ภาษาเคิร์ดกลาง
ภาษาเคิร์ดกลาง (کوردیی ناوەندی) หรือ ภาษาโซรานี (سۆرانی) เป็นภาษาย่อย[3][4][5] หรือภาษาเคิร์ด[6][7] ที่มีผู้พูดในประเทศอิรัก ส่วนใหญ่อยู่ในเคอร์ดิสถานอิรัก และในจังหวัดเคอร์ดิสถาน, เคร์มอนชอฮ์ และอาเซอร์ไบจานตะวันตกในอิหร่านตะวันตก ภาษาโซรานีเป็นหนึ่งในสองภาษาราชการของประเทศอิรัก (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอาหรับ) และในเอกสารฝ่ายปกครองเรียกภาษานี้ว่า "ภาษาเคิร์ด"[8][9]
ภาษาเคิร์ดกลาง | |
---|---|
เคิร์ดโซรานี | |
کوردیی ناوەندی / سۆرانی | |
ศัพท์ ภาษาเคิร์ดกลาง และ โซรานี เขียนในชุดอักษรโซรานี | |
ประเทศที่มีการพูด | อิหร่านและอิรัก |
ภูมิภาค | เคอร์ดิสถาน |
จำนวนผู้พูด | [1] |
ตระกูลภาษา | |
ภาษาถิ่น | Ardalani
Babani (Silemani)
Hawleri
Mukriyani
Garmiyani
Jafi
|
ระบบการเขียน | ชุดตัวอักษรเคิร์ดโซรานี (อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อิรัก เคอร์ดิสถานอิรัก[2] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | ckb |
Linguasphere | 58-AAA-cae |
ศัพท์โซรานีมาจากชื่ออดีตเอมิเรตโซราน ใช้เรียกรูปแบบภาษาเคิร์ดกลางมาตรฐานที่เขียนด้วยชุดตัวอักษรโซรานี ซึ่งพัฒนามาจากชุดตัวอักษรอาหรับในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยSa'ed Sidqi Kaban และ Taufiq Wahby[10]
ประวัติ
แก้ในยุคออตโตมาน มีการตั้งโรงเรียนมัธยมเพื่อไปเรียนที่อิสตันบูลทำให้ภาษาโซรานีเป็นภาษาสำหรับการเขียน ภาษาเคิร์ดเป็นภาษาต้องห้ามในอิรักในสมัยลัทธิบาธรุ่งเรือง เมื่อลัทธิบาธเสื่อมลง การตีพิมพ์ภาษาเคิร์ดแพร่หลายอีกครั้ง ทำให้ภาษาโซรานีเป็นรูปแบบที่ใช้เขียนในอิรัก
อักษร
แก้ภาษาโซรานีเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ในอิรักซึ่งต่างจากภาษากุรมันชีที่เขียนด้วยอักษรละตินในตุรกี แต่เริ่มมีการนำอักษรละตินมาใช้กับภาษาโซรานีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์
การแพร่กระจาย
แก้จำนวนผู้พูดที่แน่นอนของภาษาโซรานีหาได้ยาก แต่น่าจะมี 7-15 ล้านคนในอิรักและอิหร่าน
การเป็นภาษาราชการ
แก้มีการเสนอให้ภาษาโซรานีเป็นภาษาราชการของรัฐบาลเคอร์ดิสถานในอิรัก แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวเคิร์ดที่พูดภาษากุรมันชี[11]
ลักษณะทางไวยากรณ์
แก้การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม ไม่มีคำสรรพนามที่แยกระหว่างเพศชายและเพศหญิง และไม่มีการผันคำกริยาตามเพศ .[12]
การเปรียบเทียบระหว่างภาษาโซรานีกับภาษากุรมันชี
แก้โซรานี | ภาษากุรมันชี | แปล |
---|---|---|
min | ez | ฉัน |
dest | dest | มือ |
to | tu | คุณ |
ew | ew | เขา (กรรม) |
อ้างอิง
แก้- ↑ Sheyholislami (2021), p. 633.
- ↑ "Full Text of Iraqi Constitution". Washington Post. 12 October 2005. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
- ↑ Edmonds, Alexander Johannes (January 2012). "Dialects of Kurdish".
- ↑ Aziz, Mahir A. (2011-01-30). The Kurds of Iraq: Ethnonationalism and National Identity in Iraqi Kurdistan (ภาษาอังกฤษ). I.B.Tauris. ISBN 9781848855465.
- ↑ "The Kurdish Language and Literature". Institutkurde.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
- ↑ Sheyholislami, J. (2011-06-06). Kurdish Identity, Discourse, and New Media (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 9780230119307.
- ↑ Thackston (2006), p. vii.
- ↑ Allison, Christine (2012). The Yezidi Oral Tradition in Iraqi Kurdistan. Routledge. ISBN 978-1-136-74655-0. "However, it was the southern dialect of Kurdish, Central Kurdish, the majority language of the Iraqi Kurds, which received sanction as an official language of Iraq."
- ↑ "Kurdish language issue and a divisive approach". Kurdish Academy of Language. 5 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016.
- ↑ Blau, Joyce (2000). Méthode de Kurde: Sorani. Editions L'Harmattan. ISBN 978-2-296-41404-4., page 20
- ↑ Kurdish language issue and a divisive approach | Kurdish Academy of Language
- ↑ "Kurdish Sorani language developmental features". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-13. สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.
ข้อมูล
แก้- Hassanpour, A. (1992). Nationalism and Language in Kurdistan 1918–1985. USA: Mellen Research University Press.
- Nebez, Jemal (1976). Toward a Unified Kurdish Language. NUKSE.
- Baran, Murat (2021). Kurdish Grammar: SORANI Reference Book. Silêmanî: Amazon publishing. ISBN 979-8560643522.
- Sheyholislami, Jaffer (2021), "The History and Development of Literary Central Kurdish", ใน Bozarslan, Hamit (บ.ก.), The Cambridge History of the Kurds, Cambridge University Press, pp. 633–662, doi:10.1017/9781108623711.026, ISBN 9781108623711, S2CID 235541104
- Thackston, W.M. (2006), "—Sorani Kurdish— A Reference Grammar with Selected Readings" (PDF), Harvard Faculty of Arts & Sciences, Harvard University, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-27, สืบค้นเมื่อ 10 June 2021