น แก้

 
ตองกะละ

ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเขาโปะป้าเป็นที่ตั้งของ ตองกะละ (เนินเขาบริเวณฐาน) ซึ่งเป็นปลักภูเขาไฟหรือคอขวดภูเขาไฟที่สูงชันซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร (2,156 ฟุต) มีศาลนะ และวัดตั้งอยู่บนยอด มีบันไดทางขึ้น 777 ขั้นสู่ยอดเขา[3] ตองกะละ บางครั้งถูกเรียกว่าเขาโปะป้า ซึ่งความจริงแล้วเขาโปะป้าคือภูเขาไฟ ส่วน ตองกะละ คือคอขวดภูเขาไฟซึ่งอยู่บริเวณฐานของเขาโปะป้า เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนจึงเรียกเขาโปะป้าโดยทั่วไปว่า ตองมะจี้ (เนินแม่)[5]

จุดสูงสุดของ ตองกะละ มีทัศนียภาพงดงามสามารถมองเห็นเมืองโบราณของพุกามในทางทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นเขาโปะป้าที่มีลักษณะทรงกรวยคล้ายภูเขาฟูจิในญี่ปุ่น มีขนาดใหญ่ประมาณ 610 เมตร (2,000 ฟุต) และกว้าง 914 เมตร (3,000 ฟุต) ภูเขามีรูปทรงที่แตกต่างกันไปตามทิศทางที่มองเห็น พื้นที่ทั่วไปโดยรอบแห้งแล้ง แต่พื้นที่บริเวณเขาโปะป้ามีน้ำซับและลำธารกว่า 200 แห่ง ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับโอเอซิสในทะเลทรายแห้งแล้งของพม่า ซึ่งหมายความว่าภูมิทัศน์โดยรอบมีพุ่มไม้ลักษณะเต็มไปด้วยหนามและต้นไม้แคระแกรนเมื่อเทียบกับป่าและแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ที่มีชื่อเสียงในแห่งอื่นของพม่า[5] ต้นไม้ พืชดอก และสมุนไพรเติบโตขึ้นเนื่องจากดินอุดมสมบูรณ์จากเถ้าภูเขาไฟ ลิงมาคากคือบรรดาสัตว์ที่โดดเด่นที่สุดในแหล่งท่องเที่ยวบน ตองกะละ[3]

 
ภาพเขาโปะป้า ส่วน ตองกะละ คือเขาขนาดเล็กอยู่ทางด้านซ้ายของภาพ

อ้างอิง แก้

  • Burmese Encyclopedia, Vol. 7, p. 61. Printed in 1963.
  • "Popa". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution.
  1. 1.0 1.1 "Popa: Summary". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution.
  2. "Popa: Eruptive History". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Sacred Mount Popa". MRTV3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-25. สืบค้นเมื่อ 2008-09-14.
  4. Htin Aung, Maung "Folk Elements in Burmese Buddhism", Oxford University Press: London, 1962.
  5. 5.0 5.1 Fay, Peter Ward "The Forgotten Army: India's Armed Struggle for Independence 1942-1945", University of Michigan Press: 1995.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้