ภิรมย์ พลวิเศษ
ภิรมย์ พลวิเศษ (7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
ภิรมย์ พลวิเศษ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (54 ปี) จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ ชาติไทย พลังประชาชน (254?–2551) ภูมิใจไทย (2551–255) ชาติไทยพัฒนา พลังประชารัฐ (2561–2563) |
คู่สมรส | อรทัย พลวิเศษ |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
ประวัติ
แก้นายภิรมย์ พลวิเศษ เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ที่ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนาง อรทัย พลวิเศษ มีบุตร 4 คนคือ
- นางสาวพีรยา พลวิเศษ
- นายนวกิจ พลวิเศษ
- เด็กหญิงรมย์นลิน พลวิเศษ
- เด็กหญิงรมย์ธีรา พลวิเศษ
นายภิรมย์เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตภายหลังจากผ่าตัดส้นเท้าเมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สิริรวมอายุได้ 54 ปี[1]
การศึกษา
แก้ภิรมย์จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ปก.ศ.สูง) และ ระดับปริญญาตรี ด้านบริหารการศึกษา จากวิทยาลัยครูนครราชสีมา จากนั้นสอบเข้ารับราชการครูได้เมื่อปี พ.ศ. 2529 ที่อำเภอประทาย ซึ่งเป็นอำเภอบ้านเกิด ก่อนลาออกจากราชการครูมาทำงานการเมืองแบบเต็มตัว โดยตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือตำแหน่งหัวหน้าการประถมศึกษา อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา [2]
งานการเมือง
แก้ภายหลังจากลาออกจากราชการนายภิรมย์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชนและได้รับเลือกตั้งในปีนั้นโดยสามารถเอาชนะนาย วัชรา ณ วังขนาย เจ้าของตำแหน่งจาก พรรครวมชาติพัฒนา ไปได้ แต่หลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคในปี พ.ศ. 2551 นายภิรมย์จึงย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย
จากนั้นในปี พ.ศ. 2561 นายภิรมย์พร้อมด้วยนางอรทัยผู้เป็นภรรยาได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ โดยนายภิรมย์ถือเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มสามมิตรทำหน้าที่ชักชวนบรรดา อดีต ส.ส. นักการเมืองท้องถิ่น ให้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายภิรมย์ได้ขยับขึ้นไปอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 24 พร้อมกับส่งนางอรทัยลงสมัครในเขต 5 แทนนายภิรมย์
หลังการเลือกตั้งนายภิรมย์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562 [3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้นายภิรมย์ พลวิเศษ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัยคือ
1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคพลังประชาชน → พรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ สิ้น 'ภิรมย์ พลวิเศษ' ขุนพลสามมิตรแห่ง พปชร.
- ↑ "ภิรมย์ พลวิเศษ" แกนนำกลุ่มสามมิตร ติดเชื้อหลังผ่าตัดส้นเท้า เสียชีวิตกะทันหัน
- ↑ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๒๔๒/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