ภาษาแอราเมอิกพระเยซู

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาอราเมอิกพระเยซู)

ภาษาแอราเมอิกพระเยซู (Aramaic of Jesus) เป็นภาษาแอราเมอิกที่นักวิชาการเชื่อว่าพระเยซูเคยใช้พูด[1] ควบคู่ไปกับภาษาฮีบรูและภาษากรีก[2] เมืองนาซาเร็ธและคาร์เปอร์เนียมที่พระเยซูเคยอยู่ เป็นชุมชนที่เคยพูดภาษาแอราเมอิก ส่วนภาษากรีกเป็นภาษาที่ใช้พูดอย่างกว้างขวางในจักรวรรดิโรมันตะวันออก เป็นที่ทราบกันดีว่าพระเยซูทรงรู้ภาษาฮีบรูและอภิปรายเกี่ยวกับไบเบิลภาษาฮีบรูได้

ภาษาแอราเมอิกเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกที่ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูที่เป็นภาษาในเขตเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกในช่วงเวลาระหว่างจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ บาบิโลเนียใหม่ และอาแคมินิดรวมทั้งช่วงเวลาหลังจากนั้น (179 ปีก่อนพุทธศักราช - พ.ศ. 213) หลังจากการรุกรานของกรีก พ.ศ. 212 และโรมัน พ.ศ. 480 เป็นที่รู้กันว่าภาษาแอราเมอิกยังคงเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในอิสราเอลในช่วงต้นคริสตกาล พระเยซูน่าจะพูดสำเนียงกาลิลีซึ่งเข้าใจกันได้กับสำเนียงในเยรูซาเล็ม

ในช่วงเวลาเดียวกัน มีการบันทึกมิซนะห์ด้วยภาษาฮีบรู โยเซฟัสเขียนด้วยภาษาแอราเมอิก ฟิโลและปอลแห่งตาร์ซุสเขียนด้วยภาษากรีก ถ้าพระเยซูทรงเข้าใจไบเบิลภาษาฮีบรู ก็น่าจะเข้าใจตาร์คุมและไบเบิลภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในขณะนั้นได้ และจาการที่ทรงเกิดในตระกูลช่างไม้ก็น่าจะเข้าใจภาษากรีกที่เป็นภาษากลางทางการค้าในเมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้ และยังมีหลักฐานจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าภาษาแอราเมอิกเคยเป็นสื่อกลางสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์จากปาเลสไตน์ ซีเรียเมโสโปเตเมียไปจนถึงรัฐเกรละในอินเดีย

ภูมิหลังทางวัฒนธรรมและภาษา แก้

เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าพระเยซูประสูติเป็นชาวยิวและเติบโตขึ้นในครอบครัวชาวยิวในกาลิลี ในช่วงเวลาดังกล่าว ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาของชาวยิวภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่รุกรานอาณาจักรทางเหนือเมื่อ 179 ปีก่อนพุทธศักราช และการรุกรานอาณาจักรยูดาห์ของบาบิโลเนียเมื่อ 43 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งทำให้เกิดภาษาแอราเมอิกสำเนียงตะวันตก และเป็นรูปแบบมาตรฐานของภาษาแอราเมอิกที่เคยเป็นภาษาพูดในดามัสกัส และมีศัพท์ภาษาฮีบรูเข้าไปผสมเป็นจำนวนมากเมื่อใช้พูดในหมู่ชาวยิว แต่ก็ยังมีชาวยิวบางส่วนใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาแรกจนถึงราว พ.ศ. 843 ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่เริ่มเขียนไบเบิลภาษาฮีบรู ในยุคมหาวิหารครั้งที่สองและอื่นๆ บางส่นของไบเบิลภาษาฮีบรูได้นำมาเขียนไว้ในไบเบิลภาษาแอราเมอิกด้วย และเริ่มใช้อักษรทรงเหลี่ยมที่ได้รับอิทธิพลมาจากอักษรแอราเมอิก ต่างจากการการเขียนในยุคคลาสสิก (เช่นยุคมหาวิหารครั้งที่ 1) เช่น จารึกโซโลมอนที่ใช้อักษรปาเลียว-ฮีบรู ในยุคนี้มีตาร์คุมซึ่งเป็นการแปลไบเบิลภาษาฮีบรูเป็นภาษาแอราเมอิก

ตั้งแต่ พ.ศ. 343 เป็นต้นมา ดินแดนยูเดียได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมกรีกมากและภาษากรีกเข้ามาเป็นภาษากลางในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกแทนที่ภาษาแอราเมอิกและกลายเป็นภาษาของพ่อค้าไปในที่สุด จึงเป็นไปได้ที่พระเยซูจะรู้ภาษากรีก

วลีภาษาแอราเมอิกในไบเบิลพันธสัญญาใหม่ภาคภาษากรีก แก้

Talitha kum (Ταλιθα κουμ) แก้

มาร์ก 5:41

And taking the hand of the child, he said to her, "Talitha kum", which translates as, "Little girl, I say to you, get up."

วลีนี้เป็นวลีในภาษาแอราเมอิก ใช้เมื่อพระเยซูชุบชีวิตเด็กหญิงคนหนึ่ง ปริวรรตเป็นอักษรกรีกเป็น ταλιθα κουμ เอกสารภาษากรีกของGospel of Mark มีคำในรูปนี้ แต่ในเล่มอื่นๆเขียนว่า κουμι (koumi) แทน ภาษาแอราเมอิกของวลีนี้คือ ţlīthā qūm คำว่าţlīthā เป็นรูปเพศหญิงของคำţlē หมายถึง "หนุ่มสาว" Qūm เป็นคำกริยาภาษาแอราเมอิกหมายถึง "ยืนขึ้น ลุกขึ้น" ถ้าเป็นรูปเพศหญิงพหูพจน์เป็น 'qūmī' แต่ในการพูด เสียง i ท้ายคำมักจะหายไปทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างรูปเพศชายและรูปเพศหญิง ถ้าเขียนในภาษาแอราเมอิกจะเป็น טליתא קומי or טלתא קומי (อ่านจากขวาไปซ้าย)

Ephphatha (Εφφαθα) แก้

มาร์ก 7:34

And looking up to heaven, he sighed and said to him, "Ephphatha," which is 'be opened'.

