ภาษาอาข่า เป็นภาษาที่ชาวอาข่าใช้พูดในภาคใต้ของจีน (มณฑลยูนนาน), ภาคตะวันออกของพม่า (รัฐฉาน), ภาคเหนือของลาว และภาคเหนือของไทย

ภาษาอาข่า
ประเทศที่มีการพูดพม่า, จีน, ลาว, ไทย, เวียดนาม
ชาติพันธุ์ชาวอาข่า
จำนวนผู้พูดประมาณ 600,000 คน  (2007)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Ako
รหัสภาษา
ISO 639-3ahk

นักวิชาการตะวันตกจัดให้ภาษาอาข่า ภาษาฮานี และภาษาโฮนีอยู่ในภาษากลุ่มฮานี โดยถือว่าทั้งสามภาษานี้เป็นภาษาที่ไม่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ แต่ใกล้ชิดกันอย่างมาก กลุ่มภาษาฮานีจัดอยู่ในกลุ่มย่อยโลโลใต้ของกลุ่มโลโล ส่วนนักภาษาศาสตร์ชาวจีนจัดให้ภาษากลุ่มฮานีทั้งหมด (ซึ่งรวมถึงภาษาอาข่า) เป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกันตามรายงานการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการของจีนที่จัดผู้พูดภาษากลุ่มฮานีทั้งหมดให้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน

ผู้พูดภาษาอาข่าอาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาห่างไกลที่ซึ่งภาษาอาข่าได้พัฒนาเป็นแนวต่อเนื่องภาษาถิ่นที่มีขอบเขตกว้างขวาง ภาษาถิ่นจากหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ห่างกันเพียง 10 กิโลเมตรอาจมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ความโดดเดี่ยวของชุมชนอาข่าก็ทำให้หลายหมู่บ้านแตกแขนงภาษาถิ่นออกไป วิธภาษาที่อยู่ตรงปลายทั้งสองด้านของแนวต่อเนื่องภาษาถิ่นจึงไม่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้[2]

อ้างอิง

แก้
  1. ภาษาอาข่า ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Katsura, M. (1973). "Phonemes of the Alu Dialect of Akha". Papers in Southeast Asian Linguistics No.3. Pacific Linguistics, the Australian National University. 3 (3): 35–54.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Hansson, Inga-Lill (2003). "Akha". ใน Graham Thurgood and Randy J. LaPolla (บ.ก.). The Sino-Tibetan Languages. Routledge Language Family Series. London &New York: Routledge. pp. 236–252.
  • Lewis, Paul (1968). "Akha phonology". Anthropological Linguistics. 10 (2): 8–18. JSTOR 30029167.
  • Lewis, Paul (1973). "Tone in the Akha language". Anthropological Linguistics. 15 (4): 183–188. JSTOR 30029534.
  • Nishida Tatsuo 西田 龍雄 (1966). アカ語の音素体系: タイ国北部における山地民アカ族の言語の記述的研究 [A Preliminary Report on the Akha Language ―A Language of a Hill Tribe in Northern Thailand]. 音声科学研究 Studia phonologica (ภาษาญี่ปุ่น). 4 (1): 1–36. hdl:2433/52611.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้