ภาษาแอราเมอิกถูกปรับแต่งเป็นภาษากรีก εφφαθα ซึ่งอาจจะมาจาก 'ethpthaḥ' ซึ่งเป็นรูปถูกกระทำของกริยา 'pthaḥ' "เปิดออก" เพราะเสียง 'th' มักจจะหายไปในภาษาแอราเมอิกตะวันตก เสียง ḥ มักจะหายไปเมื่อปริวรรตเป็นภาษากรีก [3]ในภาษาแอราเมอิกอาจจะเขียนเป็น אתפתח หรือ אפתח

Abba (Αββα) แก้

มาร์ก 14:36

"Abba, Father," he said, "everything is possible for you. Take this cup from me. Yet not what I will, but what you will."

Abba เป็นคำภาษาแอราเมอิกที่ถูกยืมมาใช้ในภาษาฮีรูสมัยใหม่[4] (เขียนเป็น Αββα ในภาษากรีกและ'abbā ในภาษาแอราเมอิก) ซึ่งจะตามด้วยคำภาษากรีกที่มีความหมายตรงกัน(Πατηρ) โดยจะไม่แปลคำที่มาจากภาษาแอราเมอิก จะใช้เป็น Abba, Father ในภาษาอังกฤษ เขียนเป็นภาษาแอราเมอิกเป็น אבא คำว่า Barabbas เป็นรูปที่ถูกทำให้เป็นภาษากรีกของคำภาษาแอราเมอิก Bar Abba (בר אבא) แปลว่า "ลูกชายของพ่อ"

Raca (Ρακα) แก้

แมทธิว 5:22

But I say unto you, That whosoever is angry with his brother shall be in danger of the judgment: and whosoever shall say to his brother, Raca, shall be in danger of the council: but whosoever shall say, Thou fool, shall be in danger of hell fire.

Raca หรือ Raka ในภาษาแอราเมอิกในทัลมุดหมายถึงว่างเปล่า โง่ เขียนเป็น ריקא หรือ ריקה

Mammon (Μαμωνας) แก้

Gospel of Matthew 6:24

No one can serve two masters: for either they will hate the one, and love the other; or else they will hold to the one, and despise the other. You cannot serve God and mammon.


ในภาษาแอราเมอิกและภาษาฮีบรูอาจจะเป็น ממון (หรือ ממונא)จัดว่าเป็นคำยืมจากภาษาแอราเมอิกที่พบในภาษาฮีบรู แต่พบในไบเบิลภาษาฮีบรูรุ่นหลังในราวพุทธศตวรรษที่ 9 ในปูนิก[5] ในพันธสัญญาใหม่ Μαμωνᾶς — Mamōnâs — จะจัดรูปคล้ายคำในภาษากรีก ในขณะที่คำที่มาจากภาษาแอราเมอิกและภาษาฮีบรูอื่นๆไม่ลดรูป ยังคงลักษณะของคำยืมอยู่

Maranatha (Μαραναθα) แก้

Didache 10 (Prayer after Communion)

.. Let grace come, and let this world pass away. Hosanna to the God (Son) of David! If any one is holy, let him come; if any one is not so, let him repent. Maranatha. Amen. (Roberts-Donaldson)

1 Corinthians 16:22

If any man love not the Lord Jesus Christ, let him be Anathema Maranatha.

ในภาษาแอราเมอิก(מרנא תא or מרן אתא) หมายถึง เจ้านายมา หรือ เจ้านายของเรามา

Eli Eli lema sabachthani (Ηλει Ηλει λεμα σαβαχθανει) แก้

แมทธิว 27:46

Around the ninth hour, Jesus shouted in a loud voice, saying "Eli Eli lema sabachthani?" which is, "My God, my God, why have you forsaken me?"

มาร์ก 15:34

And at the ninth hour, Jesus shouted in a loud voice, "Eloi Eloi lama sabachthani?" which is translated, "My God, my God, for what have you forsaken me?"

วลีนี้มาจากการตะโกนของพระเยซูที่สี่แยก แสดงออกมาได้สองรูปแบบ รูปแบบของแมทธิวปริวรรตเป็นภาษากรีกว่า ηλει ηλει λεμα σαβαχθανει รูปแบบของมาร์กเป็น ελωι ελωι λαμα σαβαχθανει (elōi มากกว่า ēlei และ lama มากกว่าlema)

อ้างอิง แก้

  1. Allen C. Myers, บ.ก. (1987). "Aramaic". The Eerdmans Bible Dictionary. Grand Rapids, Michigan: William B. Eerdmans. p. 72. ISBN 0-8028-2402-1. It is generally agreed that Aramaic was the common language of Israel in the first century A.D. Jesus and his disciples spoke the Galilean dialect, which was distinguished from that of Jerusalem (Matt. 26:73).
  2. "DID JESUS SPEAK HEBREW?". EMERTON XII (2): 189 -- The Journal of Theological Studies. สืบค้นเมื่อ 2008-03-20. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Kutscher, E.Y.. (1976). Studies in Galilean Aramaic.
  4. Greenspahn, Frederick E. 2003. An introduction to Aramaic. P.25
  5. Fitzmyer, Joseph A. 1979. A Wandering Aramean: Collected Aramaic Essays. P.12